WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คค.เผย 23 ธ.ค.ชัดเจนตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

    แนวหน้า : นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับผู้แทนบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด และคณะนักลงทุนสถาบันเข้าพบ ว่า เป็นการพบปะเพื่อสอบถามข้อมูลของแผนการลงทุนในด้านคมนาคมและการขนส่ง เรื่องของตารางเวลาโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ว่ามีความชัดเจนแน่นอนมากน้อยแค่ไหน และจะสามารถเริ่มต้นได้เมื่อไหร่ ซึ่งในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ทางกระทรวงคมนาคมก็จะมีการแถลงถึงกำหนดการของในแต่ละโครงการ

     ทั้งนี้ ในหลักการลงทุนนั้นจะต้องใช้กลไกของตลาดทุนเข้ามาช่วย เช่น กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในการลงทุนของโครงการต่างๆ มีทั้งใช้งบประมาณ การกู้เงิน ร่วมทุนกับเอกชน หรือตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยการพิจารณาเลือกรูปแบบการลงทุน จะดูความเหมาะสมเป็นรายโครงการ ได้แก่ เรื่องของทางถนนที่จะใช้ในส่วนของวงเงินงบประมาณในการดำเนินการ โดยในส่วนของมอเตอร์เวย์จะต้องมีการพิจารณาว่าจะสามารถใช้งบประมาณจากกองทุนอินฟราสตัคเจอร์ ฟันด์ หรือจะใช้กองทุนของหน่วยงานกรมทางหลวงเอง หรืออาจจะใช้ในส่วนของเงินงบประมาณ โดยหากมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณก็อาจจะมีการพิจารณาในส่วนของเงินกองทุนส่วนหนึ่ง

    สำหรับ รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครนั้น หลักการขณะนี้ก็ยังเป็นลักษณะที่แยกในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานกับส่วนของการเดินรถ และรูปแบบการลงทุนแบบร่วมทุน (PPP) ด้านรถไฟระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ ที่ส่วนใหญ่จะใช้เงินงบประมาณประจำอยู่แล้วในบ้างส่วน ซึ่งมีกำหนดการเปิดประมูลในปี 2558

   "โครงการที่เป็นของทางภาครัฐที่เป็นการรีเทิร์นระยะยาวก็อาจจะไม่เหมาะที่จะทำ "อินฟรา ฟันด์" ถ้าเป็นโครงการที่มีรีเทิร์น ซึ่งผู้ลงทุนย่อมปรารถนาในส่วนของผลตอบแทนในส่วนนี้เช่น โครงการรถไฟฟ้าและ การลงทุนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะ 2 มีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนฯ โดยขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาความเหมาะสมจึงยังไม่สามารถให้ข้อสรุปได้ ต้องรอดูในวันที่ 23 ธ.ค.อีกครั้งหนึ่ง" นายอาคม กล่าว

   อย่างไรก็ตาม ในการตัดสินใจที่จะใช้รูปแบบการลงทุนในแต่ละโครงการ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่กระทรวงคมนาคมเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายเรื่องการร่วมลงทุนเอกชน จากคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership:PPP) ที่จะต้องมีนโยบายที่มีความชัดเจนว่าโครงการประเภทใหนบ้างที่จะให้เอกชนร่วมทุน เนื่องจากจะสามารถแยกแยะในส่วนที่เป็นภาระของรัฐ และส่วนของวิธีการอะไรการลงทุนได้อย่างเหมาะสม โดยทางกระทรวงคมนาคมก็มีในส่วนของโครงการที่พร้อมจะนำเสนอเพื่อให้เอกชนเข้ามาร่วมทุน เช่น โครงการท่าเรือชายฝั่ง (A) และศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟแหลมฉบัง (SRTO) ซึ่งมีการก่อสร้างในส่วนของบริเวณท่าเรือชายฝั่งและในส่วนของรถไฟในบริเวณท่าเรือ โดยปัจจุบันก็กำลังมีการพิจารณารูปแบบของการลงทุนอยู่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!