WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม เตมพทยาไพสฐเข็นประมูลระบบราง 1.7 แสนล. 'สมคิด'จี้ทอท.3เดือนแก้ปัญหาแออัดในสนามบิน

     ไทยโพสต์ : ทำเนียบฯ * อาคมลั่นเดินหน้าประมูลงานรถไฟ 1.7 แสนล้านภายในปีนี้ ด้านสมคิดจี้ ทอท. 3 เดือนแก้ปัญหาแออัดในสนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต จ่อชงบอร์ดอนุมัติสร้าง-ปรับสนามบินภูมิภาค 1.27 แสนล้าน

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยในช่วง ครึ่งแรกของปีนี้ (มิ.ย.-ก.ค.) จะเร่งดันโครงการเพื่อเสนอที่ประ ชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมมูลค่าโครงการ 1.7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถ ไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กิโลเมตร วงเงิน 5.9 หมื่นล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ มูลค่า 7.5 พันล้านบาท จะเร่งเสนอ ครม.ภายในเดือน เม.ย.ก่อนเปิดประมูลภายในเดือน มิ.ย.

      ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท และรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตร วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท จะเร่งเสนอ ครม.ภายใน พ.ค.นี้ เริ่มทยอยประกวดราคาในช่วงเดือน มิ.ย.ก.ค.

      สำหรับ ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นคร ราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ขณะนี้ฝ่ายจีนได้ส่งแบบตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-ขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.มาแล้ว คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ภายในเดือนนี้ และเปิดประมูลได้ภาย ในเดือน มิ.ย.นี้ ขณะที่แบบก่อ สร้างสำหรับช่วงที่ 3 แก่งคอยนครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และช่วงที่ 4 บางซื่อ-แก่ง คอย ระยะทาง 119 กม. จะส่งให้รัฐบาลไทยภายในกลางปีนี้ เพื่อถอดแบบและกำหนดราคากลางในร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์)

     สำหรับ โครงการรถไฟ ไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราช สีมา-หนองคาย ระยะทาง 394 กม.นั้น กำหนดว่าฝ่ายจีนต้อง ส่งแบบรายละเอียดการก่อ สร้างมาให้ไทยภายใน 8 เดือนนับจากนี้หรือช่วงปลายปีนี้ และโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. วงเงินราว 4 แสนล้านบาท ตามแผนจะสามารถเสนอ ครม.ได้ภายในเดือนนี้

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ได้ กำชับให้ผู้บริหาร บมจ.ท่าอา กาศยานไทย หรือ ทอท. เร่งรัดการแก้ไขปัญหาความแออัดของสนามบิน เช่น สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยได้มอบหมาย ให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ลงไปกำกับดูแลเร่งรัดให้เกิดความรวดเร็ว

      นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า การแก้ปัญหาแออัดระยะ สั้นที่สนามบินสุวรรณภูมินั้น ทอท.จะปรับพื้นที่บางส่วน เช่น ห้องรับรองของฝ่ายการบิน จะเปิดพื้น ที่ให้มีจุดตรวจค้นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวรับผู้โดยสารชั่วโมงเร่งด่วนมากขึ้น รวมถึงในเดือน พ.ค. นี้ จะเสนอคณะกรรมการอนุมัติงบลงทุน 1.27 แสนล้านเพื่อทุนก่อสร้างสนามบินแห่งที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่และพังงา.

สมคิด สั่งทอท.เร่งแก้ปัญหาความแออัดของสนามบินทุกแห่ง-พัฒนาสนามบินเมืองรอง รองรับนทท.เพิ่ม

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่หน่วยงานด้านขนส่งทางอากาศ ประกอบด้วย กรมท่าอากาศยาน, สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน, บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, บมจ.การบินไทย (THAI), บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT), บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด และ บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัดว่า ได้สั่งการให้ ทอท.แก้ปัญหาความแออัดของสนามบินที่อยู่ในความรับผิดชอบ เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ โดยในระยะสั้นช่วง 3-4 เดือนนี้ ต้องเพิ่มช่องทางการเข้า-ออกของผู้โดยสาร เพิ่มบุคลากรในแต่ละจุดในระบบ Auto Gate เป็นต้น ส่วนระยะยาวนั้น มีการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิในเฟส 2 อยู่แล้ว

      เนื่องจากในรอบ 3 ปีที่ผ่านมามีจำนวนจำนวนผู้โดยสารเกินกว่าเป้าหมายมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ดังนั้นต้องรักษาศักยภาพในส่วนนี้ต่อไป โดยจะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารมากที่สุด

     ส่วนการพัฒนาสนามบินดอนเมืองที่ยังมีข้อจำกัดหลายเรื่องนั้น นายสมคิด ได้ฝากให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม ไปเร่งรัด

    ส่วนสนามบินเชียงใหม่ จะต้องมีการเพิ่มพื้นที่ขยายลานจอดรถ เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก พร้อมกันนี้จะเร่งตัดสินใจในการก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 ส่วนสนามบินภูเก็ตที่มีข้อจำกัดรันเวย์เดียวนั้น จะต้องหาพื้นที่สร้างสนามบินแห่งที่ 2 ซึ่ง ทอท.ได้ศึกษาไว้แล้ว อยู่ระหว่างตัดสินใจ

     รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีกว่า 30 ล้านคนต่อปีนั้น นโยบายรัฐบาลต้องการกระจายการท่องเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ได้ ซึ่งให้ ทอท. และกรมท่าอากาศยานไปหารือในการพัฒนาสนามบินของเมืองรอง โดยในปีนี้ต้องการให้เริ่มที่สนามบินชุมพร หรือหัวหิน เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ซึ่งมีถนนเลียบชายทะเล ที่จะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในแถบนั้นได้เป็นอย่างดี

    นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ AOT กล่าวว่า ปัจจุบัน 6 สนามบินของ ทอท.มีผู้โดยสารรวมถึง 130 ล้านคนต่อปี ซึ่งเกินศักยภาพรองรับที่ 101 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้ มีแผนระยะยาวที่จะพัฒนาศักยภาพ 6 สนามบิน เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 184 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2568 โดยขณะนี้ได้เร่งแผนพัฒนาในระยะสั้นของ 3 สนามบิน คือ สุวรรณภูมิ, เชียงใหม่ และภูเก็ต โดยทยอยนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการทอท. ส่วนสนามบินดอนเมืองที่ผู้โดยสารเติบโตสูง และมีความแออัดมากนั้นให้เร่งนำแผนหารือกับ รมช.คมนาคม เพื่อแก้ปัญหาก่อน

      โดยขณะนี้สนามบินสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารถึง 60 ล้านคนต่อปี และคาดว่าในปี 2564 ผู้โดยสารจะเพิ่มเป็น 90 ล้านคนต่อปี แต่ศักยภาพปัจจุบันอยู่ที่ 45 ล้านคนต่อปี ดังนั้นในระยะสั้นจะมีการปรับปรุงพื้นที่อาคารผู้โดยสารด้านตะวันตก ฝั่งเคาน์เตอร์เช็คอินของการบินไทย ซึ่งได้คืนพื้นที่เล้าจน์ และยังมีการกระจายจุดตรวจค้นให้มากขึ้น และปรับพื้นที่ ROW A,B รวมถึงการนำระบบอัตโนมัติต่างๆ เข้ามาให้บริการมากขึ้น ใช้งบไม่มาก แต่เน้นการบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเสริมกับการพัฒนาเฟส 2

       ส่วนสนามบินภูเก็ต ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 15-16 ล้านคนต่อปี แต่ศักยภาพรองรับที่ 12.5 ล้านคนต่อปี ซึ่งคาดว่าในปี 2565 ผู้โดยสารจะเพิ่มมากกว่า 18 ล้านคนต่อปี ตามแผนแม่บทจะขยายศักยภาพเป็น 25 ล้านคนต่อปี แต่เนื่องจากภูเก็ตติดปัญหารันเวย์เดียว แท็กซี่เวย์จำกัด จึงปรับแผนใหม่ โดยจะรื้อแผนพัฒนาใหม่เพื่อหาพื้นที่เพื่อก่อสร้างสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2 ซึ่งได้มีการศึกษาพื้นที่ใหม่ที่จังหวัดพังงา รองรับได้ประมาณ 10 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะเสนอบอร์ด ทอท.ใน 1-2 เดือน เพื่อขอลงทุนประมาณ 7.5 หมื่นล้านบาท จากนั้นจะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย

      สำหรับ สนามบินเชียงใหม่ ศักยภาพรับได้ 8 ล้านคนต่อปี แต่มีผู้โดยสารถึง 10 ล้านคนแล้ว จึงเกิดความแออัด คาดว่าปี 2568 จะเพิ่มเป็น 18 ล้านคนต่อปี และปี 2574 จะเพิ่มเป็น 20 ล้านคนต่อปี ปัญหาของสนามบินเชียงใหม่ คือ พื้นที่โดยรอบสนามบิน ซึ่งจะมีการก่อสร้างสนามบินเชียงใหม่แห่งที่ 2 นอกตัวเมือง คาดลงทุนประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะรองรับได้ 10 ล้านคนต่อปี โดยแยกผู้โดยสารภายในประเทศมาใช้สนามบินแห่งใหม่นี้ ส่วนสนามบินเชียงใหม่เดิม จะรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ ซึ่งจะเสนอบอร์ด ทอท.ขออนุมัติใน 1-2 เดือนนี้เช่นกัน

     นายนิตินัย ยังกล่าวถึงการบริหารสนามบินภูมิภาคของกรมท่าอากาศยาน (ทย.)ว่า นายสมคิด ได้มอบหมายให้ ทอท. และ ทย.หารือร่วมกัน ซึ่งได้รับนโยบายให้พิจารณาสนามบินหัวหิน หรือชุมพร ตามนโยบายด้านการท่องเที่ยวเมืองรอง และไทยแลนด์ริเวียร่า ที่เป็นส่วนสนับสนุนด้านการบินได้ โดยจะนำแผนการบริหาร 15 สนามบินของ ทย.เดิม มาปรับร่วมกับนโยบายใหม่

    อย่างไรก็ตาม ในแง่การลงทุนพัฒนาสนามบินต่างๆ นายนิตินัย กล่าวว่า จะไม่กระทบต่อฐานะการเงินของ ทอท.มากนัก โดยในปีนี้ ทอท.มีแผนเบิกจ่ายงบลงทุนประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาทจากการก่อสร้างสุวรรณภูมิเฟส 2 และพัฒนาสนามบินภูเก็ต ขณะที่รายได้ปี 2561 มีแนวโน้มที่จะเกินเป้าหมาย เนื่องจากการเติบโตของเที่ยวบินและผู้โดยสารมากกว่าประมาณการ หลังจากปลดธงแดงและหมดปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญ โดยไตรมาส 1/61 (ต.ค.-ธ.ค.60) ผู้โดยสารโตที่ 14.4% ส่วนไตรมาส 2/61 คาดว่าจะโตไม่ต่ำกว่า 10%

          อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!