WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ประจิน’ถกลาวดันโครงการทางคู่เชื่อมจีน

    แนวหน้า : ที่ผ่านมา พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ได้ประชุมร่วม ไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 วันที่สอง

    รมว.คมนาคม กล่าวว่า ภาพรวมหารือระหว่างไทย-จีน ตลอดทั้งสองวันที่ผ่านทั้งไทย-จีน มีความเห็นที่ชอบตรงกันในหลายประเด็น และแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ช่วงตามเส้นทาง และมีมติร่วมกันในการที่จะยุบรวมการประชุมในครั้งที่ 2 และ 3 เข้าด้วยกันเป็นวันที่ 11-13 ก.พ. 2558 ณ กรุงปักกิ่ง

   การประชุมในครั้งนี้ได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างกันและมีการตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมกัน 2 ฝ่าย ทั้งระดับนโยบายและระดับการบริหาร เพื่อความรวดเร็วในการทำงานและกำหนดแผนการทำงาน ซึ่งหลังจากมีการกำหนดแผนการแล้วเสร็จ ทางจีนจะจัดทีมสำรวจพื้นที่ร่วมกับทุกฝ่ายอย่างเป็นทางการในเดือน มี.ค. 2558

   ทั้งนี้ เชื่อว่าในระดับ คณะกรรมการบริหารจะสามารถมีข้อสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ได้ ซึ่งส่วนบางประเด็นอาจจะมีการนำเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบ รวมถึงอาจจะมีเข้าสู่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณาด้วย โดยทั้งหมดจะพยายามให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และขอให้มั่นใจว่าการทำงานระหว่างไทย-จีน จะดำเนินการไปอย่างโปร่งใส และเป็นธรรมมากที่สุด

   นอกจากนี้ ในวันที่ 1-3 ก.พ. 2558 จะเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อรวมหารือถึงโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตรที่จะมีการเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ-เวียงจันทน์-คุนหมิง ในอนาคตให้มีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ไปยังภาคใต้ ยืนยันว่าจะดำเนินการต่อไป นอกจากนี้รางที่มีอยู่ขนาด 1 เมตร ก็จะใช้งานอยู่ แต่จะปรับเปลี่ยนจากการใช้หัวรถจักรดีเซล ไปใช้ระบบไฟฟ้าแทนเพื่อให้สามารถเชื่อมกับมาเลเซียได้โดยตรง

   ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวว่าทางจีนได้มีการเสนอรูปแบบการลงทุนในเบื้องต้น 3 รูปแบบ 1.จีนเสนอให้ไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2.รัฐและเอกชนร่วมลงทุนด้วยหรือ PPP และ 3.รัฐบาลลงทุนร่วมกัน ระหว่างไทย-จีน โดยการตั้งบริษัทร่วมทุน ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบจะต้องมีการพิจารณาร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้และอัตราผลตอบแทนของการลงทุน

  ก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมสุดยอด ผู้นำกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 5 ไทย จีน พม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ โดยไทย ได้เซ็นเอ็มโอยูกับจีน เพื่อสร้างรถไฟรางคู่มาตรฐาน 1,435 เมตรด้วย โดยมีเส้นทางจาก หนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และช่วงแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 133 กม. รวม 867 กม. โดยรถไฟรางคู่สายนี้มีความเร็วสูงสุด 180 กม.ต่อชั่วโมง เพื่อเชื่อมกับเส้นทางสายไหมของจีนที่หนองคาย ค่าก่อสร้างที่ประเมินไว้เบื้องต้นคือ 392,570 ล้านบาท

'ประจิน'มั่นใจจีนให้กู้สร้างรถไฟ

    บ้านเมือง : พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมไทย-จีน ร่วมกับ นายหู จู่ฉาย รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ ในการประชุมร่วมไทย-จีนเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ซึ่งมีการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มกราคมที่ผ่านมา ภายหลังจากมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือกันไทยกับจีน ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ระหว่างนายกรัฐมนตรีไทยกับจีนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ได้การมีลงนามความร่วมมือระหว่างกัน และมีการตั้งคณะกรรมการบริหารงานร่วมกัน 2 ฝ่าย ทั้งระดับนโยบายและระดับการบริหาร เพื่อความสะดวกในการวางแผนสำรวจออกแบบ การประมาณการด้านราคาและบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย

  "ที่ประชุมสรุปว่าในวันที่ 11-13 ก.พ.นี้ จะมีการประชุมอีกครั้ง ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าวจะมีการหารือถึงเงินลงทุน เบื้องต้นมี 3 รูปแบบ ประกอบด้วย 1.การกู้เงินจากจีนในลักษณะผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2.กู้โดยรัฐและเอกชนร่วมกัน หรือ PPP และ 3.ลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐต่อรัฐ ซึ่งการพิจาณาขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้และผลตอบแทน รวมถึงการเสนอรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาของทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนที่จะมีการนัดสรุปรายละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ หากได้ข้อสรุปทั้งหมดแล้ว ฝ่ายไทยจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เพื่อพิจารณา อย่างไรก็ตาม มีความมั่นใจว่าทางประเทศจีนพร้อมให้ความช่วยเหลือเรื่องแหล่งเงินกู้อย่างแน่นอน"

  สำหรับ แผนงานรถไฟทางคู่ไทย-จีน แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง จะทำให้รวดเร็วขึ้น ซึ่งช่วงที่ 1 และ 2 เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาว 246.5 กม. ได้เริ่มออกแบบก่อสร้าง และเวนคืนที่ดิน และจะเริ่มลงมือก่อสร้าง วันที่ 1 กันยายน 2558 แล้วเสร็จและเปิดเดินรถภายในเดือนธันวาคม 2560 หรือภายใน 2 ปีครึ่ง ส่วนช่วงที่ 3 และ 4 เส้นทางแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. คาดจะเริ่มก่อสร้าง ได้วันที่ 1 ธันวาคม 2558 โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีครึ่ง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!