- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Thursday, 22 January 2015 21:01
- Hits: 2457
รมว.คมนาคม เผยไทย-จีน หารือรถไฟทางคู่นัดแรก 21-22 ม.ค.นี้ กำหนดกรอบทำงาน แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และนายหู จู่ฉาย รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมเป็นประธานการประชุมร่วม ไทย - จีน ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 ม.ค.นี้ เพื่อร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 หลังได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.57
ผลการหารือครั้งแรก ได้ข้อสรุป 1. ทางจีนเข้าใจ แผนและกรอบเวลาของไทย เบื้องต้นเข้าใจตรงกัน ตั้งแต่ความเป็นมาของความร่วมมือ 2 ฝ่าย การทำเอ็มโอยู และการตั้งคณะทำงาน 2. มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารโครงการในระดับนโยบายระดับปฎิบัติ และด้านการเงิน ซึ่งจะทำกรอบตารางการทำงานร่วมกัน 3. เห็นชอบร่วมกันในการแบ่งงานเป็น 4 ช่วง เพื่อก่อสร้างโครงการได้รวดเร็วเป็นไปตามแผนงาน 4. ทางจีนยินดีในการจัดคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญจาก CRC เข้ามาลงมือสำรวจและออกแบบทันที โดยไทยจัดเจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนการสำรวจ
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การหารือในครั้งนี้เพื่อกำหนดกรอบตารางการทำงาน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินงานร่วมกันทั้งในการวางแผน อำนวยการและลงพื้นที่ปฏิบัติการ สำรวจและออกแบบการประมาณการณ์ด้านราคาของโครงการรวมถึงการกำหนดรูปแบบการลงทุนร่วมกัน จะนำไปสู่การก่อสร้างทางในกรอบเวลาที่กำหนด สำหรับโครงการดังกล่าวมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เกิดการจ้างงาน มีรายได้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการคมนาคม จีนกับอาเซียน อำนวยความสะดวกด้านการค้า การท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งแผนงานให้ทางจีนพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่วมกัน โดยไทยได้ตั้งสำนักงานบบริหารโครงการภายใต้ เอ็มโอยูไทย-จีน (สบร.) โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าสำนักงาน ทำหน้าที่ประสานงาน ส่วนการปฎิบัติงานนั้นมีคณะทำงาน 2 ชุด โดยเป็นคณะอนุกรรมการที่มีกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำงานร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอร์ปอเรชั่น (CRC) ของฝ่ายจีน และอีกคณะจะเป็นอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ทั้งนี้ ไทยและจีน เคนมีการศึกษาร่วมกันมาแล้วตั้งแต่ปี 2553 และมีการปรับข้อมูลครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 จึงมั่นใจว่า ทั้ง 2 ฝ่ายมีข้อมูลในความร่วมมือนี้มากกว่า 50% แล้ว
ด้านการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 4 ช่วงโดยช่วงที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ จึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและประชาชนน้อยที่สุด ช่วงที่ 2. แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. แนวเส้นทางจะยากขึ้น เนื่องจากผ่านพื้นที่อุทยานและต้องเวนคืนที่ดิน แต่เชื่อว่าการสำรวจออกแบบและประมาณราคารวมถึงการกำหนดรูปแบบ ช่วงที่1,2 จะเสร็จตามเผน คือ เริ่มออกแบบเดือนมีนาคม 2558 สรุปในกันยายน 2558 เริ่มก่อสร้างและแล้วเสร็จเปิดเดินรถได้ในเดือนมี.ค. 61
ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม.และช่วงที่ 4. นครราชสีมา -หนองคาย ระยะทาง 355 กม. แม้เส้นทางจะยากมากขึ้นแต่เชื่อว่าทาง CRC ของจีนจะดำเนินการได้ตามแผน โดยฝ่ายไทยจะเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการทำงานของจีนอย่างเต็มขีดความสามารถ โดยคาดว่าจะจัดทีมสำรวจออกแบบ 2 ชุด เพื่อเร่งรัดงานได้ตามกรอบเวลา โดยในวันที่ 5-7 ก.พ.นี้ จะมีการประชุมร่วมครั้งที่ 2 เพื่อตกลงรูปแบบการลงทุนต่อไป
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
รถไฟไทย-จีนไร้ข้อสรุปเสนอเคาะตั้งอุตฯการบิน
ไทยโพสต์ * ถกแผนลงทุนรถไฟไทย-จีนนัดแรกยังไร้ข้อสรุป คาดต้นเดือน ก.พ.ได้ข้อยุติก่อนบินไปจีน ด้านคมนาคมเล็งชง 'ประจิน'เคาะที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานและศูนย์ซ่อมไทยนครราชสีมา-อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-กำแพงแสน
นายอาคม เติมพิทยาไพ สิฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการเงินและรูปแบบการ ลงทุนภายใต้บันทึกข้อตกลง รถ ไฟทางคู่ไทย-จีน ขนาดราง 1.435 เมตรครั้งแรก เพื่อหาแนวทางการระดมทุน สัดส่วนการลงทุน และวงเงินสำหรับใช้ก่อสร้างรถ ไฟไทย-จีนทั้ง 4 ช่วง กรุงเทพฯแก่งคอย 133 กม. แก่งคอยมาบตาพุด 246.5 กม. แก่งคอยนครราชสีมา 138.5 กม. และนครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ม.ค.58 ที่ผ่านมายังไม่มีข้อยุติเรื่องการลง ทุนชัด แต่คาดจะสรุปรายละ เอียดวงเงินลงทุนรูปแบบการลง ทุนได้ในการประชุมคณะทำงานร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 2 วันที่ 5-7 ก.พ. จากนั้นในการประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 25-27 ก.พ. รัฐบาลไปประชุมที่ประเทศจีน เพื่อสรุปรายละเอียดและรูปแบบการลงทุนทั้งหมด หากทั้ง 2 รัฐบาลสรุปภาพรวมโครงการ รูปแบบการลงทุนได้ก็จะลงนามบันทึกข้อตกลงในสัญญาร่วมกันได้ในการประชุมครั้งที่ 3 ทันที
นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการขับ เคลื่อนการจัดตั้งนิคมอุตสาห กรรมอากาศยานและศูนย์ซ่อมอากาศยาน กล่าวว่า ที่ประชุมได้คัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในเบื้องต้นเหลือเพียง 4 แห่ง จาก 6 แห่ง คือ สนามบินอู่ตะเภา, สนามบินสุวรรณภูมิ, โรงเรียนการ บินกำแพงแสน และท่าอากาศ ยานนครราชสีมา ซึ่งในกลางเดือน ก.พ.เสนอ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และเสนอคณะรัฐ มนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบการคัดเลือกพื้นที่และจะนำไปสู่ขั้นตอนการศึกษารูปแบบและแนวทางการลงทุน.
ไทย-จีนหารือรถไฟทางคู่นัดแรกกำหนดกรอบทำงาน แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม และนายหู จู่ฉาย รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมเป็นประธานการประชุมร่วม ไทย – จีน ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 ม.ค.นี้ เพื่อร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 หลังได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเมื่อวันที่ 19 ธ.ค.57
ผลการหารือครั้งแรก ได้ข้อสรุป 1. ทางจีนเข้าใจ แผนและกรอบเวลาของไทย เบื้องต้นเข้าใจตรงกัน ตั้งแต่ความเป็นมาของความร่วมมือ 2 ฝ่าย การทำเอ็มโอยู และการตั้งคณะทำงาน 2. มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารโครงการในระดับนโยบายระดับปฎิบัติ และด้านการเงิน ซึ่งจะทำกรอบตารางการทำงานร่วมกัน 3. เห็นชอบร่วมกันในการแบ่งงานเป็น 4 ช่วง เพื่อก่อสร้างโครงการได้รวดเร็วเป็นไปตามแผนงาน 4. ทางจีนยินดีในการจัดคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญจาก CRC เข้ามาลงมือสำรวจและออกแบบทันที โดยไทยจัดเจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนการสำรวจ
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การหารือในครั้งนี้เพื่อกำหนดกรอบตารางการทำงาน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินงานร่วมกันทั้งในการวางแผน อำนวยการและลงพื้นที่ปฏิบัติการ สำรวจและออกแบบการประมาณการณ์ด้านราคาของโครงการรวมถึงการกำหนดรูปแบบการลงทุนร่วมกัน จะนำไปสู่การก่อสร้างทางในกรอบเวลาที่กำหนด สำหรับโครงการดังกล่าวมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เกิดการจ้างงาน มีรายได้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการคมนาคม จีนกับอาเซียน อำนวยความสะดวกด้านการค้า การท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งแผนงานให้ทางจีนพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่วมกัน โดยไทยได้ตั้งสำนักงานบบริหารโครงการภายใต้ เอ็มโอยูไทย-จีน (สบร.) โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าสำนักงาน ทำหน้าที่ประสานงาน ส่วนการปฎิบัติงานนั้นมีคณะทำงาน 2 ชุด โดยเป็นคณะอนุกรรมการที่มีกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำงานร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอร์ปอเรชั่น (CRC) ของฝ่ายจีน และอีกคณะจะเป็นอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ทั้งนี้ ไทยและจีน เคนมีการศึกษาร่วมกันมาแล้วตั้งแต่ปี 2553 และมีการปรับข้อมูลครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 จึงมั่นใจว่า ทั้ง 2 ฝ่ายมีข้อมูลในความร่วมมือนี้มากกว่า 50% แล้ว
ด้านการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 4 ช่วงโดยช่วงที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ จึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและประชาชนน้อยที่สุด ช่วงที่ 2. แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. แนวเส้นทางจะยากขึ้น เนื่องจากผ่านพื้นที่อุทยานและต้องเวนคืนที่ดิน แต่เชื่อว่าการสำรวจออกแบบและประมาณราคารวมถึงการกำหนดรูปแบบ ช่วงที่1,2 จะเสร็จตามเผน คือ เริ่มออกแบบเดือนมีนาคม 2558 สรุปในกันยายน 2558 เริ่มก่อสร้างและแล้วเสร็จเปิดเดินรถได้ในเดือนมี.ค. 61
ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม.และช่วงที่ 4. นครราชสีมา –หนองคาย ระยะทาง 355 กม. แม้เส้นทางจะยากมากขึ้นแต่เชื่อว่าทาง CRC ของจีนจะดำเนินการได้ตามแผน โดยฝ่ายไทยจะเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการทำงานของจีนอย่างเต็มขีดความสามารถ โดยคาดว่าจะจัดทีมสำรวจออกแบบ 2 ชุด เพื่อเร่งรัดงานได้ตามกรอบเวลา โดยในวันที่ 5-7 ก.พ.นี้ จะมีการประชุมร่วมครั้งที่ 2 เพื่อตกลงรูปแบบการลงทุนต่อไป
ไทย-จีนหารือร่วมลงทุนรถไฟทางคู่นัดแรก คาดสรุปรูปแบบได้ต้นก.พ.
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า การประชุมร่วมไทย-จีนเพื่อความร่วมมือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของไทย ครั้งที่ 1 ระหว่าง วันที่ 21 -22 มกราคมนี้ เป็นการหารือร่วมเป็นครั้งแรก โดยฝ่ายไทยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เป็นประธาน
เบื้องต้นจะมีการหารือถึงแผนการทำงานที่ฝ่ายไทยได้วางไว้ก่อน คือ การแบ่งงานก่อสร้างเป็น 4 ช่วง ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร วงเงินเบื้องต้นเกือบ4 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร2.แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร
"ฝ่ายไทยมีความเห็นในส่วนของไทย แต่จะรอความเห็นจากฝ่ายจีนด้วยว่าจะลงทุนรูปแบบใด คาดว่าการหารือร่วมไทย-จีนในรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์นี้ จะได้ข้อยุติเรื่องรูปแบบการลงทุนได้ชัดเจนขึ้น"นายพีระพล กล่าว
สำหรับ การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนในโครงการการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน(Standard Gauge) 1.435 เมตร ระหว่างไทย-จีน เส้นทาง หนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ 133 กม. ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้รับทราบกรอบเวลาการทำงานที่คณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย (คบร.) ที่มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เป็นประธาน กำหนดเบื้องต้น
โดยรูปแบบการลงทุนนั้นคณะอนุฯด้านการเงิน เห็นว่าควรนำผลการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งขณะนี้ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ดำเนินการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว และผลการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย กรุงเทพฯ-ระยอง เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ไทย-จีน ก่อน เนื่องจากแนวเส้นทางและที่ตั้งสถานีของรถไฟความเร็วสูง มีความสอดคล้องกับรถไฟทางคู่ และหลังจากทั้ง 2 ฝ่ายตั้งคณะทำงานลงสำรวจออกแบบในเดือนมีนาคม 2558 จะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าจะมีความก่อสร้างเท่าไร รวมถึงการประเมินเรื่องจำนวนผู้โดยสาร เนื่องจากจะเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อรายได้และการพัฒนาเชิงพาณิชย์
อินโฟเควสท์