WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ซีพีออลล์ มั่นใจธุรกิจค้าปลีกโต 5-10% แต่ละค่ายผุดโปรโมชั่นจูงใจผู้บริโภคจับจ่าย

    แนวหน้า : ซีพี ออลล์ เผยธุรกิจค้าปลีกปี’58 มีโอกาสโต 5-10% ด้วยแรงหนุนจากการบริโภคภายในประเทศ และการค้าชายแดน ท่องเที่ยว การอัดฉีดงบประมาณของรัฐบาล ขณะที่สินค้าสุขภาพกำลังมาแรง

    นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกทุนไทย เปิดเผยในงาน ส่องเทรนด์เศรษฐกิจ-ธุรกิจค้าปลีกปี 2558 ในยุคดิจิตอลว่า ธุรกิจค้าปลีกในปีนี้จะมีโอกาสเติบโตได้ราว 5-10% หรือเติบโตเป็น 2 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือเศรษฐกิจไทย ที่คาดจะเติบโตประมาณ 4% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการบริโภคภายในประเทศ และการค้าชายแดน

   ทั้งนี้ มองภาวะการบริโภคภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เห็นได้จากในช่วงเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ และเทศกาลตรุษจีน ที่ส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยอย่างมากตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน โดยปัจจัยที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกไทยนั้น จะมาจากธุรกิจการค้าชายแดน ในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) ซึ่งไทยมีการส่งออกสินค้าไปยัง ประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ มีมูลค่าการส่งออกเติบโตเฉลี่ยถึง 14-18% แม้จะมีสินค้าจากประเทศเวียดนาม และจีนเข้ามาแข่งขัน แต่สินค้าไทยยังถือว่าได้รับความนิยมอย่างมาก

   ขณะที่ภาคการท่องเที่ยว ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เศรษฐกิจมีความคึกคักอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาท่องเที่ยวของชาวจีน ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาเที่ยวในไทยราว 5.6 ล้านคน ส่งผลให้มีเงินสะพัด 2.4 แสนล้านบาท ประกอบกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง จะส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตและขนส่งให้ลดลงตามไปด้วย รวมไปถึงการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณค้างท่อของภาครัฐ กระตุ้นการใช้จ่ายให้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้การใช้จ่ายภาครัฐถือว่ายังมีไม่มากนัก ขณะเดียวกันก็จะมีการอัดฉีดเงินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องของราคายาง ราคาข้าว ส่วนปัจจัยที่ส่งผลด้านลบ มองว่าจะเป็นเรื่องของภาวะหนี้ภาคครัวเรือน และรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในระดับทรงตัว ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของการขยายตัวในธุรกิจค้าปลีกปีนี้

   นอกจากนี้ สภาวะการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีก มีแนวโน้มการขยายตัวโดยมุ่งเน้นร้านค้าขนาดเล็ก (คอนวีเนียนสโตร์) มากขึ้น ซึ่งไม่มีข้อจำกัดของพื้นที่ตั้ง ขณะที่ในร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ อย่างห้างสรรพสินค้า ได้มีการขยายตัวไปยังหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคยังมีกำลังซื้ออยู่ โดยกลยุทธ์การแข่งขันจะอยู่ในรูปแบบการออกโปรโมชั่นตลอดทั้งปีเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายของผู้บริโภค

    สำหรับ พฤติกรรมผู้บริโภคนั้น มองว่า มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญในสินค้าประเภทสุขภาพ และความงามเพิ่มมากขึ้นและเทรนด์การซื้อขายผ่านออนไลน์ จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการได้เข้ามารุกตลาด Digital Marketing เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ที่มีพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เนต 27 ล้านคน มีการใช้งานผ่าน Facebook 11.5 ล้านบัญชี ทำให้การค้าผ่าน Digital Marketing เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดีในปี 2557 ประเทศไทยมีมูลค่าการค้าปลีก ไม่รวมรถยนต์และปูนซีเมนต์ เติบโตราว 1.55 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมาจากสินค้าประเภท คอนซูเมอร์โปรดักส์ เป็นหลัก

ค้าปลีกเดือดยักษ์ใหญ่ทุ่มแข่ง 'สมภพ'แนะพัฒนาธุรกิจบริการ

  ไทยโพสต์ : สีลม *จับตาค้าปลีกเกิดศึกช้างชนช้างอัดโปรโมชั่นเดือด หวังรักษายอดขาย แนะรัฐปรับเกมพัฒนาและยกระดับภาคบริการของไทยทดแทนการส่งออก

   นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการค้าปลีกทุนไทย เปิดเผยในงาน เสวนา "ส่องเทรนด์เศรษฐกิจธุรกิจค้าปลีกปี 2558 ในยุคดิจิ ตอล" ว่า ข้อมูลจากหอการค้าไทยพบว่าอัตราการบริโภคของประชา ชนเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็น เพราะมีเทศกาลและวันหยุดยาวติดต่อกัน แต่ปัจจัยที่จะช่วยหนุนให้อุตสาหกรรมค้าปลีกมีการเติบ โตได้ดียิ่งขึ้นจะมาจากการค้าชาย แดน โดยที่ผ่านมาการส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 14-18%

  ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยว จากจีนก็เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ภาคของค้าปลีกไทยมีการ เติบโตสูงขึ้น โดยในปีนี้คาดการณ์ ว่านักท่องเที่ยวจากจีนจะเดินทาง เข้ามา 5.6 ล้านคน และจะสร้างเงินสะพัดได้ถึง 248,000 ล้านบาท รวมถึงภาครัฐก็มีการเร่งใช้งบประมาณผ่านโครงการต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่จะทำให้ภาคของธุรกิจค้าปลีกสามารถขยายตัวได้อีก หรือคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตราว 5-10%

   สำหรับ การขยายธุรกิจของผู้ประกอบการค้าปลีกในปีนี้ จะมุ่งเน้นการขยายในรูปแบบของร้านสะดวกซื้อเป็นหลัก โดยมีภาคส่วนของคอมมูนิตี้มอลล์ที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นบริเวณชานเมืองเป็นปัจจัยหนุนให้ผู้ประกอบการไปขยายธุรกิจตาม ขณะที่รายใหญ่ไม่ว่าจะเป็นทั้งในกลุ่มเดอะมอลล์ และกลุ่มเซ็นทรัล ต่างก็มีการลงทุนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

  "ตอนนี้ธุรกิจค้าปลีกจะปรับไปสู่การค้าแบบอี-คอมเมิร์ซ มากขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามอัตรการใช้สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตของคนไทยที่เพิ่มขึ้น และในปีนี้จะเห็นศึกช้างชนช้างเกิดขึ้น หรือการที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ในค้าปลีกทำโปรโมชั่นแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะแม้ว่ากำลังซื้อจะปรับตัวดีขึ้น แต่ก็ยังไม่มีข่าวดีที่จะ มีผลต่อกำลังซื้อมากนัก ทำให้ต้องทำโปรโมชั่นเพื่อรักษายอดขาย" นายสุวิทย์กล่าว

   นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เปิดเผยว่า โดยหลักพื้นฐานและด้วยศักยภาพของเมืองไทยที่เป็นจริงแล้ว มองว่าจีดีพีในแต่ละปีเฉลี่ยแล้วต้องมีการขยายตัว 5% แต่ระยะหลังมานี้การขยายตัวกลับลดน้อยลง ซึ่งประเทศไทยควรปรับเกมของเศรษฐกิจ ด้วยการหันมาให้ความสำคัญกับภาคบริการให้มากขึ้น ทดแทนจากการที่ปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญแต่เพียงการส่งออกเท่านั้น

   โดยภายใน 5 ปีนับจากนี้ ประเทศไทยต้องปรับให้ธุรกิจบริการให้ขึ้นมาเป็น 60% ของจีดีพี จึงจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ ต้องพยายามสร้างให้ประเทศไทยขึ้นเป็นศูนย์กลางที่มีความแข็งแกร่งด้านงานบริการ และหากได้พัฒนาบริการของประเทศให้ยกระดับดีขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากขึ้นด้วย ซึ่งก็จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต เพราะในความจริงในแต่ละปีควรมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเกินครึ่งหนึ่งของประชากรไทย ไม่ใช่แค่เพียง 25 ล้านคนเท่านั้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!