- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Tuesday, 23 October 2018 23:23
- Hits: 12680
ในรายการครั้งที่แล้ว เรือโท ยุทธนา โมกขาว ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบังได้กล่าวถึงแนวโน้มการพัฒนาท่าเรือต่าง ๆ ทั่วโลก โดยได้กล่าวถึง "Fully Automation" ส่วนท่าเรือแหลมฉบังจะมุ่งสู่เป้าหมายเช่นเดียวกันหรือไม่ ท่าเรือแหลมฉบังจะเป็นประตูการค้าเชื่อมเศรษฐกิจไทยกับประเทศรอบข้าง ตลอดจนทางภาคใต้ของจีนได้อย่างไร เรามาฟังกันต่อค่ะ
"ท่าเรือใหม่ ๆ ทั่วโลกต่างมุ่งไปสู่การเป็นท่าเรือ Fully Automation แต่ในท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 อาจจะไม่เชิง Fully สักทีเดียว อาจจะเป็นในลักษณ์ของ ถ้าเป็นภาษาของทางท่าเรือจะเรียกว่า Remote Control ก็คือ การยกตู้สินค้าด้วย Remote Control ก็จะมีกล้อง CCTV ติดไว้บนเครื่องยกตู้สินค้า โดยในอนาคต คนบังคับจะถูกส่งไปอยู่ที่ห้องควบคุม และบังคับด้วยการใช้ Joystick บังคับควบคุมด้วยการใช้ Remote Control ก็จะทำให้ performance ของการยกตู้สินค้าค่อนข้าง stable ขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ซึ่งในยุค 4.0 เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้เกือบจะเต็มที่ เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต การท่าเรือของประเทศไทยก็จะเป็นท่าเรือในยุคสักยุค 2.0 เพราะใช้ manual กันหมด ตรงไหนก็แล้วแต่ที่มีเครื่องมือ เราก็จะใช้คน ยังไม่ไปถึง 3 หรือ 3.5 เลย แต่ถ้าเป็นในยุคที่ 3 ก็อาจจะใช้คนร่วมกับ IT แต่พอเป็นยุค 4.0 หลัก ๆ ก็จะใช้ IT เลย แต่สุดท้ายยังไงก็ต้องมีคนควบคุม ถือว่าเป็นโครงการที่ท่าเรือแหลมฉบังกำลังพัฒนา"
"โดยอย่างที่ผมเรียนไปว่า ท่าเรือแหลมฉบังอยู่ใน location ที่ดีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ในจุดที่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ สามารถที่จะเชื่อมจากประเทศไทยไปพม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนามได้ โครงการที่ผมเห็นว่าเป็นโครงการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับทางตอนใต้ของประเทศจีน (ทางคุนหมิง) ก็คือ การก่อสร้างรถไฟรางมาตรฐาน ที่ในวันนี้ ทางประเทศจีนได้ก่อสร้างรายรถไฟจากคุนหมิงเข้าสู่ประเทศลาวเรียบร้อยแล้ว ผมเข้าใจว่าน่าจะใกล้เสร็จแล้วด้วยซ้ำ ตอนนี้ทางกระทรวงคมนาคมก็อยู่ระหว่างการที่จะดำเนินการต่อ โดยจะต่อเชื่อมรางรถไฟจากประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย โดยปลายทางก็จะอยู่ที่ท่าเรือมาบตาพุดที่จังหวัดระยอง แต่ว่าจะมีเส้นทางอีกเส้นทางหนึ่งมาที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย ดังนั้น การระบายสินค้าของจีนตอนใต้จากคุนหมิง จากเดิมอาจจะอาศัยเส้นทางเดียวก็คือเส้นทางแม่น้ำโขง โดยสินค้าหลัก ๆ ที่มีการขนส่งระหว่างจีนตอนใต้กับประเทศไทยในปัจจุบันจะเป็นสินค้าในเรื่องของผลไม้ และสินค้าในเรื่องของอุปโภคบริโภค ซึ่งอุปสรรคก็คือ ความลึกของแม่น้ำโขงในบางช่วงเวลา เรืออาจจะไม่สามารถแล่นได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ดี ทางจีนก็มีการก่อสร้างเขื่อน เพื่อทำการเก็บกักน้ำ แต่เท่าที่เราตรวจสอบ เราพบว่า ตัวเขื่อนที่ทางประเทศจีนก่อสร้างนั้น ก็ไม่ได้ทำให้ปริมาณของแม่น้ำโขงลดลงมากนัก ถือว่าเป็นส่วนที่ประเทศไทยก็จะได้รับผลประโยชน์เช่นเดียวกัน ดังนั้น การค้าขายระหว่างไทยกับจีนตอนใต้ในวันนี้ อาจจะใช้ท่าเรือเชียงแสนกับเชียงของเป็นหลัก ปริมาณสินค้าอาจจะไม่เยอะ เนื่องจากว่า อาจจะต้องใช้ฤดูกาลของแม่น้ำโขงในการที่จะนำสินค้าค้าขายระหว่างกัน"
"แต่ผมมองว่า ถ้าเมื่อไหร่รถไฟมีการเชื่อมต่อกันแล้วเสร็จ ก็จะเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งของประเทศจีนในการนำส่งสินค้าเข้าออก อาจจะสามารถไปสู่โลกได้เลย เพราะว่าในวันนี้ ทางท่าเรือเราพบว่า ประเทศจีนก็มีการสร้างรถไฟอีกเส้นหนึ่ง เป็นเส้นทางคู่ขนานที่สามารถขนส่งตู้สินค้าไปยังยุโรปได้แล้ว เข้าใจว่าในปีที่ผ่านมา ก็มีการขนส่งสินค้าจากประเทศจีนไปยังยุโรปไปแล้ว การระบายสินค้าของตอนใต้ของจีน ถ้าสามารถระบายมาทางใต้ได้โดยผ่านทางท่าเรือแหลมฉบัง อาจจะใกล้กว่าที่จะขนส่งจากเมืองคุนหมิงไปทางท่าเรือกว่างโจวด้านใต้ ซึ่งท่าเรือทางกว่างโจวจะเป็นจุดเริ่มต้นของ Belt and Road ที่ผมเคยดูนี่ ท่าเรือแหลมฉบังเดิมไม่ได้อยู่ในเส้นทางของ Belt and Road แต่ในวันนี้ หลังจากที่เราได้มีการประชุม การพูดคุย และการผลักดันจากรัฐบาลจีนในเรื่อง Belt and Road ประเทศไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วม ได้มีการประชุมที่เมืองกว่างโจวหลายครั้ง ก็ต้องถือว่าเป็นโชคดีของประเทศไทยที่ไม่ได้ตกขบวนสักทีเดียว ซึ่งเดิมคือจากท่าเรือทางตอนใต้จะไปเวียดนาม และก็ไปสิงคโปร์เลย ในวันนี้ เราก็เห็นภาพใหม่ว่า จากท่าเรือทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน จะมาเวียดนาม และมาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย และก็ไปสิงคโปร์ด้วย ดังนั้น Belt and Road ก็จะมีท่าเรือแหลมฉบังอยู่ในเครือข่ายนี้ด้วย เป็นยุทธศาสตร์ของทางจีน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยพอดี ที่สามารถที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างทั้งสองประเทศไปด้วยกัน ท่าเรือแหลมฉบังก็พยายามที่ก็จะเป็นประตูการค้าของอินโดจีน รวมไปถึงประเทศจีนตอนใต้ด้วย"
"รางที่จะใช้ก็จะเป็นราง standard gauge ซึ่งเป็นรางที่จะต่อเชื่อมจากภาคใต้ของจีน ผ่านประเทศลาว แล้วลงมาสู่ประเทศไทย ก็จะเป็นหลัก ๆ ของตัวท่าเรือแหลมฉบัง และต้องถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของท่าเรือแหลมฉบังด้วยเช่นเดียวกันในการที่จะเชื่อมไปทางตอนใต้ของจีนด้วย"
เมื่อกล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมการพัฒนาของท่าเรือแหลมฉบัง
"รัฐบาลไทยมุ่งหวังที่จะให้ท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 3 เป็นท่าเรือที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะว่า ท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 3 จะสร้างให้สามารถที่จะนำเรือที่ขนาดใหญ่มากขึ้นเข้าได้ ต้องจะสนับสนุนทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และรวมถึงจีนตอนใต้ด้วย ต้องถือว่าเป็นโครงการที่รัฐบาลมุ่งหวังให้ท่าเรือแหลมฉบังในระยะที่ 3 ประสบความสำเร็จ คาดว่าจะประกวดราคาเพื่อหาผู้ประกอบการได้ภายในปีนี้ เป็นโครงการที่ตัวรัฐบาลเองได้ผู้ที่จะเข้ามาบริหารจัดการก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เพราะถ้าโครงการนี้ไม่เกิดก่อน หลังจากที่มีการเลือกตั้งได้รัฐบาลใหม่แล้ว โครงการใหญ่ ๆ อาจจะมีประเด็นปัญหา ซึ่งรัฐบาลในยุคนี้ก็มุ่งหวังว่า โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 จะเกิดภายในปีนี้"
Tim/Ldan