- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Sunday, 24 May 2015 21:43
- Hits: 3434
รื้อใหญ่สุวรรณภูมิเฟสใหม่'อาคม'บินถก ICAO ขยายเวลาแก้ไขเอสเอสซียืดถึงก.ค.
ไทยโพสต์ : วิภาวดี * 'ประจิน'สั่งรื้อแผนลงทุนสุวรรณภูมิ 3 โครงการ 1 แสนล้านใหม่'อาคม'บินถก ICAO 15 มิ.ย.นี้ ขยายเวลาเส้นตายแก้เอสเอสซีเป็นสิ้นเดือน ก.ค. จากเดิม มิ.ย.
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทท่าอากาศ ยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ทอท. มีมติปรับแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาท่าอา กาศยานสุวรรณภูมิใหม่ ทั้งโครงการพัฒนาสุวรรณภูมิระยะสอง โครงการก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) แห่งที่ 3 และโครงการก่อสร้างอาคารหลังที่ 2 มูลค่ารวมกว่า 1 แสนล้านบาท ตามที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ได้มีข้อเสนอแนะมา เพื่อให้เป็นไปตามมติ ครม.เดิม รวมถึงสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง
สำหรับ รายละเอียดการปรับแผนในโครงการสุวรรณภูมิระยะสอง วงเงิน 61,738 ล้านบาท จากเดิมคณะกรรมการได้เห็นชอบให้แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ ก็มีมติใหม่ให้รวมงานก่อ สร้างทั้ง 2 ระยะเหลือเป็นระยะเดียว ประกอบด้วย งานก่อสร้างลานจอดอากาศยานเพื่อรองรับอา กาศยาน 28 หลุมจอด งานก่อ สร้างอุโมงค์ส่วนขยาย และงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 งานก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารหลักด้านทิศตะวันออก งานก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก งานติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างพร้อมกันได้ตั้งแต่เดือน มี.ค.59 แล้วเสร็จพร้อมกันปี 62
ส่วนของโครงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 วงเงิน 20,243 ล้านบาท มติใหม่เห็นชอบให้รอการศึกษาผลกระทบอีเอชไอเอก่อน เพื่อรอสร้างทางวิ่ง 3,700 เมตรไปทีเดียว ซึ่งจะส่งผลให้แผน การก่อสร้างอาจล่าช้า จากเดิมที่จะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 58 ไปเป็นอย่างเร็วเดือน ต.ค.59 หลังเสร็จอีเอชไอเอแทน และจะเปิดใช้ทางวิ่ง 3 ได้ปี 62
"ส่วนโครงการสุดท้าย การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สุวรรณภูมิ วงเงิน 27,684 ล้านบาท สำหรับรองรับผู้โดยสารเพิ่มอีก 20 ล้านคน เดิมมีมติให้เริ่มก่อสร้างได้ในปี 59 แต่เนื่องจากโครงการนี้ยังไม่ได้อยู่ในแผนแม่บทพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่ประชุมจึงมติให้ปรับปรุงแผนแม่บทใหม่ ให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างอาคาร ซึ่งส่งผลให้แผนการก่อสร้างล่าช้าออกไป โดยเริ่มก่อสร้างได้ปี 61 และแล้วเสร็จในปี 63" นายนิตินัยกล่าว
นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการดำ เนินการแก้ไขปัญหาการตรวจสอบพบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (SSC) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันที่ 15 มิ.ย. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม จะเดินทางไปพบกับประธานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เพื่อรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา SSC ของไทย รวมทั้งจะเจรจาขอให้ ICAO ยืดระยะเวลาการแก้ไขปัญหาเพื่อปลดล็อกเอสเอสซีออกไปเป็นสิ้น เดือน ก.ค. จากเดิมที่ไอเคโอกำหนดให้ไทยต้องแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในวันที่ 18 มิ.ย. โดยในการเดินทางไปครั้งนี้ฝ่ายไทยจะชี้แจงให้ ICAO เห็นถึงความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก.
‘คมนาคม’เล็งหาบุคลากรเพิ่ม รับรื้อหน่วยงาน‘บพ.’ใหม่
แนวหน้า : นายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน(บพ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน(กบร.)ว่า ที่ประชุมได้สรุปจำนวนบุคลากรที่มีความจำเป็นต่อการปรับรูปแบบการทำงานของ บพ. โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ได้แก่ สำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องใช้บุคลากร 457 คน และ กรมท่าอากาศยาน ต้องใช้บุคลากร 1,490 คน รวมถึงคณะกรรมการวิเคราะห์สาเหตุและอุบัติเหตุ 59 คนและการค้นหาและช่วยเหลือ 67 คน รวมทั้งสิ้น 2,073 คน จากปัจจุบันที่มีจำนวนบุคลากรทั้งหมดของกรมการบินพลเรือน 1,662 คน
ทั้งนี้ ในการบรรจุบุคลากรเพิ่มเติม ซึ่งในเบื้องต้น ทางคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีการอนุมัติให้เพิ่มจำนวนบุคลากรใหม่แล้วจำนวน 48 คน และจะมีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 150,000 บาทต่อเดือน ในส่วนของจำนวนบุคลากรที่จะใช้ตรวจสอบใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ( AOC) รอบใหม่ประมาณ 80 คน โดยจะเข้ามาตรวจคู่มือการตรวจสอบการเดินอากาศ,ตรวจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน,ตรวจท่าอากาศยานและตรวจการบริหารงานเดินอากาศ
‘คมนาคม’เล็งหาบุคลากรเพิ่ม รับรื้อหน่วยงาน‘บพ.’ใหม่
แนวหน้า ; นายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน(บพ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน(กบร.)ว่า ที่ประชุมได้สรุปจำนวนบุคลากรที่มีความจำเป็นต่อการปรับรูปแบบการทำงานของ บพ. โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ได้แก่ สำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ซึ่งต้องใช้บุคลากร 457 คน และ กรมท่าอากาศยาน ต้องใช้บุคลากร 1,490 คน รวมถึงคณะกรรมการวิเคราะห์สาเหตุและอุบัติเหตุ 59 คนและการค้นหาและช่วยเหลือ 67 คน รวมทั้งสิ้น 2,073 คน จากปัจจุบันที่มีจำนวนบุคลากรทั้งหมดของกรมการบินพลเรือน 1,662 คน
ทั้งนี้ ในการบรรจุบุคลากรเพิ่มเติม ซึ่งในเบื้องต้น ทางคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีการอนุมัติให้เพิ่มจำนวนบุคลากรใหม่แล้วจำนวน 48 คน และจะมีอัตราเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 150,000 บาทต่อเดือน ในส่วนของจำนวนบุคลากรที่จะใช้ตรวจสอบใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ( AOC) รอบใหม่ประมาณ 80 คน โดยจะเข้ามาตรวจคู่มือการตรวจสอบการเดินอากาศ,ตรวจเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน,ตรวจท่าอากาศยานและตรวจการบริหารงานเดินอากาศ