- Details
- Category: การตลาด
- Published: Tuesday, 17 February 2015 10:28
- Hits: 2100
เคเอฟซี ทุ่ม 2,700 ล้านบาท ปี 2558 ตั้งเป้าโต 10% เน้นชูนวัตกรรมสร้างประสบการณ์ใหม่ เปิดแนวรุกดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง ตอกย้ำผู้นำอันดับ1 ธุรกิจ QSR ที่ครองใจลูกค้ามานานกว่า 31 ปี
เคเอฟซี ผู้นำธุรกิจเชนร้านอาหารบริการด่วนของไทย ทุ่มงบกว่า 2,700 ล้านบาท ขยายสาขาและปรับปรุงร้าน ตั้งเป้าโต 10 % ในปี 2015 เร่งขยายสาขาให้ครบ 586 สาขา ชี้กุญแจสำคัญและแผนการขับเคลื่อนพัฒนาธุรกิจ เคเอฟซี ในปี 2558 เน้นพัฒนานวัตกรรมทุกด้านเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า เตรียมเปิดตัวเมนูใหม่ทุกเดือน พร้อมปรับโฉมพัฒนาไอทีเข้ามาส่งมอบบริการให้ลูกค้าอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รุกใช้ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำอันดับ1 ธุรกิจ QSR ที่ครองใจลูกค้ามานานกว่า 31 ปี
นางแววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้จัดการทั่วไปเคเอฟซี ประจำประเทศไทย บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “ในปี 2557 ที่ผ่านมา เคเอฟซีประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด มียอดขายเติบโตจากปี 2556 คิดเป็น 9% ทั้งนี้คาดว่าในปี 2558 นี้ เคเอฟซีจะสามารถมียอดขายเติบโต 10 % โดยมีแผนใช้งบลงทุนทั้งสิ้นเป็นเงินประมาณกว่า 2,700ล้านบาท มีเป้าหมายจะเปิดสาขาใหม่เพิ่มขึ้นอีก 55 สาขา ซึ่งจะทำให้เคเอฟซีมีสาขาทั้งสิ้นรวมจำนวน 586 สาขา ในปี 2558 สำหรับทิศทางธุรกิจในปีนี้ เคเอฟซี มีแผนการขับเคลื่อนพัฒนาธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมด้านอาหารและเมนูต่างๆ ของเคเอฟซี ที่ให้ความแปลกใหม่ทั้งในด้านรสชาติและประสบการณ์ของลูกค้าเตรียมเปิดตัวเมนูใหม่ทุกๆ เดือน ตอบสนองลูกค้าทุกกลุ่มของเคเอฟซี รวมถึงการเจาะตลาดกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทีมีไลฟ์สไตล์ชอบทดลองอะไรใหม่ๆ ชอบการสร้างประสบการณ์ที่ตื่นเต้นและบอกต่อความประทับใจผ่านสื่อโซเชียลมีเดียในยุคปัจจุบัน
“ในปีนี้ เคเอฟซีมีแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น โดยมีแผนการพัฒนาจุดบริการการรับออเดอร์และส่งมอบอาหารที่ใช้ชื่อว่า SOP Project (Speed up Ordering Process) เน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ในการให้บริการลูกค้า เพื่อสนับสนุนระบบการสั่งอาหารทั้งในส่วนการสั่งอาหารจากหน้าร้านและบริการจัดส่งถึงบ้าน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าให้ได้รับบริการที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของร้านเคเอฟซีให้สามารถรองรับลูกค้ามากขึ้น โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมทั้งพัฒนาระบบ e-commerce ที่ตอบสนองการสั่งซื้ออาหารทั้งในส่วนของการใช้บริการผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Mobile Devices) รวมถึงการวางรากฐานด้านเทคโนโลยีการสั่งอาหารให้สามารถต่อยอดในอนาคต เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างครบวงจร อาทิ loyalty program , e-coupon , CRM และรองรับ mobile take away ordering”นางแววคนีย์ กล่าว
นางแววคนีย์ กล่าวด้วยว่า ด้านกลยุทธ์การตลาด แบรนด์เคเอฟซี ยังคงมีนโยบายการสื่อสารทางการตลาดไปยังลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งมีแผนทำตลาดและกิจกรรมส่งเสริมการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ พร้อมรุกตลาดด้านดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างปฏิสัมพันธ์การสื่อสารโต้ตอบกันอย่างรวดเร็วระหว่างแบรนด์เคเอฟซีที่จะสื่อสารไปยังลูกค้า (Brand Engagement) โดยเชื่อมโยงการให้บริการการสั่งซื้อออนไลน์และจัดส่งถึงบ้านอย่างครบวงจร (e-commerce online ordering)นอกจากนี้ยังคงทำตลาดผ่านสื่อกระแสหลักควบคู่ไปด้วย เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารทางการตลาดของแบรนด์เคเอฟซีไปยังลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหมที่มีไลฟ์สไตล์ ชีวิตเคลื่อนที่ เข้าถึงสื่อใหม่ๆได้ทุกที่ทุกเวลา เข้าถึงสื่อโชเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Fanpage , LINE Appreciation และ Instagramเป็นต้น ขณะเดียวกัน แบรนด์เคเอฟซี ยังคงให้ความสำคัญกับชุมชนที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย โดยมุ่งดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการจัดโครงการ CSR ร่วมกับชุมชนมากมาย อาทิ โครงการ KFC 7Shoot 2015 แข่งขันฟุตบอลเยาวชน 7คนที่ใหญ่ที่สุดของประไทย และโครงการระดมทุนร่วมกับลูกค้าเคเอฟซีในการสนับสนุนความด้านอาหารต่อสู้กับความอดอยากหิวโหยทั้งในระดับประเทศไทยและนานาชาติ (World Hunger Relief) เป็นต้น
นอกจากนี้ จากผลวิจัยที่ทำการสำรวจโดย มิลวาร์ดบราวน์ประเทศไทย (MillwardBrown Thailand) ซึ่งเป็นตัวเลขอ้างอิงจากส่วนแบ่งของจำนวนการเข้าไปใช้บริการในร้านอาหารที่มีสาขาในระยะเวลาสามเดือนที่ผ่านมา ระยะเวลาสำรวจข้อมูล: 6 มกราคม 2014 – 4 มกราคม 2015 จำนวนผู้ตอบแบบสำรวจทั้งสิ้น 4,067 คน พบว่า เคเอฟซี ยังคงครองความเป็นผู้นำตลาด โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาด 51% ของร้านอาหารที่มีสาขาอยู่ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า โรงหนัง หรือไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย (Total chained restaurants in Thailand)