WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ตลาดที่มีจิตสำนึก Mindful Markets  ผู้ผลิตและผู้บริโภค สำนึกใหม่กับการสร้างตลาด

   ย้อนไปกว่า 20 ปีก่อน เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  เราต่างพากันห่วงใยปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม  แนวคิดเรื่องการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพ และไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นงานที่หลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และกลุ่มนักกิจกรรมขับเคลื่อนสังคมให้ความสนใจ

   มาจนถึงวันนี้ กระแสบริโภคในโลกเศรษฐกิจทุนนิยมเข้มข้น จนเห็นปัญหาการกินอยู่ที่ถอยห่างจากธรรมชาติมากขึ้นทุกที การเลี้ยวกลับ ด้วยการทำให้ผู้คนตระหนักถึงพิษภัยการบริโภคอาหาร จากสายการผลิตแบบอุตสาหกรรม ตั้งแต่ธุรกิจการเกษตรที่ผูกขาดโดยทุนขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อผืนดิน สายน้ำ อากาศ และปัญหาการถือครองที่ดิน ความล่มสลายของชีวิตชนบท  ทำให้หลายหย่อมย่าน ทั้งคนเมือง และชนบท เริ่มหันเหชีวิตมาสู่วิถีเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติมากขึ้น

    แต่ก็พบว่า ผลผลิต ข้าวปลาอาหาร ที่เกิดจากการเพาะปลูกด้วยความเอาใจใส่ กลับไม่มีที่ทางในตลาดแห่งความทันสมัย ผู้บริโภค และผู้คนที่ปรารถนาอาหารปลอดภัยเหล่านี้ กลายเป็นคู่ที่หากันไม่เจอ  “แม่สื่อทางการตลาด” จึงเกิดขึ้น นั่นคือ

    ตลาดนัดสีเขียว พื้นที่ที่ผู้ผลิต คนปลูก คนทำอาหารด้วยความเอาใจใส่ในเรื่องความปลอดภัย นัดกันเอาผลผลิตมาออกตลาด ขายให้ผู้บริโภคโดยตรง ตามวันเวลาและสถานที่ที่นัดหมายกัน เป็นการย้อนกลับไปสู่วิถีตลาดชุมชนแบบดั้งเดิม

     ซีเอสเอเกษตรแบ่งปัน (CSA – Community Supported Agriculture) ที่ผูกโยงกันระหว่างคนกินกับคนปลูก ก็เป็นอีกวิธี ที่ทำให้ผลผลิตอาหารปลอดภัย ได้ไปถึงมือผู้บริโภค  นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มกันของผู้บริโภคเพื่อสั่งซื้อผลผลิตร่วมกัน

    เราจะเรียกการตลาดแบบนี้ว่า Mindful Markets หรือ “ตลาดที่มีจิตสำนึกอย่างใหม่” ซึ่งเป็นการค้าขายกันบนความเข้าใจ ระหว่างคนผลิต กับคนกิน ผู้ผลิต เกษตรกร ทุ่มเทความใส่ใจในการผลิตอาหารปลอดภัย ในขณะที่ผู้บริโภค ก็รับรู้ในความตั้งใจ ใส่ใจนั้น และไม่เพียงแต่ให้การสนับสนุนอาหารปลอดภัยด้วยการพยายามหาซื้อมาบริโภคเท่านั้น ผู้บริโภคยังบริโภคผลผลิตด้วยความรู้สึกขอบคุณ สำนึกรู้ค่าในสิ่งที่เกษตรกรอุตสาหะผลิตอาหารให้ และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในเรื่องอื่นๆ นอกจากยอมจ่ายในราคาที่เป็นธรรม

    ทั้งหมดนี้ จะเป็นช่องทางนำพาอาหารปลอดภัยไปสู่มือของผู้บริโภค และทำให้เกษตรกร หรือฝากฝั่งของผู้ผลิต มีกำลังใจ เห็นความอยู่รอดของวิถีเกษตรธรรมชาติ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตอาหารทั้งระบบที่เกื้อกูลต่อทุกชีวิต

   พลังของผู้ผลิต ผู้บริโภคในหลายประเทศ ได้ขับเคลื่อนให้เกิดตลาดที่มีจิตสำนึก (Mindful Markets) “เราสร้างตลาดเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาเพียงการตลาดแบบทุนนิยมเท่านั้น” เช่น

   ญี่ปุ่น มีสหกรณ์ผู้บริโภคที่เรียกว่า “ไซคัทซึ” (Seikatsu Club Consumers' Co-operative Union) มากว่า 20 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่กว่า 3 แสนคน เป็นตลาดที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าที่มีการผลิตแบบเอาใจใส่ มีสินค้ามากมายตั้งแต่ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ผักและผลไม้ ไปจนถึงอาหารแปรรูปต่างๆ ทั้งเครื่องปรุงรส อาหารพร้อมรับประทานหลายรายการ

    จีน มีกลุ่ม Little Donkey Farm & CSA Movement  เป็นการรวมตัวของคนหนุ่มสาวที่หันหลังให้กับอาชีพการงานในเมืองที่วันๆ คร่ำเคร่งอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ แล้วเชื่อมโยงกับคนกินด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งส่งผักประจำแบบสมาชิก ไปจนถึงชักชวนคนรุ่นใหม่มาเป็นเกษตรกรวันหยุด

    ภูฐาน คนรุ่นใหม่ในประเทศนี้กำลังอพยพโยกย้ายละทิ้งถิ่นฐานและชนบทมาอยู่เมือง การอยู่ในหมู่บ้านเพื่อยึดอาชีพเกษตรเป็นเรื่องคร่ำครึล้าสมัย แต่ ‘ซังเก รินเชน’ หนุ่มหน้าใสจบจากวิทยาลัยการเกษตร กำลังใช้สื่อและโซเชียลมีเดียต่างๆ ส่งสารให้คนหนุ่มสาวเห็นความเท่ในอาชีพเกษตรกร

    ศรีลังกา มี Good Markets ตลาดที่ดีต่อคนกิน คนปลูกและสิ่งแวดล้อม

    ลาว ‘นงนุช ฟอบเปส อาญาเมือง’ แม่บ้านหนึ่งในกลุ่ม ‘ซาวบ้าน’ ที่เริ่มจากการทำโยเกิร์ตไว้กินเอง แล้วนำออกขายตามร้านค้าย่อย จนเติบโตขึ้นเป็นกิจการเพื่อสังคม และเป็นแหล่งเรียนรู้งานให้แก่อาสาสมัครทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งรับผู้พิการมาเป็นพนักงานด้วย

    กัมพูชา ‘CEDAC’ องค์กรพัฒนาเอกชนที่มุ่งเน้น ไม่แต่การพัฒนาเกษตรกรและผู้ผลิต แต่ยังเชื่อมช่องทางให้ผลผลิตสู่ตลาด รวมทั้งลงมือบุกเบิกตลาดด้วยตนเองจนมีร้านกรีนกระจายอยู่ทั่วกว่า 15 สาขา กลายเป็นจุดวางสินค้าอินทรีย์ที่สำคัญ

    อินโดนีเซีย La Vie Campacina ขบวนการขับเคลื่อนของเกษตรกรรายย่อยที่มีนัยยะสำคัญต่อการสร้างพลังให้แก่เกษตรกรแบบครัวเรือน ว่าคือความหวังของการผลิตอาหารที่กระจายตัวอยู่ในมือของคนเล็กคนน้อยจำนวนมหาศาล มิใช่อุตสาหกรรมอาหารที่มีการผูกขาดอยู่ในมือเพียงไม่กี่คน

    พม่า Tamarind Valley Farm (หุบเขามะขามหวาน) นำโดย ‘นอว์ออง’ ผู้ริเริ่มกลุ่มสมาชิกซีเอสเอเกษตรแบ่งปันรายแรกของพม่า

     สำหรับประเทศไทย เรามีตลาดนัดสีเขียวในหลายจังหวัด ซีเอสเอเกษตรแบ่งปันและการเป็นสมาชิกรับผลผลิตพืชผักอีกหลายกลุ่ม และกลุ่มผู้บริโภคที่ลุกขึ้นมารวมตัวกัน เพื่อสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตที่มีกระบวนการผลิตที่ใส่ใจ อาทิ กลุ่มผักอินทรีย์กัลยาณมิตร (แม่ทา เชียงใหม่) วิสาหกิจชุมชนคนสานใจไร้สารพิษ (ไทรน้อย นนทบุรี) กลุ่มข้าวเพื่อนชาวนา ฯลฯ

      นักสร้างตลาด Mindful Market เหล่านี้ จะมาบอกเล่าแบ่งปันเรื่องราวพลังของผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ประกอบการสังคมว่าลุกขึ้นมาสร้างตลาดด้วยตัวเองได้อย่างไร ในเวทีประชุม Mindful Markets ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2557 ในงานกรีนแฟร์ ครั้งที่ 7 ที่ มศว. ประสานมิตร

      สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ [email protected] หรือ inbox facebook.com/nongluk.sukjai หรือโทร. 081 423 9966

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!