WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การศึกษาโดยเทเลนอร์กรุ๊ปเผยประเทศไทย และมาเลเซียอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือสูงที่สุดในโลก

    ผลการศึกษาโดยเทเลนอร์ รีเสิร์ช ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยภายใต้เทเลนอร์กรุ๊ปพบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นคนหนุ่มสาวในประเทศไทยและมาเลเซียจะพึ่งพาโทรศัพท์มือถือของตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการในการเชื่อมต่อที่หลากหลาย โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเปิดรับและใช้บริการใหม่ๆ บนโทรศัพท์มือถือเร็วกว่ากลุ่มคนรุ่นเดียวกันในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย แบบแผนเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารเคลื่อนที่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      เทเลนอร์กรุ๊ปร่วมกับทีเอ็นเอส ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 16 – 35 ปีกว่า 2,600 คนในประเทศไทย มาเลเซีย สวีเดน และนอร์เวย์ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ โดยเทเลนอร์ให้คำจำกัดความกลุ่มคนเหล่านี้ว่า 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ซึ่งเป็นเสมือนผู้นำเทรนด์และการเคลื่อนไหวต่างๆ ในเรื่องเทคโนโลยีการสื่อสาร ทั้งนี้ เทรนด์และเทคโนโลยีที่พวกเขาเลือก มักจะถูกนำไปใช้ในการคาดคะเนถึงสิ่งที่จะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นของประเทศนั้นๆ ในอนาคต

     ในขณะที่ตลาดมือถือของสแกนดิเนเวียมีความก้าวหน้าอย่างมากในทุกกลุ่มผู้ใช้งาน และมีการดาวน์โหลดข้อมูลในปริมาณที่มากกว่า กลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้มือถือในไทยและมาเลเซียกลับมีแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างในประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ โดยผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารที่มีความหลากหลายมากกว่า

    “เราพบว่า การเลือกใช้แอพพลิเคชั่นและบริการล่าสุดบนมือถือของวัยรุ่นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ของเราบางส่วนในประเทศไทยและมาเลเซียกลายเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีและโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในโลกไปแล้ว” นายซิคเว่ เบรคเก้ รองประธานบริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป และเจ้าหน้าบริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย กล่าว “สิ่งนี้บ่งชี้ว่าโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเทคโนโลยีบนมือถือในตลาดเหล่านี้อาจจะมากกว่าที่เราเคยคาดการณ์ไว้”

      อินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นสิ่งสำคัญของ 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ ทั้งในไทยและมาเลเซีย ส่วนชาวสแกนดิเนเวียกำลังอุ่นเครื่องพร้อมรับการส่งข้อความและแชตผ่านอินเทอร์เน็ต

      แม้จะเป็นความจริงที่ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยและมาเลเซียไม่ได้เจริญก้าวหน้าไปกว่าประเทศนอร์เวย์หรือสวีเดน แต่ประเทศไทยและมาเลเซียก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะเปิดรับกับเทคโนโลยีและบริการทางอินเทอร์เน็ตใหม่ๆ มากกว่าประเทศนอร์เวย์และสวีเดน การค้นพบที่โดดเด่นจากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่

  • ·ร้อยละ 81 ของคนไทยและมาเลเซียใช้แอพพลิเคชั่นแชต (chat app) เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ในขณะที่คนสวีเดนและนอร์เวย์ใช้เพียงร้อยละ 44 และร้อยละ 57 เท่านั้น
  • ·ความนิยมในแอพพลิเคชั่นที่โด่งดัง เช่น Whatsapp, Line หรือ WeChatแตกต่างกันไปในสี่ประเทศนี้ โดยมีเพียง Facebook Chat  เท่านั้นที่ได้รับความนิยมเท่ากันในทุกประเทศ
  • ·บริการส่งข้อความสั้น (
  • ·การใช้แอพพลิเคชั่นส่งข้อความเติบโตรวดเร็วที่สุดในประเทศสวีเดน รวมไปถึงการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตอื่นๆ ได้แก่ การโทรศัพท์ วิดีโอคอลล์ การแชต และการโพสต์ข้อมูลผ่านโซเชี่ยลมีเดีย ก็เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาด้วย
  • ·81 percent of Malaysians and Thais use chat apps for daily communication, as opposed to 44 percent of Swedish and 57 percent of Norwegian respondents.
  • ·Well-known apps like Whatsapp, LINE or WeChat differ in popularity across the four markets, while the only app equally popular in all of the countries is Facebook Chat. Whatsapp and WeChat are top chat apps among Malaysia’s digital frontrunners while their Thai counterparts flock to Line and Facebook Messenger. Thailand is LINE’s 2nd largest global market.
  • ·SMS services still remain vastly popular in Malaysia, Sweden and Norway with approximately 70 percent of respondents sending them daily. In Thailand, on the other hand, only 31 percent of respondents use SMS at least once a day, partly due to the popularity of internet-based chat apps like LINE or Whatsapp.
  • ·The use of messaging applications grew the fastest in Sweden. All other Internet-enabled communications, including Internet voice, video calls, Internet chat and social media postings also rose in the past year and a half in Sweden.

Whatsapp และ WeChat เป็นแอพพลิเคชั่นแชตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในกลุ่ม 'ผู้นำเทรนด์ดิจิทัล’ มาเลเซีย ในขณะที่ชาวไทยนิยมแอพพลิเคชั่น Line และ Facebook Messenger มากกว่า โดยประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกที่มีการใช้งาน Line

     นายซิคเว่กล่าวเพิ่มเติมว่า "ความยืดหยุ่นที่คนไทยและมาเลเซียแสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์และการใช้บริการอินเทอร์เน็ตบนมือถือเป็นสิ่งที่น่าประทับใจมาก และมีความโดดเด่นกว่ากลุ่มคนในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของการใช้อิน​​เทอร์เน็ตผ่านมือถือในชีวิตประจำวัน ขณะที่เรากำลังมุ่งมั่นทำให้คนหลายล้านคนที่มีรายได้ต่ำในพื้นที่ชนบทของภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ราคาไม่แพงตามกลยุทธ์ Internet for All นั้น เราได้ตั้งความหวังไว้กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนที่เข้าใจและมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีในตลาดเอเชียด้วย เพราะพวกเขาสามารถแสดงให้เราเห็นว่า ผลิตภัณฑ์และบริการใดจะเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลายในระยะสั้นและระยะกลาง การทำความเข้าใจนิสัยและพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ยังช่วยให้เราสามารถระบุว่า ระบบนิเวศใหม่ๆ สำหรับธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศในตลาดของเราจะเป็นไปในทิศทางใดได้ด้วย”

ความแตกต่างของรูปแบบโซเชี่ยลมีเดียในตลาดสแกนดิเนเวียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      รูปแบบการใช้งานโซเชี่ยลมีเดียบนอุปกรณ์พกพามีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากในกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ ทั้งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดสแกนดิเนเวีย

ประเทศที่มีการใช้งานโซเชี่ยลมีเดียมากที่สุดคือประเทศไทย โดยร้อยละ 72 ของกลุ่มตัวอย่างโพสต์ข้อมูลบนโซเชี่ยลมีเดียผ่านอุปกรณ์พกพาเป็นประจำทุกวัน  ตามมาด้วยประเทศมาเลเซียร้อยละ 58 ประเทศสวีเดนร้อยละ 30 และประเทศนอร์เวย์เพียงร้อยละ 11

ความแตกต่างทางพฤติกรรมในการโทรศัพท์ ส่งอีเมล์ และการโทรคุยแบบเห็นหน้า (video call)

     การโทรศัพท์ยังคงเป็นที่นิยมในทั้งสองภูมิภาค โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 84 ของประเทศไทย ร้อยละ 73 ของประเทศมาเลเซีย ร้อยละ 63 ของประเทศสวีเดน และร้อยละ 67 ของประเทศนอร์เวย์ จะทำการโทรออกอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียส่งอีเมล์ผ่านโทรศัพท์มือถือ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ส่งอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือร้อยละ 31 และร้อยละ 21 ตามลำดับ

     ในส่วนของการโทรคุยแบบเห็นหน้า ร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการดังกล่าว ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ใช้บริการนี้เพียงร้อยละ 14 และร้อยละ 4 เท่านั้น

ผลลัพธ์การใช้งานที่มากกว่าและสิ่งที่มีร่วมกัน

     การศึกษาสรุปได้ว่า ผู้นำเทรนด์ดิจิทัลในประเทศไทยและมาเลเซียใช้บริการการสื่อสารบนมือถือมากกว่าผู้นำเทรนด์ดิจิตอลในประเทศแถบสแกนดิเนเวียไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด เพราะพวกเขาเลือกที่จะสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มการให้บริการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอพลิเคชั่น โซเชี่ยลมีเดีย และการโทรศัพท์ อย่างไรก็ตาม การศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า ถึงแม้ประเทศไทยและมาเลเซียจะใช้บริการออนไลน์และแอพพลิเคชั่นหลากหลายมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ แต่กลุ่มตัวอย่างจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์กลับมีการดาวน์โหลดและใช้ปริมาณอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทยและมาเลเซียเป็นอย่างมาก

     นายโอเล่ คริสเตียน วาเซนเดน หัวหน้าวิจัย แผนกการแข่งขัน เทเลนอร์กรุ๊ปกล่าวว่า “สิ่งที่ทั้งสี่ประเทศมีร่วมกันก็คือความต้องการเข้าถึงข้อมูลประเภทวิดีโอและสื่อรูปแบบอื่นๆ ที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทัศนคติส่วนบุคคลที่มีต่อการเข้าสังคมและความสนุกสนานบนโลกออนไลน์เป็นตัวผลักดันให้เกิดการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือที่เรียกกันในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการสื่อสารว่า‘mobile Voice-over-IP (mVoIP – การสื่อสารด้วยเสียงผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย) ในส่วนของแอพพลิเคชั่นเพื่อใช้ส่งข้อความนั้น  ฟีเจอร์การสื่อสารเป็นกลุ่มและประสิทธิภาพในการทำงานของแอพลิเคชั่นเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความนิยมในการเลือกใช้บริการ”


Telenor Group study: Digital frontrunners in Thailand and Malaysia among world’s most mobile Internet-hungry

     A study released by Telenor Group’s research arm, Telenor Research, has found that young mobile Internet users in Thailand and Malaysia have rapidly adopted new mobile Internet services and rely on their mobile phones for an unexpectedly wide variety of connectivity needs. These patterns also reveal the massive business development potential Southeast Asia has in the mobile communications technology arena.

    The Telenor Group-TNS study was carried out on a sample of more than 2,600 people in Malaysia, Thailand, Sweden and Norway aged 16-35 years old who use Internet on their phones – a demographic Telenor identifies as ‘digital frontrunners.’In the technology and communication industry, this group is seen as a bellwether. The trends and technology they embrace can often be used to predict what will become popular in the wider community in their countries. While Scandinavia’s mobile market is already highly advanced in every demographic and consumes more overall data, this particular subset of users in Malaysia and Thailand is revealing itself to be more mobile Internet-oriented than their Swedish and Norwegian peers – using more communication platforms.“The progress we are seeing in the adoption of the latest mobile apps and services among youth in our Southeast Asian markets is rapid. Our digital frontrunners in Malaysia and Thailand are now some of the most tech- and mobile-savvy young people in the world,” said Sigve Brekke, Telenor Group EVP and Head of Asia Operations.

     “This indicates to us that the opportunities for sustained growth in the mobile technology space in these markets may be bigger than we expected,” he said. Mobile Internet a staple for Malaysian and Thai digital frontrunners; Scandinavians warm to Internet-powered messaging and chat

Despite the fact that Malaysia and Thailand’s ICT infrastructure is not as mature as that of Norway or Sweden, both markets demonstrated, by large margins, more openness to new technology and internet services. Most notable findings:

     “The flexibility that Malaysians and Thais show in leveraging and using mobile Internet is very impressive and surpasses even Scandinavia. It signifies the importance mobile Internet plays in their daily lives,” said Brekke. “While we continue to work to provide millions of low-income people in rural areas of South Asia and Southeast Asia with affordable Internet for All services, we are also keeping our fingers on the pulse of the technologically savvy youth in our Asia markets because they show us what products and services will be widely desired in the short- and mid-term. Understanding their habits also helps us to identify where new technology ecosystems may emerge in their markets,” he added. Scandinavian and Southeast Asian social media patterns worlds apart
Social media usage on mobile devices is vastly different between the studied Southeast Asian and Scandinavian markets.

     The most active country on social media is Thailand with 72 percent of those studied posting on social media through their devices daily, followed by 58 percent in Malaysia, 30 percent in Sweden and only 11 percent in Norway. Voice, email and video habits varied

Voice calls are still widely used in both regions, with 84 percent of Thais, 73 percent of Malaysians, 63 percent of Swedes and 67 percent of Norwegians making at least one phone call during the day.

50 percent of Thais and Malaysians exchange emails via mobile data compared to 31 percent of Swedes and 21 percent of Norwegians.

    As for video calls, more than 30 percent of Malaysians and Thais use the service, while only 14 percent of Swedes and 4 percent of Norwegians do the same. Outperformance and a common denominator

    The study concluded that across the range of mobile communications functions, Malaysian and Thai digital frontrunners out-use their Scandinavian counterparts in every category because they choose to communicate across a range of various platforms – apps, social media and voice. While those surveyed in Malaysia and Thailand use a wider range of services and applications than their Scandinavian peers, those surveyed in Sweden and Norway download and use significantly more data.

“What unites the four markets is that their digital frontrunners increasingly demand video and data-rich media. Personal attitudes towards socializing and having fun online are the main common drivers of mobile internet network use, known in the industry as ‘mobile Voice-over-IP’ (mVoIP). For messaging apps, group communication and efficiency are additional key-features driving popularity,” said Ole Christian Wasenden, Head Researcher in Telenor Group’s Competition division.

About Telenor Group

      Telenor Group is an international provider of tele, data and media communication services. Telenor Group has mobile operations in 13 markets in the Nordic region, Central and Eastern Europe and in Asia, as well as a 33-percent in VimpelCom Ltd., operating in 17 markets. Headquartered in Norway, Telenor Group is one of the world’s major mobile operators with 161 million mobile subscriptions. In all, Telenor’s Asian operations currently span six Asian markets with around 1.2 billion people.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!