- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Friday, 20 February 2015 22:11
- Hits: 2762
บอร์ด รฟม.ปลดรณชิต แย้มสอาด จากรักษาการผู้ว่าฯ มีผลทันที
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมฯได้มีมติเห็นชอบการเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าฯรฟม. จากนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฯ ด้านบริหาร เป็น นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการฯ(กลยุทธ์และแผน)ซึ่งมีผลทันที
เนื่องจากที่ผ่านมานายรณชิตได้มีการดำเนินการโดยพละการ มีการตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการฯ (ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง)
"การเปลี่ยนรักษาการผู้ว่าฯ จะเป็นการแก้ปัญหาการบริหารงานภายในรฟม.ให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยเฉพาะการแต่งตั้ง นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ซึ่งผ่านการสรรหาเป็นผู้ว่ารฟม.คนใหม่ ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งบอร์ดต้องการให้ผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่เข้ามาขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้เดินหน้า จึงต้องหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อไม่ให้รฟม.เสียหายมากไปกว่านี้"
อินโฟเควสท์
บีบรฟม.แจงปมสอบวินัยร้ายแรง สั่งปลด'รณชิต'เปิดทาง'พีระยุทธ'ผงาด
ไทยโพสต์ * สตง.สั่ง รฟม.ตอบคำถามกรณีที่ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรง การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สัญญาที่ 2 ภายใน 15 วัน ด้านบอร์ดสั่งเด้งฟ้าฝ่า'รณชิต แย้มสอาด'พ้นตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ พร้อมตั้ง 'จุฬา' เป็นกรรมการสอบวินัย 4 ข้อ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการคลังว่า เมื่อวัน ที่ 11 ก.พ. นายมณเฑียร เจริญ ผล รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่น ดิน รักษาราชการแทนผู้ว่าการ ตรวจเงินแผ่นดิน ได้ทำหนัง สือถึงการรถไฟฟ้าขนส่งมวล ชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอรับทราบความคืบหน้า กรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนัง สือแจ้งให้ รฟม.แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อ ขยาย สัญญาที่ 2 ช่วงสนาม ไชย-ท่าพระ
หลังจากที่ รฟม.ได้มีการ ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงแก้ไขงานก่อสร้าง ส่งผลให้ รฟม.เกิดความเสียหายจากการที่ต้องมีการเพิ่มมูลค่างานถึงจำนวน 290 ล้านบาท และมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีก 90 วัน ซึ่งกรณีนี้มีมูลว่าเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับของ รฟม. โดยมีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวม 4 คน และทราบว่า รฟม.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงไปแล้ว
"เพื่อประกอบการตรวจสอบ สตง. ขอทราบว่า รฟม. ได้ดำเนินการกรณีดังกล่าวมีผลเป็นอย่างไร โดยขอให้แจ้ง ผลการดำเนินการพร้อมเอก สารที่เกี่ยวข้องให้ สตง.ทราบภายใน 15 วัน"หนังสือจาก สตง.ระบุ
ขณะที่คณะกรรมการ รฟม. ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธาน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 28 ม.ค.ที่ผ่านมา และมีมติให้มีหนังสือแจ้งรักษาการผู้ว่าการ รฟม.ให้ชะลอกระบวนการสอบวินัยร้ายแรงออกไปก่อน เนื่องจากคณะกรรมการ รฟม. อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าวว่าเป็นไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไร
"เรื่องดังกล่าวยังเป็นที่กังวลใน รฟม. ว่า คณะกรรม การ รฟม.ก้าวก่ายการทำงานด้านการบริหารของ รฟม.มากเกินไปหรือไม่ เนื่องจากเรื่องการสอบข้อเท็จจริง เป็นเรื่องที่ ฝ่ายบริหารของ รฟม.ต้องดำ เนินการอยู่แล้ว หลังจากได้รับหนังสือจาก สตง."
แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน ได้มีคำสั่งให้ปลดนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร ออกจากตำแหน่งรักษาการผู้ว่าการ รฟม.โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ก.พ.นี้เป็นต้นไป และตั้งนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) เป็นรักษาการผู้ว่าการ รฟม. พร้อมทั้งตั้งนายจุฬา สุขมานพ กรรมการบอร์ด เป็นประธานสอบวินัยนายรณชิต ใน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.) กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามมติบอร์ด 2.) ให้ข้อมูลภายนอกหน่วยงานก่อให้ เกิดความเสียหาย 3.) ตั้งคณะ กรรมการฯ มาตรา 13 โดยไม่มีอำ นาจ และ4.ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล
"ก่อนหน้านี้นายรณชิตได้ตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงนายพีระยุทธ ตามที่ สตง.ได้ทำหนังสือแจ้งว่าได้พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขงานก่อสร้าง ส่งผลให้ รฟม.เกิดความเสียหายจากการที่ต้องมีการเพิ่มมูลค่างานถึงจำนวน 290 ล้านบาท แต่บอร์ดก็ยังมีมติแต่งตั้งนายพีระยุทธเป็นผู้ว่าการ รฟม. ซึ่งขัดกับระเบียบของ รฟม. ดังนั้น การปลดนายรณชิตออก เพื่อเปิดทางให้นายพีระยุทธนั่งตำแหน่งผู้ว่าการ รฟม. ได้โดยเร็ว" แหล่งข่าวกล่าว
พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดได้รับทราบถึง ความคืบหน้าการเจรจาแนวทางการเดินรถคณะกรรมการตามมาตรา 13 โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบาง ซื่อ-ท่าพระ ซึ่งมั่นใจภายในเดือน มี.ค.นี้จะได้ข้อสรุป.
รฟม.เล็งเสนอครม.ปรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม-คาดสรุปรูปแบบสายสีน้ำเงินมี.ค.นี้
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดว่า ที่ประชุมฯมีมติเห็นชอบรายงานรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายตะวันออก ที่มีการเบี่ยงแนวเส้นทางใหม่ จากเดิม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี เป็น พระราม 9-มีนบุรี ซึ่งทำให้ระยะทางลดลง 1.1 กม. วงเงินก่อสร้างลดลง 2,915 ล้านบาท เหลือ 107,410 ล้านบาท โดยการปรับเส้นทางใหม่คาดว่าปริมาณผู้โดยสารจะเพิ่มขึ้นจาก 114,230 คนต่อวัน เป็น 128,960 คนต่อวันซึ่งขั้นตอนจากนี้ รฟม.จะเสนอรายละเอียดการปรับแบบใหม่ไปยังกระทรวงคมนาคม และคาดว่าจะเสนอครม. ได้ภายในเดือนเมษายน 2558 และเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน 2559 โดยกำหนดเปิดให้บริการได้ในปี 2563
ส่วนความคืบหน้าการจัดหาผู้รับงานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคนั้น คณะกรรมการตามาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) ที่มีนายสัจจพงศ์ สนั่นเสียง รองผู้ว่า (ปฏิบัติการ) รฟม.เป็นประธาน จะมีการประชุมในสัปดาห์หน้า หลังจากต้องเลื่อนการประชุมเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ออกไป เพราะไม่ครบองค์ประชุม
ทั้งนี้ เชื่อว่ากก.มาตรา 13ฯ จะสามารถสรุปรูปแบบได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งล่าช้าจากกำหนดเดิมที่กระทรวงคมนาคมกำหนดไว้ประมาณ 1 เดือน จากนั้นกก.มาตรา 13ฯ จะรายงานให้บอร์ดรับทราบ เพื่อนำส่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งกระทรวงการคลังพิจารณา ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้นำคู่มือการกำหนดเงินค่าตอบแทนตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ที่กระทรวงคมนาคมกำหนดเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนให้ผู้ถูกเวนคืน เพื่อประโยชน์สูงสุด และยุติธรรม และทำให้สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้เร็วขึ้น ซึ่งจะให้อำนาจรฟม.ในการกำหนดค่าทดแทนเพิ่มเติม เช่น กรณีออกจากที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้า จะเพิ่มให้ 5% ของค่าทดแทนโรงเรือนเป็นต้น จากเดิมใช้แค่ราคาประเมินโดยจะเริ่มนำมาใช้เวนคืนกับโครงการใหม่เช่น สายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคพ) สายสีชมพู สีส้ม สีเหลือง
อินโฟเควสท์