- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Saturday, 28 March 2015 09:58
- Hits: 1772
'ประจิน'ขีดเส้นเซ็นพัฒนาทางคู่ไทย-ญี่ปุ่นพ.ค.นี้
ไทยโพสต์ : ราชดำเนิน * พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประ ชุมคณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรี ดำเนินงานความร่วมมือระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ว่า เป็นการประชุมเตรียมการเพื่อหารือร่วมกับรองปลัดกระ ทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (เอ็มแอลไอที) ในวันที่ 31 มี.ค.นี้ ซึ่งจะสรุปข้อสรุปเรื่องเส้นทางและรายละเอียดรูปแบบการลงทุน
ส่วนรูปแบบความร่วมมือจะเป็นแบบรัฐต่อรัฐ จะมีการวางกรอบเพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในปลายเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นจะมีการผลักดันให้มีการตั้งคณะกรรมการร่วม 2 ประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวเส้นทางที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจประกอบด้วย เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯอรัญประเทศ-แหลมฉบัง เป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นจะสนใจมากที่สุด เพราะเชื่อมโยงกับโครง การท่าเรือน้ำลึกทวาย 2.ตากพิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่นร้อยเอ็ด-มุกดาหาร 3.กรุงเทพฯพิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งทั้ง 3 เส้นทางจะดำเนินการโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร
"มั่นใจว่า การหารือในวันที่ 31 มี.ค.นี้จะมีความคืบหน้า และภายใน 2 เดือน หรือเดือน พ.ค.นี้ ต้องได้ข้อสรุปรถไฟไทย-ญี่ปุ่นก่อน 1 เส้น ส่วนเส้นทางที่เหลืออยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบเส้นทาง อาทิ เส้นทางกรุงเทพฯพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. เส้นทางตาก-พิษณุ โลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-ร้อย เอ็ด-มุกดาหาร ระยะทาง 718 กม. ซึ่งทั้งเกาหลีใต้และเยอรมนีที่ให้ความสนใจ" พล.อ.อ.ประ จินกล่าว.
ไทยให้ญี่ปุ่นลงทุนรถไฟ 3 เส้นทาง
บ้านเมือง : พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมมือระบบรางไทย-ญี่ปุ่น ว่าในการประชุมดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมโครงการรถไฟรางมาตรฐานที่ไทยได้เชิญประเทศญี่ปุ่นมาลงทุนใน 3 เส้นทาง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดโครงข่ายเส้นทางรถไฟแนวตะวันออกตะวันตก หรืออีสต์เวสต์ อีโคโนมิคส์คอร์ริดอร์ เส้นทางกาญจนบุรีกรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และทางเหนือ-ใต้ รางมาตรฐานจากเชียงใหม่-กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ขณะนี้ไทยได้เชิญให้ญี่ปุ่นตั้งคณะกรรมการร่วมระดับกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่น และมีการเชิญผู้บริหารมาร่วมหารือ ซึ่งทางญี่ปุ่นได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับรองปลัดกระทรวงมาหารือกับฝ่ายไทยวันที่ 31 มีนาคมนี้ โดยยอมรับว่าหากเจรจาเส้นทางรถไฟดังกล่าวไม่มีความคืบหน้าในปีนี้ การผลักดันให้เกิดโครงการในอนาคตคงเป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่ที่จะต้องเข้ามาดำเนินการสานต่อ
ส่วนกรณีที่องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือไอซีเอโอ เข้ามาตรวจสอบมาตรฐานการบินของไทยเมื่อช่วงเดือน ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้กระทรวงคมนาคมและกรมการบินพลเรือนได้ดำเนินการปรับหลักเกณฑ์ตามที่ไอซีเอโอต้องการไปแล้ว ทั้งการแก้ไขกฎหมายด้านการบินที่ล้าสมัย อาจต้องเพิ่มบุคลากรทางการบินที่ได้มาตรฐานของไอซีเอโอ การแก้ไขบทบาทของกรมการบินพลเรือน
โดยให้มีหน้าที่กำกับดูแลหรือเรกกูเลเตอร์ เพียงอย่างเดียวและให้หน้าที่การบริหารท่าอากาศยานไปอยู่ในการกำกับดูแลของหน่วยงานอื่น เช่น บริษัท อากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. โดยกรมการบินพลเรือนส่งประเด็นการแก้ไขต่างๆ ไปให้ไอซีเอโอตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งตามหลักเกณฑ์กระทรวงคมนาคมทราบว่าการพิจารณาจะใช้เวลาในการพิจารณา 90 วัน
"สัปดาห์ที่ผ่านมาทางประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิก ไอซีเอโอ ได้ออกมาระบุถึงกรณีที่ไอซีเอโอได้พบข้อบกพร่องของกรมการบินพลเรือน (บพ.) ตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยสากลของ ICAO และทางองค์การการบินของญี่ปุ่นได้ขอให้สายการบินของไทยที่ทำการบินไปยังญี่ปุ่น ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง 4 สาย คือ สายการบินไทย การบินไทยสมายล์ นกสกู๊ต ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ ไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบินเปลี่ยนจุดบิน เปิดจุดบินเพิ่ม หรือจุดบินใหม่และเปลี่ยนขนาดเครื่องบิน (Aircraft Type) ได้ ทำให้สายการบินต้องระงับแผนที่ขอเพิ่มในช่วงตารางบินฤดูร้อน (Summer Schedule) หรือตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ ซึ่งถือว่ากระทบต่อธุรกิจการบินในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่จะมีนักท่องเที่ยวจากไทยไปญี่ปุ่นค่อนข้างมาก ส่วนเที่ยวกลับจะมีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาไทยมากเช่นกัน ส่วนเส้นทางบินที่มีอยู่เดิม ญี่ปุ่นไม่ได้ระงับการบินใดๆ โดยสายการบินของไทยยังคงบินได้เส้นทางบินเดิม ในปริมาณเดิม"