- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Saturday, 25 April 2015 19:59
- Hits: 4652
ประจิน มั่นใจดันรถไฟทางคู่-รถไฟไทยจีน/ญี่ปุ่น-รถไฟความเร็วสูงชัดเจนในครึ่งหลังปีงบ 58
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เชื่อมั่นครึ่งหลังของปีงบประมาณ 58(เม.ย.-ก.ย.58)โครงการตามแผนยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่งจะเดินหน้าอย่างชัดเจน ทั้งรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง วงเงิน 8.6 หมื่นล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี การเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง และหาผู้เดินรถสายสีน้ำเงิน และสายสีเขียวใต้ รวมทั้ง โครงการรถไฟไทย-จีน และ รถไฟไทย-ญี่ปุ่น คาดว่าจะมีเงินลงทน 1 ล้านล้านบาท และโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นกทม.-พัทยา และเส้นกทม.-หัวหิน ก็จะได้ความชัดเจนด้วย เหล่านี้จะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศได้
"ในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ โครงการต่างที่อยู่ในแผนงานจะมีความก้าวหน้า และค่อนข้างมั่นใจ มีผลปฏิบัติเชิงรูปธรรม ที่ผ่านมาติดขัดหลายประการ ทั้งเรื่องผลประโยชน์ กฎกติกา ไม่ได้เกี่ยวกับระบบคุณธรรมที่ให้โครงการล่าข้า"รมว.คมนาคมกล่าว
ทั้งนี้ โครงการรถไฟทางคู่ที่ล่าช้าไปนั้น ขณะนี้ได้เซ็นอนุมัติให้เดินหน้าในโครงการช่วงฉะเชิงเทรา-ตลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่ก่อนหน้านี้ได้ยกเลิกการประกวดราคาตามข้อท้วงติงของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) และจะมีการประกวดราคาใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.58 รวมอีก 5 เส้นทาง รวมวงเงินลงทุน 8.6 หมื่นล้านบาท มีระยะผูกพัน 3 ปี
ส่วนเส้นทางช่วงจิระ-ขอนแก่นจะเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการภายในเดือน เม.ย.58 ประกวดราคาได้ภายในเดือน ก.ค.58 คาดว่าจะก่อสร้างได้ในเดือน พ.ย.58 และกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 61 3)เส้นทางช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร โดนผ่าน EIA แล้วเมื่อ 7 ต.ค.57 เตรียมเสนอ ครม.ภายในเดือน มิ.ย.58 เริ่มก่อสร้างในเดือน มี.ค.59 กำหนดแล้วเสร็จปี 62
ส่วนอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และช่วงนครปฐม-หัวหิน อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมประสานติดตามผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ
ขณะที่ โครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย รวมระยะทาง 873 กม.ได้เดินงานได้ตามแผนและคาดว่าจะสรุปวงเงินลงทุนได้ในเดือน ส.ค.นี้ ส่วนโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นคาดว่าญี่ปุ่นสนใจลงทุน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกาญจบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง และเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะมีการสรุปวงเงินต่อไป
ทั้งหมด 3 เส้นทาง ประเมินเบื้องต้นจะมีวงเงินลงทุน 1 ล้านล้านบาท รวมกับงบลงทุนตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย วงเงินลงทุน 1.9 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 8 ปี
โครงการรถไฟความเร้วสูง 2 เส้นทาง คือกรุงเทพฯ-หัวหิน และ กรุงเทพ-พัทยา ขณะนี้ได้มีกลุ่มทุนไทย 3 รายเข้ามาเสนอตัวแล้ว ได้แก่ กลุ่มซีพี กลุ่มไทยเบฟ และ บีทีเอส ทั้งนี้ จะดำเนินการคู่ขนานโดยเสนอเรื่องต่อ ครม.อนุมัติ และเปิดให้เอกชนลงทุน คาดว่าในปีงบประมาณนี้จะได้ข้อสรุปโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ การวางโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเป็นไปตามแผน โดยคาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อจะเดินรถได้ในปี 59 โดยปีนี้เริ่มทยอยรถเข้ามา รวมทั้งจะได้ข้อสรุปว่าเอกชนรายใดจะได้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและ หัวลำโพง-บางแค และ สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งได้ให้กทม.เป็นผู้รับผิดชอบการเดินรถสายสีเขียวนี้
อินโฟเควสท์
ลุยเส้นรถไฟแหลมฉบัง-น้ำลึกทวาย
บ้านเมือง : นายนันทชัย หวังเลี้ยงกลาง หัวหน้ากองโครงการและแผนงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ล่าสุดได้ข้อสรุปเส้นทางโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือน้ำลึกทวายแล้ว ภายหลังจาก รฟท.ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษาความเป็นไปได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา วงเงิน 40 ล้านบาท ซึ่งจะเสร็จในเดือนเมษายน 2558 นี้
ทั้งนี้ ส่วนแนวเส้นทางนั้น มีระยะทางรวม 322 กิโลเมตร เริ่มจากสถานีชายแดนบ้านพุน้ำร้อน-สถานีชุมทางหนองปลาดุก-สถานีพานทอง-ท่าเรือแหลมฉบัง พาดผ่านพื้นที่ 8 จังหวัด 15 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมืองกาญจนบุรี อ.ไทรโยค อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี, อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี, อ.นครชัยศรี อ.สามพราน จ.นครปฐม, อ.กระทุ่มแบน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร, เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร, อ.พระสมุทรเจดีย์ อ.เมืองสมุทรปราการ อ.บางพลี อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ,อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และ อ.พานทอง จ.ชลบุรี โดยการก่อสร้างมีทั้งบนพื้นที่ตัดใหม่และคู่ขนานไปกับแนวรถไฟเดิมเส้นทางสายใต้และสายตะวันออก ด้านรูปแบบก่อสร้างจะเป็นรถไฟราง 1 เมตร
ส่วนการออกแบบเบื้องต้นนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการสำรวจพื้นที่ จะแบ่งแนวเส้นทาง 7 ช่วง ประกอบด้วย 1.ช่วงสถานีชายแดนบ้านพุน้ำร้อน-สถานีท่ากิเลน ระยะทาง 36 กิโลเมตร 2.สถานีท่ากิเลนสถานีวังเย็น ระยะทาง 23 กิโลเมตร 3.สถานีวังเย็น-สถานีท่าเรือน้อย ระยะทาง 29 กิโลเมตร 4.สถานีท่าเรือน้อย-สถานีชุมทางหนองปลาดุก ระยะทาง 30 กิโลเมตร 5.สถานีชุมทางหนองปลาดุกสถานีท่าแฉลบ ระยะทาง 27 กิโลเมตร 6.สถานีท่าแฉลบ-บริเวณก่อนถึงสถานีพานทอง ระยะทาง 118.5 กิโลเมตร และ 7.สถานีพานทอง-ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะทาง 58.5 กิโลเมตร
คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติรถไฟฟ้า 5 สาย ครอบคลุมเส้นทางกทม.-ปริมณฑล
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยในการแถลงผลงาน 6 เดือนของกระทรวงคมนาคม ถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลว่า กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการ 5 เส้นทาง ได้แก่ 1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะยทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,725 ล้านบาท โดยเตรียมนำเสนอภายในเดือน พ.ค.58 โดยกำหนดแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.63
2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 54,768.45 ล้านบาท เตรียมนำเสนอครม.ภายในเดือน พ.ค.58 กำหนดแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.63
3) Airport Rail Link ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. วงเงิน 31,139 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 48 เดือน
4) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี หรือพระราม 9-มีนบุรี เตรียมนำเสนอคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในเดือนพ.ค.58 ระยะทาง 21 กม.(ใต้ดิน 12 กม. ทางยกระดับ 9 กม.) วงเงิน 110,325.76 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.63
5) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-วังบูรพา ขณะนี้ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด และเตรียมเสนอครม.ภายในเดือน มิ.ย.58 พร้อมประกวดราคาประมาณกลางปี 58
ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑล คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จเดือน ส.ค.58 เริ่มก่อสร้างปลายปี 59 และกำหนดเปิดให้บริการเดือน เม.ย.62
ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ครม.ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท อยู่ระหว่างคณะกรรมการ สศช. และ คนร.พิจารณาเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของครม. โดยกำหนดแล้วเสร็จในปี 61
นอกจากนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง ที่อยู่ระหว่างเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีภายในพ.ค.58 ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกทม.-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงิน 81,136.20 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณา EIA และโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกทม.- พัทยา ระยะทาง 129.1 กม. โดยเส้นทางนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกทม.-ระยอง ซึ่งได้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ โดยอยู่ระหว่างการพิจารณา EIA
ส่วนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร
1) เส้นทางช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย อยู่ระหว่างการประกวดราคา โดยดำเนินการตามมาตรการความโปร่งใส โดยยกเลิกการประกวดราคาตามข้อท้วงติงของสตง. คาดประกวดราคาใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.58 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 61
2) เส้นทางช่วงจิระ-ขอนแก่น จะเสนอครม.พิจารณาอนุมัติโครงการภายในเม.ย.58 ประกวดราคาได้ภายในเดือน ก.ค.58 คาดว่าจะก่อสร้างได้ในเดือน พ.ย.58 และกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 61
3) เส้นทางช่วงประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร โดนผ่าน EIA แล้วเมื่อ 7 ต.ค.57 เตรียมเสนอ ครม.ภายในเดือน มิ.ย.58 เริ่มก่อสร้างในเดือน มี.ค.59 กำหนดแล้วเสร็จปี 62
ส่วนอีก 3 เส้นทาง ได้แก่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และช่วงนครปฐม-หัวหิน อยู่ระหว่างกระทรวงคมนาคมประสานติดตามผลการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ
พล.อ.อ.ประจิน ยอมรับว่า การดำเนินโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ล่าช้ากว่าแผน เนื่องจากงานมีความซับซ้อนและต้องมีการปรับแผนงาน ซึ่งกระทรวงจะจัดเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเข้าไปช่วยเหลือ รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่หลักแล้วแหล่งทุนจะมาจากเงินกู้ในประเทศ
ทั้งนี้ กระทรวงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะยาว พ.ศ.2558-2565 เพื่อเสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ ความปลอดภัย และสร้างโอกาสสำหรับการแข่งขันและให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน
ยุทธศาตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยดังกล่าว ประกอบด้วย 5 แผนงานได้แก่ 1)การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2)การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพและปริมณฑล 3)การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 4)การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ 5)การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ รวมวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,912,681 ล้านบาท โดยในปี 58 จะมีการลงทุนรวมประมาณ 55,987 ล้านบาท
โดยกระทรวงเร่งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2558 โดยในไตรมาส 2 มีการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 58,308.44 ล้านบาทคิดเป็น 40.32% สูงกว่าแผนวางไว้ 45,225.54 ล้านบาท คิดเป็น 31.28%
เมื่อดำเนินการตามแผนฯแล้วเสร็จ จะส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงไม่น้อยกว่า 2% จากเดิมอยู่ที่ 14.4% สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลง 40% ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น 60% ความเร็วเฉลี่ยของขบวนรถโดยสารเพิ่มขึ้น 100% สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้น 19% ลดความสูญเสียน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี และขีดความสามารถในการบริหารจัดการจราจรทางอากาศเพิ่มขึ้นเป็น 1.40 ล้านเที่ยว/ปี(ปี 2567)
อินโฟเควสท์