- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Saturday, 18 April 2015 22:44
- Hits: 3118
คมนาคมชง'ประจิน'ซื้อเมล์ไฟฟ้าแทน NGV ทางเลือกใหม่
ไทยโพสต์ *'พงษ์ไชย'เตรียมชง'ประจิน'ซื้อรถเมล์ระบบไฟฟ้า 500 คัน แทนเมล์เอ็นจีวี อ้างมีต้นทุนถูกกว่า
นายพงษ์ไชย เกษมทวี ศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนา คม เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะเสนอ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ให้พิจารณาจัดซื้อรถโดยสาร (รถ เมล์) ระบบไฟฟ้าจำนวน 500 คัน มาทดลองใช้แทนรถโดย สารที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) เป็นเชื้อเพลิง หลังจากคณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด มีมติให้ทบทวนการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี ส่วนที่เหลือ 2,694 คันใหม่ และให้ศึกษาถึงความคุ้มทุนระหว่างเทคโนโลยีระบบไฟฟ้ากับระบบเอ็นจีวี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า เทคโนโลยีรถเมล์ระบบไฟฟ้ามีความคุ้มทุนกว่าระบบเอ็นจีวี
"เปรียบเทียบต้นทุนพบ ว่า ระหว่างรถเมล์เอ็นจีวีกับ รถไฟฟ้าอยู่ที่ 15 ล้านบาทต่อคัน ส่วนรถเมล์เอ็นจีวีอยู่ที่ 4.5 ล้านบาทต่อคัน แต่เมื่อคิดต้น ทุนระยะยาว 20 ปี บวกค่าซ่อมบำรุง ค่าเชื้อเพลิง รถเอ็นจีวีจะมีต้นทุนที่สูงกว่าประมาณ 34 ล้านบาทต่อคันต่อ 20 ปี ส่วนต้นทุนรถเมล์ระบบไฟฟ้านั้นมีต้นทุน 30 ล้านบาทต่อคันต่อ 20 ปี ในด้านเชื้อเพลิงนั้นในอนาคตก๊าซเอ็นจีวีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 20-30 บาทต่อกิโลกรัม" นายพงษ์ไชยกล่าว
อย่างไรก็ตาม หาก รมว.คมนาคม เห็นชอบก็สามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา รวมถึงนำเสนอให้สำนัก งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาในรายละเอียด ส่วนสถานีบริการชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์นั้น ในเบื้องต้นมีการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ทำการศึกษาเรื่องสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์ ซึ่งอาจจะให้ กฟน.เป็นผู้ลงทุนและให้บริการเรื่องสถานีชาร์จไฟฟ้า
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีของ ขสมก.รอบแรก 489 คัน ขณะนี้ยังอยู่ขั้นตอนของการจัดเตรียมเอกสารและประ กวดราคา และได้สั่งการให้เร่งรัดให้เสร็จโดยเร็ว แต่ไม่มั่น ใจว่าจะสามารถส่งมอบรถเมล์มาวิ่งได้ทันตามกำหนดเดือน มิ.ย.นี้หรือไม่ หากไม่ทันก็น่าจะได้รถเมล์เอ็นจีวีใหม่เข้ามาได้ในเดือน ก.ค.58 ขณะที่การจัดซื้อรถเมล์ส่วนที่เหลือ กว่า 2 พันคันนั้น ขณะนี้อยู่ในกระบวนการศึกษาความเหมาะสมว่าควรเลือกรถเมล์ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทใด
'หูกวาง'ชงทางเลือกใช้เมล์ไฟฟ้า
บ้านเมือง : นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานศึกษาความเหมาะสมระบบเชื้อเพลิงสำหรับรถโดยสาร ขสมก. ครั้งที่ 3/2558 ว่าที่ผ่านมาคณะทำงานได้เสนอผลการศึกษาค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบแต่ละระบบเชื้อเพลิง โดยรถเมล์ไฟฟ้าราคานำเข้ารวมภาษีคันละ 15 ล้านบาท ระยะยาว 20 ปี ค่าใช้จ่ายรวมค่าบำรุงรักษาและค่าเชื้อเพลิง 30 ล้านบาท ขณะที่รถเมล์ดีเซลจะอยู่ที่ 43 ล้านบาท และรถเมล์เอ็นจีวี 34 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ยังไม่ได้คำนวณถึงราคาเอ็นจีวีที่จะปรับขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า จะนำรายละเอียดดังกล่าวเสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณา
"สัปดาห์หน้าจะนำรายละเอียดดังกล่าวเสนอต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณา โดยจะเสนอถึงข้อเปรียบเทียบขอระบบเชื้อเพลิง สำหรับรายละเอียดเรื่องของการใช้งานนั้น จะใช้ เวลาชาร์ต 5 ชั่วโมง วิ่งได้ระยะทาง 250 กิโลเมตร ซึ่งระบบพลังงานไฟฟ้าคาดว่าในอนาคตอาจถูกลงอีก เนื่องจากเป็นระบบที่กำลังพัฒนาและทั่วโลกเริ่มมีการนำไปใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีนเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตขาย"
ขณะที่รายงานข่าวจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่าตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจมารับเอกสารแจ้งให้จัดทำข้อเสนอ (Request for Proposals : RFP) เป็นที่ปรึกษาควบคุมงานระบบรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วง หัวลำโพง- บางแค และเตาปูน- ท่าพระ โดยวิธีการคัดเลือก ระหว่างวันที่ 26 มกราคม-13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้สนใจมารับเอกสาร RFP จำนวน 22 ราย ซึ่ง รฟม.ได้กำหนดให้ผู้ที่มารับเอกสารจะต้องยื่นข้อเสนอเพื่อรับการคัดเลือกเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานระบบรถไฟฟ้า (MESC) ภายในวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้สนใจมายื่นข้อเสนอทั้งหมด 5 กลุ่มบริษัท ประกอบด้วย กลุ่มบริษัท MESCBL Consortium กลุ่มบริษัท PB/CMCL/MAA/SYSTRA กลุ่มบริษัท WE Consortium กลุ่มบริษัท PASDL Consortium และกลุ่มบริษัท MEDGT Joint Venture ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้ รฟม.จะจัดทำหลักเกณฑ์ การประเมินข้อเสนอ เพื่อพิจารณาคัดเลือกกลุ่มบริษัทเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานระบบรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามขั้นตอนต่อไป