- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Sunday, 24 May 2015 21:39
- Hits: 2708
ไฮสปีดเทรน เข้าครม.มิ.ย.นี้ 2 เส้นทาง'190,000 ล้าน'ขวางกทม.ฮุบสายสีเขียว
ไทยโพสต์ *’ประจิน’ย้ำ รถไฟฟ้าความเร็วสูงระยะสั้น 2 เส้นทางแรก เข้า ครม.แน่ มิ.ย.-ก.ค.นี้ มูลค่าลงทุน 1.9 แสนล้านบาท พร้อมบินญี่ปุ่น เอ็มโอยูศึกษาเส้นทางไฮสปีดเทรน ขวาง กทม.กินรวบ บริหารเดินรถสายสีเขียวทั้งเหนือและใต้ เอกชนลั่นเดินรถสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ 12 ส.ค.2559
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า โครง การรถไฟฟ้าความเร็วสูงระยะ สั้น เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา 191 กิโลเมตร วงเงิน 100,000 ล้านบาท และเส้นทางกรุงเทพฯหัวหิน ระยะทาง 200 กิโลเมตร วงเงิน 90,000 ล้านบาท จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน มิ.ย.-ก.ค.นี้ และคาดว่าจะให้ภาคเอกชนเข้าประมูลภายในเดือน ส.ค. รวมถึงคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ ภายในปี 2559 ซึ่งขณะนี้มีภาคเอกชนไทยให้ความสนใจ 3 ราย ขณะที่มีกลุ่มลงทุนต่างชาติให้ความสนใจจำนวนมาก เช่น เยอรมนี ฮ่องกง ญี่ปุ่น และจีน
ทั้งนี้ วันที่ 27-28 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางการศึกษาเรื่องรถไฟฟ้าที่ร่วมลงทุนระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยเป็น รถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 679 กิโลเมตร คาดว่าจะเริ่มศึกษาสำรวจและออกแบบเส้น ทางแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค. ปีนี้ และจะดำเนินการก่อสร้างได้ภายในไตรมาส 2/2559 รวม ถึงศึกษารถไฟทางคู่ เส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-ฉะ เชิงเทรา-อรัญประเทศ ระยะทาง 574 กิโลเมตรด้วย
ส่วนการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เส้นกรุงเทพฯ-แก่ง คอย-มาบตาพุด และแก่งคอยนครราชสีมา-หนองคาย รวมระยะทาง 873 กิโลเมตร คาดว่าจะมีการสรุปวงเงินลงทุนในเดือน ก.ย.นี้ โดยเฟสแรก กรุงเทพฯ-แก่งคอย คาดว่าจะก่อสร้างภายในเดือน ต.ค.นี้
พล.อ.อ.ประจินกล่าวอีก ว่า ภายในเดือน ก.ค.นี้ จะต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องผู้ที่จะให้บริการเดินรถสายสีเขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) หลังจากที่ กทม.ได้ยื่นเงื่อนไขขอเข้ามาบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดทั้งเส้น รวมถึงสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตด้วย แต่ได้ปฏิเสธไปว่าจะพิจารณาให้เพียงช่วงเดียวก่อน ดังนั้น หาก กทม.ปฏิเสธ ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีความพร้อมที่จะเข้ามาดำเนินการเอง
ส่วนการหาผู้ให้บริการเดินรถสายสีน้ำเงิน ช่วงหัว ลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่า พระ พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ได้ลงนามเห็นชอบตามมติบอร์ด รฟม. คือให้ดำเนินการเจรจากับ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ ดินรายเดิมเข้ามาเดินรถในส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน เพื่อ ให้เกิดความต่อเนื่องตามนโย บายของรัฐบาล คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าจะส่งเรื่องไปยัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อรอนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด สศช. ภายในเดือน มิ.ย.นี้
นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BMCL ยืน ยันว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงพร้อมจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทาง การตามกำหนดเดิม คือ 12 ส.ค.2559 เพราะมีการเลื่อนเร็วขึ้นจากเดือน ธ.ค.2559 หลังจากรับมอบขบวนรถในเดือน ก.ย.2558 จำนวน 3 ขบวนแรก ที่เหลือจะทยอยรับมอบ และนำขบวนรถมาทดสอบแบบแยกระบบประมาณ 3 เดือน จากนั้นทดสอบแบบรวมระบบอีก 3 เดือน ก่อนจะมีการทดสอบการเดินรถแบบเสมือนจริง ก่อนเปิดให้บริการเป็นทางการ.
ประจิน คาดเปิดประมูลไฮสปีดเทรนกทม.-หัวหิน,กทม.-พัทยาหลังเข้าครม.มิ.ย.-ก.ค.
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงจะเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางคือกรุงเทพ-พัทยา-ระยองระยะทาง 190 กม. วงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาทและกรุงเทพ-หัวหินระยะทาง 250 กม. วงเงินลงทุน 9 หมื่นล้านบาทต่อคณะรัฐมนตรีในช่วงเดือนมิ.ย.- ก.ค.นี้
หลังจากนั้นจะเปิดประมูลอย่างเป็นทางการ โดยเปิดให้บริษัทไทยยื่นประมูลเท่านั้น ในลักษณะความร่วมมือแบบ PPP และคาดว่าจะลงนามได้ในเดือนก.ย.-ต.ค.นี้ และคาดใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี อย่างไรก็ดีบริษัทไทยที่เข้าร่วมประมูลอาจจะมีร่วมทุนกับต่างประเทศได้
สำหรับ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น มี 2 เส้นทางที่จะมีการลงนามความร่วมมือ (MOC) ในวันที่27-28 พ.ค.นี้ที่โตเกียว โดย 2 เส้นทางได้แก่ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงความเร็ว 250-275 กม./ชม. รางขนาดมาตรฐาน 1.435 ม. วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท ทั้งนี้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันในเดือนมิ.ย. และร่วมกันสำรวจให้แล้วเสร็จในธ.ค.หรือต้นปี 59 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในไตรมาส 2/59 คาดว่าใช้เวลาก่อสร้าง 4ปี
ทั้งนี้ งานโยธาจะใช้เอกชนไทย ขณะที่ระบบรางระบบอาณัติสัญญาณจะใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่นส่วนการเดินรถและซ่อมบำรุงไทบกับญี่ปุ่นจะแบ่งกัน
"นโยบายของรัฐที่มีต่อเนื่องในการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ได้ร่วมกับรัฐบาลญี่ปุ่นที่ขอเข้ามาดำเนินการความเร็ว 200 ไม่เกิน 300 กม./ชม. เราคิดว่าน่าจะวิ่งความเร็ว. 250-275 กม./ชม. ซึ่งจะใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมงครึ่ง"รมว.คมนาคมกล่าว
ส่วนอีกเส้นทางคือกาญจนบุรี-กรุงเทพ-สระแก้วและกรุงเทพ- แหลมฉบัง ระยะทางปประมาณ 600 กม. ใช้รางขนาด1 เมตรซึ่งเป็นเส้นทางที่ไทยได้สำรวจแล้ว หลังเซ็น MOC ญี่ปุ่นจะเข้ามาสำรวจอีก จากนั้นถึงจะประเมินงบลงทุน. นอกจากนี้เส้นทางแม่สอด-ตาก- พิษณุโลก-เพชรบูรณะ-มุกดาหาร ทางญี่ปุ่นจะเข้ามาสำรวจด้วย
สำหรับ ความร่วมมือรถไฟไทยและจีน เส้นทางกรุงเทพ- แก่งคอย-นครราชสีมา- หนองคาย ระยะทาง 873 กม. งบลงทุน 3 แสนล้านบาท ขนาดรางมาตรฐาน ความเร็ว 180กม./ชม.โดยแบ่งดำเนินการ 4 ช่วง คือ กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง. 133 กม., แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม., แก่งคอย- นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม.
ทั้งนี้ งานโยธาคาดงบ 1 แสนล้านบาท แบ่ง 70% ของงานจะเปิดให้เอกชนไทยเข้าร่วมงาน ขณะที่งาน System work งบ 1.2-1.3 แสนล้านบาทแบ่งให้เอกชนไทย 30% เข้าร่วมส่วนที่เหลือ 70%ให้จีนเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนงานเดินรถและซ่อมบำรุง คาดใช้ 1 แสนล้านบาท โดย 3 ปีแรกให้จีนดำเนินการ ปีที่ 4-6 ให้จีนและไทยแบ่งคนละครึ่ง ในปีที่ 7 และหลังจากนั้น ไทยโดยการรถไฟแห่งปนะเทศไทย(รฟท.) จะเข้ามาเดินรถเอง
สำหรับ รถไฟเส้นทางเดิมในปัจจุบันที่มีระยะทาง 4,400 กม. เป็นขนาดราง 1 เมตรทางเดียวจะมีการปรับปรุงใหญ่ที่จะดำเนินการเลแล้วเสร็จในปี60 โดยในปี58 จะดำเนินการ 970 กม. ปี59 ดำเนินการ 2,500 ก.ม. และในปี60 ดำเนินการอรก 600 กม. เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความเร็วรถไฟได้มาที่ 100-120 กม./ชม. จากที่วิ่งอยู่ 50 กม./ชม. เพราะราง. ไม้หมอนเก่าและชำรุด
สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าที่เป็นโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ตามแผนมี 10 เส้นทาง ระยะทาง 464 กม. คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 8 ปีจากปัจจุบันมี 4 เส้นทางระยะทาง 80 กม. หลังจากนั้นจะแก้ไขปัญหาจราจร และการคมนาคมจะปลี่ยนไปมีการเดินทางสะดวกขึ้น
ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 8 ปี ( ปี58-65) ใช้เงินลงทุน จำนวน 1.9 ล้านล้านบาท ไม่รวมการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 ใช้เงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท. การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือปากยาราและยังไม่รวมรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย กรุงเทพ-แก่งคอย- มาบตาพุด กรุงเทพ- เชียงใหม่และกรุงเทพ-ปาตังบาซาร์ ซึ่งรวมแล้วใช่เงินลงทุนเป็นหลักล้านล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงคมนาคมรวมจำนวน 1.3-1.4 แสนล้านบาทที่เป็นงบสร้างถนน 9.5 หมื่นล้านสม และได้เพิ่มจากงบขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีก 4 หมื่นล้านบาท
อินโฟเควสท์