WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1ซ.พอนเตอรเทรด

ตราฉัตร แตกไลน์ผลิต-ข้าวญี่ปุ่นวางเป้า 5 ปียอดขายไม่ต่ำกว่า 100 ล.

       บ้านเมือง : นายฐิติ ลุจินตานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด (ข้าวตราฉัตร) เปิดเผยว่า กระแสความนิยมบริโภคอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีการขยายตัว 5-10% ต่อปี และปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย โดยมีมูลค่าตลาดรวม 22,000 ล้านบาท เติบโต 10-15% ต่อปี และประเทศไทยยังมีร้านอาหารญี่ปุ่นมากติดอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน จากอัตราที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบประกอบอาหารญี่ปุ่นจำนวนมาก

     บริษัท ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด (ข้าวตราฉัตร) เล็งเห็นโอกาสในตลาดข้าวญี่ปุ่นตลาดเฉพาะกลุ่ม ที่มีศักยภาพในเติบโตต่อเนื่อง จึงได้มีการศึกษา วิจัย พัฒนาโมเดลปลูกข้าวแบบใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง และจับมือร่วมกับชาวนา ผ่าน "โครงการส่งเสริมปลูกข้าวญี่ปุ่น" เปิดตัว "ข้าวญี่ปุ่นตราฉัตร" ครั้งแรกของเมืองไทย ที่ผู้บริโภคจะได้รับประทานข้าวญี่ปุ่นคนไทยผลิต ที่แตกต่างจากข้าวญี่ปุ่นในเมืองไทยทั่วๆ ไป "อร่อยแบบต้นฉบับ เสมือนมีเชฟญี่ปุ่นมาปรุงเมนูถึงบ้าน" เพราะทุกๆ กระบวนการผลิต เรามุ่งมั่น พิถีพิถัน ใส่ใจในรายละเอียด จนได้เป็นเมล็ดข้าวญี่ปุ่นคุณภาพดี อีกทั้ง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในคุณภาพวัตถุดิบ เพราะมีแหล่งเพาะปลูกชัดเจน จากแปลงนาเกษตรกรสมาชิก และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิต

    นายไตรรัตน์ อุดมศรีโยธิน รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ความแตกต่างของข้าวญี่ปุ่นจากตราฉัตร เริ่มจากการคัดเลือกพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นแท้ๆ คุณภาพดี ที่ได้รับการรับรองจากศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย กรมการข้าว ว่าเหมาะสมที่สุดกับภูมิอากาศ ภูมิประเทศของประเทศไทย จนได้มาซึ่งพันธุ์ข้าวญี่ปุ่น "อะกิตะโคมาชิ หรือ ก.วก.2 " พันธุ์ที่นิยมปลูก ติดอันดับ Top 5 ในประเทศญี่ปุ่น และเพาะปลูกจากแปลงนาของเกษตรกรสมาชิก ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกข้าวญี่ปุ่น กับทางบริษัท ได้แก่ อำเภอพาน อำเภอเวียงชัย และอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เพราะมีลักษณะภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ที่ใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่น และมีแหล่งชลประทานที่สมบูรณ์ รวมกว่า 2,409 ไร่ ในฤดูนาปรัง ปีการผลิต 58 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค.58 ทั้ง 3 อำเภอ รวมทั้งสิ้นเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 274 ราย และในฤดูนาปี ปีการผลิต 58/59 ตั้งแต่เดือน ก.ค.-ต.ค.58 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 408 ราย รวมกว่า 3,790 ไร่ บริษัทได้เข้ามาช่วยเกษตรกรสมาชิกในโครงการดูแลเรื่องระบบบริหารจัดการเกษตร ตั้งแต่ถ่ายทอดความรู้วิธีปลูกข้าวญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตคุณภาพดี ราคาสูง โดยนักวิชาการเกษตร คอยให้คำแนะนำทุกขั้นตอน

     "สำหรับ เกษตรกรที่ปลูกข้าวสายพันธุ์ อะกิตะโคมาชิ หรือ ก.วก.2 จะใช้ต้นทุนการเพาะปลูกต่อไร่ประมาณ 5,400 บาท รวมค่าเมล็ดพันธุ์และการเพาะปลูกต้นกล้าแล้ว โดยเฉลี่ยเกษตรกรจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 3,000-4,000 บาทต่อไร่ จะขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ในแต่ละฤดู ถึงแม้ต้นทุนในการเพาะปลูกจะสูงกว่าการปลูกข้าวทั่วไป แต่เมื่อคิดเป็นรายได้แล้วเกษตรกรจะมีรายได้ที่สูงกว่า" ด้านนายยงยุทธ พฤกษ์มหาดำรง รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า ตลาดข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณ 1,300 ล้านบาท ซึ่งมองว่ายังมีโอกาสเติบโตสูง โดยตั้งเป้าหมายภายใน 5 ปีหลังจากนี้ จะทำยอดขายไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งในตลาดข้าวญี่ปุ่นภายในประเทศ 10% และมียอดส่งออกไม่ต่ำกว่า 50 ประเทศทั่วโลก แต่ระยะแรกจะเป็นประเทศในแถบเอเซียก่อน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!