WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Teeradet

การซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกผ่านช่องทางหลากหลายกำลังเติบโตในประเทศไทยในอัตราร้อยละ 306 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

      ผลสำรวจจากดันน์ฮัมบี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการเติบโตสำหรับการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกผ่านความหลากหลายของช่องทางการจัดจำหน่าย (multichannel) ซึ่งเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทย

                o   การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกผ่านความหลากหลายของช่องทางการจัดจำหน่าย (multichannel) ทำให้การซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกทั้งทางออนไลน์และหน้าร้านเติบโตถึงร้อยละ 97 และร้อยละ 89 ตามลำดับในตลาดเกิดใหม่

                o   การเติบโตในประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 306 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

                o   ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ผสม (Soft Drink) และเครื่องเขียนมีการเติบโตที่เร็วที่สุด

                o   ช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายไม่ได้ส่งผลประโยชน์แก่ทุกแบรนด์สินค้า

   ประเทศไทย, วันที่ 1 เมษายน 2558: จากผลสำรวจชิ้นใหม่โดยดันน์ฮัมบี้ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคได้เผยว่าการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกโดยผ่านช่องทางที่หลากหลายกำลังขยายตัวทั่วโลก  ผลสำรวจชิ้นนี้ได้ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้คนจำนวน 7 ล้านคนใน 14 ประเทศในทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกาเหนือ

    ผลสำรวจชิ้นนี้ยังเผยถึงการเติบโตในอัตราที่สูงผ่านการพัฒนาตลาดที่หลากหลายช่องทางในบรรดาตลาดเกิดใหม่ อาทิประเทศไทยที่มีการเติบโตมากถึงสี่เท่าโดยเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา

   แม้แต่ร้านขายสินค้าออนไลน์ที่เพิ่งก่อตัวได้ไม่นานยังมีการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญทั่วโลกโดยสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด 3 ประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ได้แก่ เนื้อแช่แข็ง อาหารเด็กและผลิตภัณฑ์ดูแลเด็กและอาหารกระป๋องโดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ร้อยละ 21

    ผลการสำรวจยังได้เน้นถึงกลยุทธ์หลายช่องทางที่ได้รับการพัฒนาว่ามีความสำคัญต่อแบรนด์สินค้าอย่างไร จำนวนของผู้ค้าออนไลน์ส่วนมากจะเป็นผู้บริโภคหลายช่องทาง ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ยังคงยึดติดกับช่องทางออนไลน์

   ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ได้มีการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับการศึกษาในเรื่องนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทเบเกอรี่และเครื่องเขียนมีการเติบโตในอัตราที่สูงมาก (416% และ 619Y% ตามลำดับ) ในขณะที่คนไทยกำลังให้ความสนใจและยอมรับช่องทางออนไลน์มากขึ้น

   แบรนด์สินค้าต่าง ๆ มีแนวโน้มอย่างมากที่จะประสบความสำเร็จในกรณีที่กลุ่มตลาดเป้าหมายสอดคล้องกับความต้องการของผู้ค้าออนไลน์โดยทั่วไปแล้วคือกลุ่มผู้บริโภคที่อายุน้อยและมีรายได้สูงและมีครอบครัวแล้ว

   ผลสำรวจชิ้นนี้ยังได้ชี้ให้เห็นว่าแบรนด์สินค้าแต่ละชนิดจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตจากช่องทางหลากหลายอย่างไม่เท่าเทียมกันโดยร้านค้าออนไลน์จำนวนมากได้ประสบภาวะการลดลงในประสิทธิภาพการขายสินค้าออนไลน์หรือการเติบโตของการขายสินค้าออนไลน์ที่ต่ำกว่าการขายผ่านหน้าร้าน

   นายธีรเดช ดำรงค์พลาสิทธิ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม บริษัท ดันน์ฮัมบี้ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผลสำรวจแสดงชี้ได้ชัดว่าผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีการซื้อสินค้าในขณะที่ร้านค้าออนไลน์ได้กลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคชาวไทยก็จะยังคงมองหาทางเลือกที่มาพร้อมกับการช่องทางการซื้อสินค้าที่หลากหลายและแบรนด์สินค้าจำเป็นที่จะยืดหยุ่นและคว้าทุกโอกาสที่เข้ามา”

   Global Trends Units จากดันน์ฮัมบี้ได้ระบุถึงเทรนด์ของลูกค้าที่จะช่วยกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมค้าปลีก งานสำรวจชิ้นนี้ได้ใช้ฐานข้อมูลเชิงพฤติกรรมและทัศนคติของดันน์ฮัมบี้ที่ทำการสำรวจลูกค้าจำนวนกว่าพันล้านคนทั่วโลกในการช่วยตัดสินใจสำหรับการพัฒนาแผนกลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้า ผลสำรวจสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.dunnhumby.com/uk/multichannelmovement

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทดันน์ฮัมบี้

     บริษัทดันน์ฮัมบี้ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำที่ทำการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค เราได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลเชิงลึกจากลูกค้ามากกว่า 700 ล้านคนทั่วโลก มาปรับใช้ในการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าและรักษาความจงรักภักดีสำหรับลูกค้า ข้อมูลเชิงลึกและกระบวนการเชิงกลยุทธ์ของเราช่วยให้ลูกค้าได้เปรียบสำหรับการแข่งขันในตลาดและก่อให้การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันดันน์ฮัมบี้มีพนักงานจำนวน 3,000 คนในทวีปยุโรป เอเชียและอเมริกาและให้การบริการแก่ลูกค้าชั้นนำต่าง ๆ ได้แก่ Tesco The Kroger Coca-Cola Macy's Procter & Gamble และ PepsiCo สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.dunnhumby.com 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!