- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Wednesday, 15 October 2014 00:31
- Hits: 3010
รถไฟสายสีแดง งบบานปลาย'ประจิน'ชงครม.ขอเพิ่ม ยันย้ายแน่'หมอชิต 2'
แนวหน้า : พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 ต.ค.2557 ที่ผ่านมาได้ ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้างาน โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต พบว่าภาพรวมการก่อสร้างของโครงการยังมีความล่าช้ากว่าแผนงาน โดยสัญญา 1 งานโยธา สถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุงล่าช้ากว่าแผนงานถึง 13.34% เนื่องจากติดปัญหาการย้ายท่อขนส่งน้ำมันของ บริษัท FPT ออกจากพื้นที่ก่อสร้าง ส่วนสัญญา 2 งานโยธาล่าช้ากว่าแผนงาน 41.52% เพราะติดปัญหาผู้บุกรุกอาศัยในเขตทางรถไฟ ขณะที่สัญญา 3 งานวางระบบอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตรวจซองประมูลเนื่องจากราคาที่ส่งประมูลสูงกว่าราคาที่ประเมิณไว้
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ได้เตรียมเสนอการปรับแบบสถานีกลางโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงบางซื่อ-รังสิต จากเดิมที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2550 กรอบวงเงิน 59,888 ล้านบาท โดยจะขออนุมัติวงเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 8,400 ล้านบาท เนื่องจากมีการปรับแก้ไขงานบางส่วน โดยโครงการนี้ส่วนนี้ได้รับสนับสนุนด้านเงินกู้จาก องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)
ในเบื้องต้นคาดว่าจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบแล้วจะกลับมาตรวจสอบค่าใช้จ่ายในแต่ละสัญญาและหากเป็นไปตามข้อเสนอจะพยายามเร่งรัดการดำเนินงานให้แล้วเสร็จตามแผนงาน
สำหรับ โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จะมีจุดเริ่มต้นโครงการตั้งแต่แยกประดิษพัทธ์ ไปตามแนวเขตรถไฟสายเหนือผ่านเขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ การเคหะดอนเมืองและสิ้นสุดที่สถานีรังสิต จ.ปทุมธานี ซึ่งประกอบด้วย 10 สถานีมีระยะทางรวม 26.3 กิโลเมตร
รมว.คมนาคม กล่าวถึงการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร หรือ หมอชิต 2 และอู่รถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ออกจากพื้นที่ย่านพหลโยธิน เพื่อใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงด้วยว่า นโยบาย กระทรวงคมนาคมชัดเจนว่าอู่รถเมล์ ขสมก.จะยังคงต้องมีให้บริการภายในสถานีรถไฟบางซื่อ เพื่อต่อการเดินทางของผู้โดยสารที่มาใช้บริการ
ส่วนสถานีหมอชิต 2 จะต้องย้ายออกจากพื้นที่แน่นอน ล่าสุดจากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสาร บขส. ใหม่ขณะนี้มี 2 แห่ง คือ บริเวณด้านทิศเหนือของฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต ทั้งฝั่งตะวันออก และตะวันตกของถนนวิภาวดีรังสิต และบริเวณติดทางด่วนบางปะอิน ซึ่งพื้นที่จะต้องมีประมาณ 100 ไร่ เพื่อสร้างทั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้ บขส.ไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมและประเมินค่าใช้จ่ายว่าเท่าใด โดยจะให้ได้ข้อสรุปภายในสิ้นปี 2557
นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้ กระทรวงคมนาคมศึกษาพื้นที่ กรมธนารักษ์ที่ปัจจุบัน เป็นศูนย์ซ่อมและสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบริเวณหมอชิต 1 ริมถนนพหลโยธินว่า พื้นที่ดังกล่าวจะยังคงสงวนสิทธิในการขอเข้าใช้พื้นที่ โดย กระทรวงคมนาคมจะใช้เป็นสถานีรถโดยสารสายสั้น อย่างไรก็ตาม การจะใช้พื้นที่ดังกล่าวหรือไม่นั้น ทางกระทรวงคมนาคมขอศึกษาความเหมาะสมรายละเอียดอีกครั้งว่ามีความเหมาะสมหรือไม่หากเข้าใช้พื้นที่และจะมีปัญหาทางด้านการจราจรหรือไม่ หรือจะมีการเชื่อมต่อจากสถานีสู่ถนนวิภาวดีรังสิตอย่างไร
ชง ครม.ปรับสถานีบางซื่อ
บ้านเมือง : พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภาย หลังลงพื้นที่ติดตามโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กิโลเมตร พบว่าภาพรวมการก่อสร้างขณะนี้ยังมีความล่าช้ากว่าแผนงาน โดยสัญญา 1 งานโยธา สถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุงล่าช้ากว่าแผนงาน 13.34% เนื่องจากติดปัญหาการย้ายท่อขนส่งน้ำมันของบริษัท FPT ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือ ส่วนสัญญา 2 งานโยธา ล่าช้ากว่าแผนงาน 41.52% ติดปัญหาผู้บุกรุกอาศัยในเขตทางรถไฟ ขณะที่สัญญา 3 งานวางระบบอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาตรวจซองประมูล เนื่องจากราคาที่เอกชนประมูลสูงกว่าราคาที่ประเมินไว้
โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 14 ต.ค.นี้ กระทรวงคมนาคมจะนำเสนอแผนการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เพื่อรองรับระบบรางที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบก็จะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ผู้รับผิดชอบโครงการตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่ต้องปรับเพิ่มขึ้นเพื่อความชัดเจนอีกครั้ง ส่วนเรื่องการจัดหาเงินนั้นกระทรวงการคลังจะเป็นผู้รับผิดชอบ ก่อนจ่ายให้ผู้รับงานแต่ละสัญญา
สำหรับ การปรับแบบดังกล่าวจะทำให้วงเงินก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นรวม 8,140 ล้านบาท แบ่งเป็นสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และอาคารซ่อมบำรุง วงเงิน 29,826 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 21 กิโลเมตร วงเงิน 21,235 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 27,926 ล้านบาท
นอกจากนี้ ส่วนโครงการย้าย บริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) นั้น ที่ผ่านมาได้รับรายงานว่าได้มีการศึกษาพื้นที่จะย้าย บ.ข.ส.มี 4 แห่ง ซึ่งขั้นตอนต่อจากนี้คณะทำงานจะหารือเรื่องการเวนคืนและงบประมาณที่จะต้องใช้ ส่วนพื้นที่บริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเก่า ที่กรมธนารักษ์จะเสนอพื้นที่ให้กระทรวงคมนาคมเพื่อจัดทำเป็นสถานีขนส่งนั้น กระทรวงคมนาคมได้ยื่นหนังสือไปยังกรมธนารักษ์ เพื่อขอสงวนสิทธิ์ใช้พื้นที่ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม แผนการใช้พื้นที่ย้ายสถานีขนส่ง บ.ข.ส.แห่งนั้น จะสามารถสรุปความชัดเจนได้ภายในปลายปี 2557 นี้
ชงครม.เพิ่มงบรถไฟสีแดง 8 พันล. จ่อย้าย'หมอชิต'ไปรังสิตเดินหน้ามอเตอร์เวย์ 3 สาย
ไทยโพสต์ : บางซื่อ * 'ประจิน'เตรียมเสนอ ครม.ขอเพิ่มงบรถไฟสายสีแดงกว่า 8 พันล้าน หลังปรับแบบก่อสร้างให้เป็นศูนย์คมนาคมขนส่งทางราง พร้อมสั่งศึกษารายละเอียดย้าย บ.ข.ส.เล็งฟิวเจอร์ รังสิต-บางปะอิน ด้านกรมทางหลวง เดินหน้าสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สาย ประเดิมสายแรก พัทยา-มาบตาพุด ปี 2558
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจความคืบหน้างานโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กิโลเมตร ว่าภายในสัปดาห์หน้าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเพิ่มงบการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 8,140 ล้านบาท ภายหลังจากที่ได้ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ ให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางเพื่อรองรับรางมาตรฐาน 1.435 เมตร
โดยสัญญาที่ 1 งานก่อ สร้างสถานีกลางบางซื่อและอา คารซ่อมบำรุง วงเงิน 29,826 ล้านบาท ขอเพิ่มอีก 4,315 ล้านบาท สัญญาที่ 2 งานโยธาสำหรับทางรถไฟช่วงบางซื่อ-รัง สิต ระยะทาง 21 กิโลเมตร วง เงิน 21,235 ล้านบาท เพิ่ม 3,352 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่า 28,899 ล้านบาท เพิ่มอีก 473 ล้านบาท โดยในสัปดาห์หน้าจะเสนอไปที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณา จากนั้นจะกลับมาตรวจสอบค่าใช้จ่าย
"หลังจาก ครม.เห็นชอบ จากนั้นจะเร่งรัดการปรับแผนงานทั้งหมดเพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าได้ตามสัญญา คาดว่าจะแล้ว เสร็จใกล้เคียงแผนงาน คือก่อ สร้างงานโยธาแล้วเสร็จในปี 2560 และเปิดเดินรถได้ในปี 2561" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
พล.อ.อ.ประจิน กล่าวถึงกรณีย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสาร หรือหมอชิต 2 และอู่รถเมล์ของ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ออกจากพื้นที่ย่านพหล โยธิน เพื่อใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงว่า ในเรื่องนี้ นโยบายกระทรวงคมนาคมชัดเจนว่า ในส่วนของอู่รถเมล์ ขสมก. จะยังคงต้องมีให้บริการภายในสถานีรถไฟบางซื่อ เพื่อต่อการเดินทางของผู้โดยสารที่มาใช้บริการ แต่ในส่วนของสถานีหมอชิต 2 จะต้องย้ายออกจากพื้นที่แน่นอน
สำหรับ ผลการศึกษาพบ ว่า พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดย สาร บ.ข.ส.ใหม่นั้น ขณะนี้มี 2 แห่ง คือ 1.บริเวณด้านทิศเหนือ ของห้างฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต ทั้ง ฝั่งตะวันออกและตะวันตก ของ ถนนวิภาวดีรังสิต 2.บริเวณติด ทางด่วน บางปะอิน ซึ่งพื้นที่ที่จะใช้จะต้องมีประมาณ 100 ไร่ เพื่อสร้างทั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารทั้งสายเหนือและสายอีสาน โดยให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) ไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมและประเมินค่าใช้จ่ายว่าเท่าไร โดยจะให้ได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้
นายชูศักดิ์ เกวี ปฏิบัติหน้าที่อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ทล.ได้เร่งรัดเดินหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทาง คือ1.สายบางปะอินนครราชสีมา 196 กิโลเมตร 2. สายบางใหญ่-กาญจนบุรี 96 กิโล เมตร และ 3.สายพัทยา-มาบตา พุด 32 กม ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งรายละเอียดโครงการมีความพร้อมหมดแล้ว ทั้งแบบการก่อสร้างและการออกพระราชกฤษฎีการ เวนคืนที่ดิน รวมทั้งการจัดทำ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวด ล้อม
ทั้งนี้ เส้นทางที่มีความพร้อมมากที่สุดคือ สายพัทยามาบตาพุด เพราะใช้เงินจากกอง ทุนที่จัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางของมอเตอร์เวย์เป็นค่าก่อ สร้าง คาดว่าภายในปี 2558 จะเริ่มก่อสร่างได้ ส่วนอีก 2 สายทางอยู่ระหว่างจัดหาแหล่งเงิน ซึ่งจะได้ข้อสรุปภายในไม่เกิน ม.ค.2558 ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ ประมาณปี 2559 ส่วนสายพัทยามาบตาพุด ไม่มีปัญหาเรื่องแหล่งเงิน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภาย ในปี 2558.