- Details
- Category: การตลาด
- Published: Friday, 27 March 2020 12:17
- Hits: 4201
นันยาง X ฮัมมิ่งเบิร์ด เจาะลึกความคิดเด็กไทยวัยประถม
ในโปรเจคพิเศษ ‘Inside Thai Kids’ ถอดรหัสลับเจาะลึกสู่ความคิดที่ผู้ใหญ่ไม่เคยรู้
ไฮไลท์กับอินไซด์เปิดตัวสุดฮอต ‘เด็กไทยคิดยังไงกับ COVID-19’
นันยางสร้างตำนานบทใหม่อีกครั้ง ล่าสุดจับมือฮัมมิ่งเบิร์ด รีเสิร์ช แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอนซัลแทนส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการหา insight เพื่อออกแบบกลยุทธ์การตลาด พัฒนาโปรเจควิจัยเฉพาะกิจ ‘นันยาง X ฮัมมิ่งเบิร์ด Inside Thai Kids’ เจาะลึกแนวคิดของเด็กไทยวัยประถม ที่พร้อมจะนำเสนอวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับเด็กไทยในทุกไตรมาสตลอดปี 63 นำร่องด้วยประเด็นหยุดโลก ‘เด็กไทยคิดยังไงกับ COVID-19’ ที่ทำให้เห็นว่า ‘ทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเสมอ’ และที่สำคัญเราจะเห็นชัดเจนว่า ‘เด็กไทยมีศักยภาพกว่าที่คิด’
ผู้ใหญ่คิดไม่ถึง! เด็กมอง COVID-19 คือวัคซีนช่วยกระชับสัมพันธ์ในครอบครัว
ช่วงการระบาดของ COVID-19 พ่อแม่ส่วนใหญ่ต้อง work from home มากขึ้น ซึ่งลูกๆ ไม่ค่อยได้เจอสถานการณ์แบบนี้ ที่พ่อแม่มีเวลาให้เป็นพิเศษ แน่นอนก็ท้าทายพ่อแม่เช่นกัน ว่าจะทำกิจกรรมอะไรในบ้านดี ตอนนี้ธุรกิจที่เป็นพวก อาหาร ความบันเทิงในครอบครัว จึงมาแรง สำหรับเด็กๆ จึงรู้สึกดีใจที่พ่อแม่มีเวลาเล่น ทำกิจกรรมด้วยมากเป็นพิเศษ จึงเป็นช่วงเวลาคุณภาพกับครอบครัวอย่างแท้จริง
ปัจจุบันข่าวส่วนใหญ่พูดถึงแต่มุมผู้ใหญ่ต่อสถานการณ์นี้ เรามาฟังมุมเด็กประถมบ้างดีกว่า ว่าเขาคิดเห็นอย่างไร
• รู้สึกน่าเบื่อ มากกว่า น่ากลัว
โลกวัยเด็กนั้นสดใสกว่าผู้ใหญ่มาก ความกลัวของโคโรน่าไวรัสยังไม่รุนแรงเท่าผู้ใหญ่ ถึงแม้เด็กๆ จะเริ่มติดตามข่าวแบบผู้ใหญ่ที่เราเป็นกัน แต่ความกลัวนั้นยังไม่มากเท่ากับผู้ใหญ่เรา ในมุมเด็กๆ จึงรู้สึกเบื่อ มากกว่ารู้สึกกลัว เนื่องจากถูกควบคุมไม่ให้ออกจากบ้านเลย และไม่ได้เจอเพื่อนๆ รวมถึงทำกิจกรรมนอกบ้านอีก
• เริ่มเห็นคุณค่าของบางสิ่งมากขึ้น
ในวิกฤตชีวิตย่อมมีโอกาสเสมอ ในเวลานี้ก็เช่นกัน สถานการณ์นี้สอนเด็กๆ ได้เห็นมุมใหม่ๆ ด้วย คือ อิสรภาพและการไปโรงเรียนนั้นมีค่ามากขึ้น เนื่องจากหลายคนไม่ได้เจอเพื่อนๆ เลย ไม่ได้ทำกิจกรรมกับคนนอก เริ่มเห็นแล้วว่าโชคดีแต่ไหน เวลาได้ใช้ชีวิตในโรงเรียนและสนุกกับเพื่อนๆ ได้ เปิดเทอมนี้ครั้งนี้จึงน่าจะเป็นสิ่งที่เด็กๆ รอคอยมากกว่าปกติ
• ดูหนัง เล่นเกมส์ จนเบื่อแล้ว
ตอนนี้พวกทีวีหรือ Content streaming ต่างๆ เป็นตัวช่วยหลักของครอบครัว เด็กมีเวลาดูสื่อเหล่านี้มากขึ้น เรียกว่าไล่ดูจนเริ่มหมด และเกมส์ก็เป็นอีกทางเลือกในการฆ่าเวลา ดังนั้นความท้าทายของครอบครัวคือ จะให้เด็กๆ จัดสรรเวลาเหล่านี้ให้พอดีอย่างได้อย่างไร ทั้งเล่น ทั้งเรียนรู้ และ สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
ดังนั้นสำหรับครอบครัว ขอให้ทุกครอบครัวใช้โอกาสนี้เป็นพลังบวก ผ่านเวลาที่ยากลำบากด้วยกัน โดยการสร้างเวลาที่มีคุณภาพกับเด็กให้มากที่สุด อย่าปล่อยให้เด็กตามล่าความฝันคนเดียว เพราะจริงๆ แล้ว ‘เขาต้องการพ่อแม่มาช่วยดูแลด้วย’
ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร? ถึงจะมัดใจเด็กในช่วง Covid-19
จังหวะนี้คือนาทีทองของ ‘สินค้าและบริการที่มาพร้อม solution’
เพราะการช่วยแก้ปัญหาที่เด็กและพ่อแม่คับข้องใจและช่วยแก้ไขให้สถานการณ์ในช่วงนี้ดีขึ้นได้ คือทางสู่ความสำเร็จ
• การสร้างความบันเทิงหรือกิจกรรมในบ้านเพื่อสมาชิกในครอบครัว คือ สิ่งที่ทุกครอบครัวมองหาหลังจากมีนโยบายทำงานที่บ้านและไม่ให้ออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น
- ธุรกิจเกี่ยวข้องโดยตรงนี่คือโอกาสที่ดีเลย เช่น content, boardgame, online game, เครื่องออกกำลังกายแบบที่เล่นได้ในครอบครัว, ของเล่นหรืออุปกรณ์ที่สร้างกิจกรรมให้เด็กๆ เป็นต้น
- ถึงแม้บางแบรนด์จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ยังมีโอกาสสำหรับแบรนด์อยู่เสมอ โดยต้องคิดว่าแบรนด์มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาด้านนี้ได้อย่างไร เช่น แบรนด์ของอาหารยี่ห้อหนึ่ง สร้าง content ให้ครอบครัวสั่งอาหารแบบ half-cook ไปปรุงกันเองในบ้าน เพื่อสร้างความสนุกในครอบครัวและเป็นกิจกรรมให้เด็กๆ การดูแลสุขภาพ ตอนนี้ยอดสั่งซื้อพวกผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคทุกรูปแบบ หรือ บริษัททำความสะอาดที่เน้นการฆ่าเชื้อโรค รวมถึง อาการเสริม วิตามิน รวมถึงการออกกำลังกายของค่ายต่างๆ ที่ปรับตัวมาอยู่ที่ออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นต้องตั้งคำถามว่าแบรนด์เรามีส่วนช่วยในด้านสุขภาพได้อย่างไรบ้าง ?
• ปรับการทำงานใหม่ๆ ธุรกิจของคุณยังคงเป็นที่ต้องการแต่คนออกจากบ้านไม่ได้ ดังนั้นแบรนด์ต้องปรับตัวในการทำงาน เช่น ร้านตัดผมที่มีการตัดผมแบบ delivery หรือร้านต่างๆ ที่เข้าสู่ระบบออนไลน์กันมากขึ้น หรือแม้แต่ธุรกิจ delivery เองก็มีนโยบาย social distance เพื่อให้คนทำงานได้ทำงานแบบปลอดภัยและดูแลลูกค้าได้
“วิจัยในครั้งนี้จะทำให้เราทุกคนได้เข้าใจถึงความคิดของเด็กไทยมากยิ่งขึ้น” จักรพล จันทวิมล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด เปิดเผยถึง insight ที่ได้จากโปรเจคความร่วมมือกับ บังอร สุวรรณมงคล หัวเรือใหญ่ของฮัมมิ่งเบิร์ด บริษัทวิจัยเชิงอินไซต์ เพื่อลงสนามเจาะข้อมูลจากทั้งผู้ปกครองและเด็ก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเสนอเป็นแนวทางให้แก่สังคมไทยได้รู้จัก ‘เด็กไทยวันนี้’ มากยิ่งขึ้น
เด็กไทยมีศักยภาพกว่าที่คิด
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ชีวิตของเด็กๆ สมัยนี้ก็มุมที่เปลี่ยนไปเช่นกัน เพราะเด็กประถมที่เป็น Gen Z โตมาพร้อมเทคโนโลยี และความท้าทายทางสังคมทั้งด้านบวกและลบ จากการเจาะลึกกับกลุ่มเป้าหมายนี้ เราพบอินไซท์ที่น่าสนใจคือ
1. Young Entrepreneur: เด็กสมัยใหม่จะเริ่มลงมือทำงานเร็วขึ้น
ต้องถามผู้ใหญ่ก่อนว่าคุณเริ่มได้ลองทำงานเมื่ออายุเท่าไร? ปัจจุบันนี้โลกเปลี่ยนไปมากแล้ว จากการเข้ามาของอินเตอร์เน็ต ทำให้เด็กๆ หลายคนที่มีความสามารถหรือความสนใจแตกต่างกัน ได้แสดงออกมากขึ้นในโลกออนไลน์ และมีพื้นที่ทำให้เด็กได้ลองทำงานแบบเริ่มต้นได้หลายรูปแบบมากขึ้น ถึงแม้เด็กๆ ไม่ได้ทำแบบมืออาชีพมาก แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจเล็กๆ ที่ผู้ใหญ่ควรสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อสร้าง Young Entrepreneur ในประเทศไทย สำหรับแบรนด์ต่างๆ สามารถนำจุดนี้มาพิจารณาได้ ว่าเราจะมีส่วนในการผลักดันพลังเล็กๆ เหล่านี้ได้อย่างไร ? เพื่อให้เขาสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต
2. Chase The Dream: มีความฝันและติดตามคนที่ช่วยเติมเต็มความฝันเขา
ความฝันและจินตนาการของเด็ก หลายๆ ครั้งจะเจอการดับฝันจากผู้ใหญ่มาท้าทาย เช่น เป็นไปไม่ได้หรอก ไร้สาระ เด็กตัวเท่านี้ทำอะไรได้?
เด็กๆ หลายคนยอมรับว่า ตัวเองถูก “ตีค่า” ด้วยการวัดมาตรฐานความเก่ง ที่เกรดหรือคะแนนจากโรงเรียนเป็นหลัก ทำให้เด็กๆ ไม่ค่อยแน่ใจว่าความสนใจหรือความสามารถพิเศษที่ตัวเองกำลังพัฒนามันมีค่าพอไหมในสายตาผู้ใหญ่? เป็นมุมหนึ่งที่คนไทยและครอบครัวต้องตระหนัก ว่าเราพัฒนาเด็กแบบถูกทางหรือไม่?
เด็กในวัยประถมถึงแม้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของพ่อแม่อยู่มาก แต่ลึกๆ แล้ว ทุกคนจะมีความฝันหรือสิ่งที่ตนเองสนใจทั้งสิ้น และในวัยนี้เริ่มต้องการมี identity มากๆ ดังนั้นเขาอยากเป็น somebody มากกว่าแค่ nobody และสิ่งที่ช่วยเขาได้คือ ติดตามคนที่สามารถทำในสิ่งที่เขาอยากทำได้ เป็นเหตุผลที่เด็กๆ จะติดตาม รุ่นพี่ YouTuber หรือ Idol ต่างๆ ตามสาขาต่างๆ ที่เขาชื่นชอบ
ต้องกลับมาทบทวนว่า สำหรับครอบครัวและสังคม ปัจจุบันเราทำให้เขาได้เห็นแบบอย่างที่ดีหรือไม่ เราสนับสนุนให้เขาพยายามพัฒนาศักยภาพที่นอกเหนือจากวิชาการเพียงพอแล้วยัง รวมถึงชี้ให้เห็น “ความพยายาม” ไม่ใช่มองฉาบฉวยแค่ความสำเร็จหรือชื่อเสียงปลายทางเท่านั้น
สำหรับผู้อยากสร้างความผูกพันกับเด็กกลุ่มนี้ คุณสามารถมีส่วนในการให้เด็กได้ทำสิ่งที่ตัวเองรักได้ หรือได้ใกล้ชิด มีปฎิสัมพันธ์กับคนที่เขาชื่นชอบ เพียงแต่คุณต้องเข้าใจแต่ละ segment ว่าอะไรคือ Unmet needs ของ activities ที่เด็กๆ อยากได้
3. Boundless Learning Era: โรงเรียนคือโลกกว้าง
ตอนนี้โลกของการเรียนเปลี่ยนไปมาก เด็กๆ คิดได้และโตไวกว่าที่เราคิดเยอะ การเรียนในโรงเรียน หลายครั้งเด็กตั้งคำถามว่า เราเรียนไปเพื่ออะไร? เด็กๆ อยากเข้าใจการใช้งานจริง จึงหมดยุคการเรียนรู้แค่ในหนังสือหรือห้องเรียนแล้ว สิ่งที่เด็กๆ ชอบมากคือ การเรียนที่ได้ลงมือทำจริง
การเรียนรู้ปัจจุบันเปลี่ยนไปเพราะโลกออนไลน์ที่ช่วยให้ความรู้สามารถหาได้มากมายในโลกใบนี้ การเรียนยุคใหม่นอกจากสอนแนวคิดพื้นฐานแล้ว ต้องกระตุ้นให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่ตัวเองสนใจแล้วนำมาแลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกัน รวมถึงได้ลองไปทำจริง โดยมีครูหรือพ่อแม่เป็นคนช่วยสนับสนุน ดังนั้น จึงควรสร้างสรรค์มีวิธีการใหม่ๆ ในการ engage กับเด็กๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เช่นกัน อาจจะไม่ใช่ที่โรงเรียนเท่านั้นที่เป็นคำตอบในยุคนี้
ขอให้ทุกคนก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้ ทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ ใช้เวลานี้แสวงหาไอเดียใหม่ๆ และปรับตัวเพื่อพร้อมก้าวสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน ‘นันยาง...ทุกก้าวคือตำนาน’
ติดตาม Insight เด็กไทยวัยประถมกับโปรเจคพิเศษ ‘นันยาง X ฮัมมิ่งเบิร์ด Inside Thai Kids’ ได้ที่
Website: https://www.nanyang.co.th/
Social Media FB IG YT TWT : @NanyangLegend
AO3576
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web