WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เอ็นฟอร์ซ ประกาศทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2558 มุ่งขยายฐานธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ ตั้งเป้ารายได้โต 15%

   เอ็นฟอร์ซ เผยนโยบายการดำเนินธุรกิจปี 2558 มุ่งขยายฐานธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ เน้นเจาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านเครือข่าย และการเร่งความเร็วบนระบบเวอร์ชวล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งเป้ารายได้โต 15 เปอร์เซ็นต์

    นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัดผู้นำด้านการจัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจรในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2557 ที่ผ่านมานี้ บริษัทฯ ยังประสบความสำเร็จด้วยดี เนื่องจากบริษัทฯ ได้เข้าไปช่วยสนับสนุนการทำงาน สร้างความแข็งแกร่งให้กับพาร์ทเนอร์ ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นที่ต้องการของตลาดและตรงใจลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรมให้สามารถขยายตลาดเข้าไปในช่องทางอื่นๆ ได้

   โดยในปี 2558 บริษัทฯ มีนโยบาย และกลยุทธ์การทำธุรกิจที่จะมุ่งขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยเน้นเจาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางด้านเครือข่าย และการเร่งความเร็วบนระบบเวอร์ชวล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆ ให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ กลุ่มภาครัฐ และสถาบันการเงิน

   ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนการทำตลาดที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญลูกค้าเป็นหลัก เน้นตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า มีพาร์ทเนอร์ให้ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม และทำราคาที่ลูกค้าสามารถจับต้องได้ ตลอดจนเปิดให้บริการ คอล เซ็นเตอร์ ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ที่ 15 เปอร์เซ็นต์

    นอกจากนี้ นายนักรบ กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวโน้มเทคโนโลยีไอที ซีเคียวริตี้ที่มาแรงในปี 2558 ที่ น่าจับตามองคือ

     คลาวด์ ซีเคียวริตี้ (Cloud Security) ปัจจุบันทุกคนมีอุปกรณ์โทรศัทพ์มือถือกัน ไม่ว่าจะเป็น โทรศัทพ์มือถือ แท็บเล็ต และแฟบเล็ต (สมาร์ทโฟน + แท็บเล็ต) ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีซีเคียวริตี้บนคลาวด์ ได้แก่ 1. การตรวจสอบหามัลแวร์ (Scan Malware) 2.การกำหนดสิทธิ์ต่างๆ ในการเข้าถึงข้อมูล เช่น การแชร์ไฟล์ สามารถแชร์ให้ใครได้บ้าง การตรวจสอบว่าไฟล์ถูกแชร์ให้ใครบ้าง เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่ตรวจสอบ จะทำให้ไม่ทราบว่าข้อมูลถูกสำเนาคัดลอก (Copy) นำออกไป(Move) ที่ไหน หรือมีการเปลี่ยนแปลง (Change) ไปอย่างไร เพราะเราต้องไม่ลืมว่าทรัพย์สินที่เป็นข้อมูลสามารถถูกคัดลอกขโมยไปแล้วแต่ก็ยังคงมีเก็บไว้อยู่ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความปลอดภัย

   แอพพลิเคชั่น และโมบาย แอพพลิเคชั่น ซีเคียวริตี้ (Application และ Mobile Application Security) เพราะหากไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งอาจมีช่องโหว่ขณะใช้งาน และจะให้ผู้ไม่หวังดีโจมตีมาที่แอพพลิเคชั่น และทำให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ ในขณะเดียวกันการโหลด แอพพลิเคชั่นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภัยต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นฟรี บนระบบแอนดรอยด์ ซึ่งอาจสามารถสร้างความเสียหายให้กับไฟล์หรือระบบปฎิบัติการของอุปกรณ์นั้นๆ ได้

     แซนด์บ็อกซิ่ง (Sandboxing) การใช้แซนด์บ็อกซิ่ง (Sandboxing) จะเป็นการจำลอง แอพพลิเคชั่นที่ทำงานอยู่บนหลายแพลทฟอร์มโดยเราสามารถนำไฟล์หรือแอพพลิเคชั่นนั้นมาทำ จำลองการทดสอบ (simulate test) บนแพลทฟอร์มต่างๆ อย่าง วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ และแอนดรอยด์ เพื่อจำลองไฟล์หรือแอพพลิเคชั่นที่ดาวน์โหลดมาจะมีผลกระทบอย่างไร เช่น อาจจะมีการเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ของผู้ไม่ประสงค์ดีที่ให้เราโหลดมัลแวร์ต่างๆเข้ามา

    การจัดการสิทธิ์ดิจิตอล หรือ DRMDRM เป็นการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ การนำDRM มาใช้ใน Personal Cloud นอกจากเป็นการเพิ่มรหัส (encrypt) ในระดับไฟล์แล้ว DRM ยังเป็นการรักษาข้อมูลในไฟล์ เพราะเราสามารถยกเลิกสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล ซึ่งทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีที่ได้ไฟล์ไป ไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ได้และเห็นไฟล์นั้นเป็นขยะ

     ไอที ซีเคียวริตี้ เอาท์ซอร์สซิ่ง หรือ แมเนจ ซีเคียวริตี้ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ (IT Security Outsourcing หรือ MSSP (Managed Security Services provider) หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับการทำเอาท์ซอร์สซิ่ง เนื่องมาจากองค์กรนั้นๆไม่นิยมจัดซื้ออุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์มาใช้ในแบบเดิม เพราะต้องใช้งบประมาณสูงและยังมีค่าบำรุงรักษา รวมไปถึงการขาดแคลนบุคลากรที่มีความชำนาญด้านอุปกรณ์นั้นจึงทำให้องค์กรในปัจจุบันเลือกที่จะใช้เอาท์ซอร์สซิ่ง ระบบสารสนเทศจากหน่วยงานภายนอก อย่างไรก็ตามการใช้เอาท์ซอร์สซิ่ง จำเป็นที่เราต้องเข้าใจความข้อดีข้อเสียของการใช้เอาท์ซอร์สซิ่งให้ดีเสียก่อน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!