- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Sunday, 22 February 2015 17:37
- Hits: 2289
ตั้งกรรมการ'มาตรา 13'ไม่ผิด รฟม.เลิกสอบวินัยพีระยุทธ จับตาบอร์ดอนุมัตินั่งผู้ว่าฯ
ไทยโพสต์ * สคร.ส่งหนังสือแจงบอร์ด ระบุชัดผู้ว่าการ รฟม. มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการ มาตรา 13 ได้ ถือ 'รณชิต' ไม่ผิด'ธีรพันธ์'ไฟแรงสั่งยกเลิกคำสั่งสอบวินัยร้ายแรง'พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล' ด้านประธานบอร์ด ดอดพบ "วิษณุ เครืองาม" หารือช่องลงนามจ้างผู้ว่าการคนใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระ ทรวงการคลังว่า เมื่อวันที่ 13 ก.พ.2558 นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโย บายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ทำหนังสือถึง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อตอบข้อหารือที่ รฟม.ได้ทำหนังสือขอหารือแนว ทางปฏิบัติ การแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการตามมาตรา 13) ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำ เนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2553) ว่ากรณีดังกล่าวอยู่ในอำนาจของคณะกรรม การ (บอร์ด) รฟม. หรือไม่
ซึ่งในหนังสือดังกล่าวได้ระบุว่า กระบวนการจัดสร้างระบบ รถไฟฟ้าตามมาตรา 13 ประกอบด้วย มาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประ เทศไทย พ.ศ.2543 และกระบวน การร่วมงานหรือดำเนินการในกิจ การของรัฐ ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุน ปี 2535 ตลอดจนการนำเสนอโครงการลงทุนขนาดใหญ่ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามความในข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2550 จะเห็นว่ากระบวนการทั้งสาม เป็นเรื่องนโยบาย ซึ่งผ่านการ พิจารณาของบอร์ด รฟม. และคณะรัฐมนตรีตามที่กำหนดในกฎ หมายแล้ว
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกดังกล่าวเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการ มาตรา 13 จึงเป็นเรื่องของการบริหาร และอยู่ ในอำนาจของผู้ว่าการ รฟม. ในฐานะผู้บริหารสูงสุดสามารถกระ ทำได้ โดยมีเงื่อนไขการดำเนินการภายใต้กรอบและหลักการของบอร์ด รฟม. และคณะรัฐมนตรี ที่ได้เห็นชอบในหลักการโครงการ
แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการ มาตรา 13 นั้น มีความชัดเจนว่าผู้ว่าการ รฟม. สามารถแต่งตั้งได้ และที่ผ่านมานั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการ มาตรา 13 ก็ได้ดำเนินการมาตั้งแต่สมัยที่มีนายประภัสร์ จงสงวน เป็นผู้ว่าการ รฟม.แล้ว ดังนั้น การที่นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ (บริหาร) และรักษาการแทนผู้ว่า การขณะนั้น แต่งตั้งตนเองเป็นประ ธานคณะกรรมการมาตรา 13 จึงถือว่าสามารถกระทำได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านนั้น บอร์ด รฟม.มีมติตั้งกรรมการสอบวินัยนายรณชิต 4 ประเด็น คือ ไม่ปฏิบัติตามมติบอร์ด รฟม., การให้สัมภาษณ์สื่อและให้ข้อ มูลไม่ครบถ้วนกับหน่วยงานภาย นอก ซึ่งนำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่ รฟม., การแต่งตั้งตนเองเป็นประธานในคณะกรรมการตามมาตรา 10 โดยไม่ขอความเห็นชอบจาก บอร์ด รฟม. ทั้งนี้ เป็นอำนาจของบอร์ด และเป็นผู้ที่ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล กับพวกโดยมิชอบ เพราะตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนได้-เสียในเรื่องดังกล่าว
แหล่งข่าวจาก รฟม. กล่าวว่า หลังจากที่บอร์ด รฟม. มีมติปลดนายรณชิตออกจากการเป็นรักษาการผู้ว่าการ รฟม. และแต่งตั้งนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล ขึ้นเป็นรักษาการผู้ว่าการ รฟม.แทนนั้น ได้มีการยกเลิกคำสั่งสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ว่าที่ผู้ว่าการ รฟม.ทั้งหมด รวมทั้ง พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรม การ รฟม. ได้หารือกับนายวิษณุ เครือ งาม รองนายกรัฐมนตรี ว่า สามารถที่จะลงนามในสัญญาจ้างนายพีระยุทธเป็นผู้ว่าการ รฟม.ได้หรือไม่.