WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BifCจรยา จราธวฒนกลุ่มค้าปลีกวอนรัฐยืดเวลา'ช็อปช่วยชาติ'ถึงกลางปี

    แนวหน้า : นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า ภายหลังรัฐบาลประกาศใช้มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2558 (ช็อปช่วยชาติ) โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการภายในประเทศ ระหว่างวันที่ 25-31 ธ.ค. ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทำให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในช่วงระยะเวลา 7 วัน มีการจับจ่ายเพิ่มขึ้น 20% หรือคิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านบาท ส่งผลให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยรวม 125,000 ล้านบาท โดยในช่วงเวลาดังกล่าวกลุ่มค้าปลีกประเภท "ซูเปอร์มาร์เก็ต" มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด ขณะที่กลุ่มสินค้าคงทนถาวรเป็นกลุ่มที่มีการซื้อขาย มากที่สุด ทั้งนี้จากนโยบายดังกล่าวส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมค้าปลีกปี'58 มีอัตราการเติบโตขึ้น 3.05% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.8% ซึ่งในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมดังกล่าวมีมูลค่า 3.22 ล้านล้านบาท

     "ช่วงปี'57-กลางปี'58 นับว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ที่ธุรกิจ ค้าปลีกไทยทั้งรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ ประสบปัญหาการเติบโตที่ชะลอตัว จนถึงขั้นติดลบ สาเหตุหลักเนื่องจากกำลังซื้อบางส่วนที่อ่อนแอ และการ จับจ่ายใช้สอยที่มาตรการช็อปช่วยชาติ ช่วยให้ตลาดค้าปลีกกลับมาเติบโต อีกครั้ง สมาคมค้าปลีกไทย ขอสนับสนุนภาครัฐให้ดำเนินมาตรการดังกล่าวต่อไปในช่วงครึ่งปีแรก ทั้งนี้เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย"

      อย่างไรก็ดีแม้ว่าผู้ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้จะมีราว 3.2 ล้านคน จากฐานผู้เสียภาษี 9.6 ล้านคน (ข้อมูลปี 2556) แต่ก็เป็น 3.2 ล้านคน ที่ยังมีกำลังซื้อที่แข็งแรง มาตรการกระตุ้นการบริโภคผ่านภาคการค้า (ค้าปลีก ค้าส่ง และ ภัตตาคาร ร้านอาหาร ที่อยู่ในระบบภาษี) เป็นช่องทางที่ส่งผลให้เม็ดเงินหมุนเวียนในวงจรเศรษฐกิจถึงกว่า 2-3 เท่า เนื่องจากภาคการค้า มีการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม ถึงกว่า 3.5 ล้านคน และมีผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน Supply chain ถึงกว่า 1.5 ล้านครัวเรือน

  นางสาวจริยา กล่าวอีกว่า จากการคุยกับทางสมาชิกในปีนี้กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกยังคงเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องหรือประมาณ 40,000 ล้านบาท ซึ่งสมาคมต้องการให้กำลังซื้อต่างประเทศเข้ามาใช้จ่าย ในเมืองไทยให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันต่างประเทศใช้จ่ายภายในเมืองไทย น้อยกว่า สิงคโปร์ 2 เท่า และ ฮ่องกง 4 เท่า จึงอยากเสนอให้ภาครัฐออกมาตรการลดหย่อนภาษี สินค้าจำพวกแฟชั่น เพื่อจับตลาดกลุ่ม นักช็อปประเทศจีน, รัสเซีย, อินเดีย และ อินโดนีเซีย ขณะเดียวกัน รัฐควรสนับสนุนสินค้าแบรนด์ไทย, OTOP และ SME เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าต่างประเทศรับรู้ภายหลังการเปิด AEC

    "ทิศทางเศรษฐกิจปี 2559 เชื่อว่า น่าจะดีขึ้นกว่า ปี 2558 ซึ่งกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมุ่งเน้นไปที่กลไกภาครัฐเป็นหลัก นับตั้งแต่ การลงทุน Mega Project และสร้างมาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนลงทุนต่อเนื่อง ในส่วนภาคค้าปลีกเอง ก็ยังต้องอาศัยกำลังซื้อและการบริโภคภายใน เป็นหลัก ซึ่งก็ยังคงต้องใช้เวลาในการสร้างงานสร้างรายได้ลงสู่รากหญ้า โดยในปีนี้ตนเชื่อว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกจะเติบโตขึ้น 3.5%"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!