WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ตั้ง'สราวุธ'สอบสายสีน้ำเงิน ช.การช่างจับบริษัทลูกควบเสริมแกร่งธุรกิจรุก'เออีซี'

   ไทยโพสต์ * รฟม.รับลูก สตง. ตั้ง 'สราวุธ เบญจกุล' เป็นประธาน คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ทุจริตอุโมงค์สายสีน้ำเงิน จี้สอบสวนหาผู้เกี่ยวข้องหรือผู้กระทำผิด ด้าน ช.การช่างควบรวม 2 บริษัทลูกบีเอ็มซีแอล-บีอีซีแอล หวังเสริมความแข็งแกร่ง ขยายการลงทุนทั้งในประเทศและรองรับเปิดเออีซี

    แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ได้ตั้งกรรม การสอบข้อเท็จจริง หลังจากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีการทักท้วงเรื่องการก่อ สร้างอุโมงค์ส่วนต่อขยายรถไฟ ฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสนามไชยท่าพระ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการก่อสร้าง และมีการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ทำให้ต้องจ่ายผู้รับเหมา คือ บมจ.ช.การช่าง เพิ่มขึ้นอีก 290 ล้านบาท ซึ่งทำให้รัฐเสียประโยชน์

    "ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้น มาตรวจสอบรายละเอียดในเรื่อง นี้ทั้งหมด รวมทั้งข้อตกลงต่างๆ หาก พบว่าการดำเนินการไม่ถูกต้อง ก็จะมีการสอบสวนหาผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้กระทำผิดในกรณีดังกล่าว และเจรจากับผู้รับเหมา เนื่องจากงานส่วนนี้ได้ดำเนินการเสร็จและจ่ายเงินไปแล้ว" แหล่งข่าวกล่าว

    สำหรับ คณะกรรมการตรวจ สอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย นาย สราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประ ธาน ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย นายชัยยศ ปัญจบุตรชัย, นายสุชิน ศศิประภากุล และมีผู้อำนวยการกองคดีและวินัยฝ่ายกฎหมาย รฟม. เป็นเลขานุการ

   นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า สตง.พิจารณาแล้ว เห็นควรให้ รฟม. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีดังกล่าว หากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าการดำเนินการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ระเบียบและ ข้อกำหนดในสัญญา ขอให้ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่และผู้มีส่วนเกี่ยว ข้องตามกฎหมาย หรือระเบียบที่กำหนดไว้ต่อไปด้วย

   นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ บีเอ็มซีแอล กล่าวว่า การควบกับ บมจ. ทางด่วนกรุงเทพ หรือ บีอีซีแอล ถือเป็นกลยุทธ์ในการผสานความแข็งแกร่งของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน โดยจะก่อให้เกิดประ โยชน์จากการเพิ่มโอกาสในการขยาย และต่อยอดธุรกิจ ช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบริษัทใหม่ ทั้งในด้านการเงิน การดำเนิน งาน และความสามารถในการแข่ง ขัน ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้หุ้นของบริษัทจากมุมมองของนักลงทุน

   นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรม การผู้จัดการบีอีซีแอล กล่าวว่า การควบรวมกิจการกับบีเอ็มซีแอล จะช่วยเพิ่มศักยภาพความแข็งแกร่ง เตรียมความพร้อมรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตและการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยในวันที่ 2 เม.ย.นี้ จะนำเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นจะจัดตั้งบริษัทและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในเดือน ส.ค.2558 นี้

   "การควบรวมดังกล่าวจะไม่กระทบต่อผู้ถือหุ้นเดิม แต่จะส่งผลทำให้มูลค่าสินทรัพย์ตามราคาตลาดของบริษัทใหม่เพิ่มมากขึ้นที่ประมาณ 70,000 ล้านบาท มีความแข็งแกร่ง และน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น" นางพเยาว์กล่าว

   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้น บมจ.ช.การช่าง (CK) เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา ปิดที่ 28.50 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 6.54% บมจ. ซีเค พาวเวอร์ (CKP) ปิดที่ 18.60 บาท ลดลง 0.90 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 4.62% บมจ. ทีทีดับบลิว (TTW) ปิดที่ 11.70 บาท เพิ่มขึ้น 0.20 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 1.74% บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ปิดที่ 2.06 บาท ลดลง 0.32 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 13.45% และ บมจ. ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) ปิดที่ 42 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 1.18%.

เบรกสร้างอุโมงค์สายสีน้ำเงิน สตง.แฉรฟม.เอื้อผู้รับเหมา ไฮสปีดเทรนไทย-จีนฉลุย

   ไทยโพสต์ * 'รฟม.'ทบทวนการก่อสร้างอุโมงค์ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน หลังพบมีการเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมาอย่างน้อย 290 ล้านบาท กำชับรายงานผลพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกลับมายัง สตง. ภายใน 15 วัน ด้านประชุมไทย-จีน สร้างไฮสปีดเทรน เส้น กทม.มาบตาพุด นัดแรกฉลุย นัดสรุปสุดท้าย 11-13 ก.พ. ที่กรุงปักกิ่ง ก่อนเสนอ ครม. อนุมัติเดือน มี.ค.58

    รายงานข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้ง ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายมณเฑียร เจริญผล รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่น ดิน ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่า การการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอ ให้ทบทวนการดำเนินการโครง การรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อ ขยาย ในสัญญาที่ 2 ช่วงสนาม ไชย-ท่าพระ เนื่องจาก สตง.รับ ทราบข้อมูลว่า ระหว่างการดำเนิน การก่อสร้าง ชั้นดินบริเวณสถานี สนามไชยมีความแตกต่างจาก ข้อมูลชั้นดินในระหว่างการประ กวดราคา ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการบรรเทาความเสี่ยงจากวิธีการลดระดับน้ำ มาเป็นวิธีการเพิ่ม เสถียรภาพของชั้นดิน โดยที่ปรึก ษาโครงการได้พิจารณาร่วมกับผู้ รับจ้างและเห็นชอบในหลักการดังกล่าว และได้มีการเสนอต่อคณะ อนุกรรมการบริหารโครงการก่อ สร้างขออนุมัติหลักการด้านเทค นิคและเสนอต่อคณะกรรมการ รฟม. เพื่อขอเปลี่ยนแปลงงาน โดย อาศัยเงื่อนไขสัญญาจ้างข้อที่ 17 ที่มีสาระเป็นการเปลี่ยนแปลงการผลิต ติดตั้งและก่อสร้าง ทำให้ผู้รับจ้างสามารถเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มได้

    ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว ทำให้ รฟม.ต้องจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างเพิ่มขึ้น 290 ล้านบาท และต้องขยายเวลาการก่อสร้างไปอีก 90 วัน ซึ่งขัดกับหลักการในสัญญาข้อที่ 13 ที่กำหนดให้ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด และรับความเสี่ยงเอง ดังนั้น เหตุใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาในสัญญาข้อที่ 13 ที่เกิดขึ้นภายหลังการลงนามสัญญา ถือว่าผู้รับจ้างได้รับรู้แล้ว จะอ้างว่าเป็นข้อมูลที่เพิ่งทราบไม่ได้ เพราะข้อสัญญาดังกล่าว คู่สัญญาได้รับทราบแล้วและห้ามเรียกร้องค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือขยายเวลาโดยปราศจากข้ออ้างใดๆ ที่จะเป็นเหตุเรียกร้องได้

    "สัญญาข้อที่ 13 กำหนดชัดเจนว่า ผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องสำรวจพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด และต้องรับความเสี่ยงเอง ดังนั้นจึงให้ รฟม.ทบทวนการดำเนินการดัง กล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ระ เบียบและข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว และต้องแจ้งผลการพิจารณา พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกลับมายัง สตง.ภายใน 15 วัน"

   ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระ ทรวงคมนาคมว่า สำหรับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ในสัญญาที่ 2 ช่วงสนามไชย-ท่าพระนั้น เป็นงานก่อสร้างงานอุโมงค์ใต้ดิน โดยตามกำหนดการคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 3 ก.ย.2559 โดยขณะนี้มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างประมาณ 70% ผู้รับเหมาที่ก่อสร้างในสัญญาดังกล่าวคือ บมจ.ช.การช่าง

   พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า การประชุมร่วมมือทางด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟของประเทศไทยระหว่างไทยกับจีน ได้ข้อสรุปร่วมกันในการ จัดทำแผนกำหนดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร (รถไฟกึ่งความเร็วสูง) ระยะทาง 873 กม. โดยจะแบ่งแผนก่อสร้างเป็น 4 ช่วง ช่วงที่ 1 กรุง เทพฯ-แก่งคอย 133 กม. ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด 246.5 กม. ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในเดือน ก.ย.58, ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 138.5 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมาหนองคาย 355 กม. เริ่มก่อสร้างเดือน ธ.ค.58 ด้านเงินลงทุนนั้นจะใช้เงินลงทุนจากประเทศจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11-13 ก.พ. จะมีการประชุมนัดสุดท้ายเพื่อสรุป ที่กรุงปักกิ่ง ก่อนเสนออนุมัติ ครม. เดือน มี.ค.58.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!