WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คนร.เห็นชอบรฟท.โอนสิทธิ์ที่ดินแลกล้างหนี้-ขึ้นเงินเดือนลูกจ้างรสก.

   นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สนร.) เผยที่ประชุมคณะกรรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) เห็นชอบกรอบและโครงสร้างการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประกอบด้วย บทบาทของรัฐวิสาหกิจต่อทิศทางการพัฒนาประเทศและทิศทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยให้มีการแยกบทบาทการกำกับดูแล(เรคกูเรเตอร์)ออกจากรัฐวิสาหกิจ เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมเป็นผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมการแข่งขัน มีการบูรณาการระหว่างแผนงานโครงการก่อสร้าง และพิจารณาวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ที่ควรให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการ รวมถึงให้มีการนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยต้องมีแนวทางการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การประเมินผลและให้ผลตอบแทนที่จูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ เป็นต้น

   ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบในหลักการให้มีหน่วยงานทำหน้าที่เจ้าของรัฐวิสาหกิจแบบรวมศูนย์ โดยมอบหมายให้อนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลและระบบบรรษัทภิบาลรัฐวิสาหกิจไปศึกษาในรายละเอียดว่า จะเป็นหน่วยงานในรูปแบบใด ซึ่งจะต้องมีการกำหนดความชัดเจนของหน้าที่ระหว่างหน่วยงานเจ้าของดังกล่าวกับกระทรวงเจ้าสังกัด และให้มีการนำเสนอที่ประชุมฯ ในการประชุมครั้งต่อไป

   สำหรับ การแก้ไขปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)นั้น ที่ประชุมฯ ได้รับทราบผลการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหาของ รฟท.ของอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของ คนร.ร่วมในการแก้ไขปัญหาของ รฟท. โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการดังต่อไปนี้ เร่งสร้างความชัดเจนระหว่างบทบาทของกรมรางและ รฟท.ให้การก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟ ให้ทางกระทรวงจัดทำแนวทางการให้เอกชนมาร่วมในการรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตเรลลิ้ง และมอบหมายให้กระทรวงหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในการโอนสิทธิ์ในการใช้ที่ดินของ รฟท.เพื่อให้กระทรวงการคลังรับภาระหนี้สิน ประมาณ 8 หมื่นล้านบาท และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารจัดการ

   นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังรับทราบผลการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. ของอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น ของคนร.ร่วมในการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. โดยให้ ขสมก.ดำเนินการในฐานะผู้ประกอบการเท่านั้น และให้กรมการขนส่งทางบกทำหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแล หรือเรคกูเลเตอร์ ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะแทน ให้กระทรวงคมนาคมเร่งสร้างความชัดเจนของเส้นทางการเดินรถและจัดสรรเส้นทางระหว่าง ขสมก. และรถเอกชน และแผนการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีให้สอดคล้องต่อไป และเมื่อมีความชัดเจนในเรื่องของเส้นทางการเดินรถของ ขสมก.ให้กระทรวงการคลังพิจารณาในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของ ขสมก.

    ขณะเดียวกัน ที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2563 และแผนปฏิบัติการด้านการขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2558(Action Plan) เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาภาคคมนาคมขนส่งของประเทศ และเป็นแนวทางเร่งรัดติดตามการดำเนินงานด้านการขนส่งเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งในรูปแบบต่างๆ และบูรณาการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณารูปแบบเงินทุนทางลือกที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงภาระเงินงบประมาณและหนี้สาธารณะของประเทศด้วย โดยให้หน่วยงานที่มีศักยภาพพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนในลักษณะ Self Financing เช่น การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) เป็นต้น

     ที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการให้ กฟภ.ดำเนินโครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้ครัวเรือนที่ห่างไกล วงเงินลงทุน 1,215 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศ 910 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กฟภ. 305 ล้านบาท โดยให้ กฟภ.ทยอยกู้เงินตามความจำเป็น เพื่อตอบสนองความต้องการในการมีไฟฟ้าใช้ของประชาชน

     นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบในหลักการให้มีการปรับปรุงอัตราค่าจ้างตามบัญชีโครงสร้างอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำนวน 35 แห่งที่ขึ้นทะเบียนบัญชีแรงงานไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างที่มีรายได้ขั้นต่ำเพียงเดือนละ 5,780 บาทให้ได้รับเงินเดือน 9,040 บาท ให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่300 บาทต่อวันจะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับลูกจ้าง และให้สอดคล้องกับอัตรค่าจ้างขั้นต่ำและสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

    ขณะที่พนักงานที่มีแรงงานค่าจ้างขั้นสูงหากจะขยายเพดานค่าจ้างขึ้นไปอีกจะต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และครม.เห็นชอบเป็นรายกรณีไป

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!