WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaUBe

มูลนิธิซิตี้และยูเอ็นดีพี (UNDP) จัดการประชุมระดับภูมิภาคในกรุงเทพฯ ถกประเด็นความท้าทายเรื่องการว่างงานของเยาวชนในเอเชีย

      ยูธ โคแล็บ ซัมมิท (Youth Co:Lab Summit 2018) ประจำปี 2561 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความเป็นผู้นำของเยาวชน การประกอบกิจการธุรกิจและนวัตกรรมทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานของเยาวชนในภูมิภาค

      มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เปิดเวทีเสวนาระดับเอเชียแปซิฟิก ยูธ โคแล็บ ซัมมิท 2018 (Youth Co:Lab Summit 2018) พัฒนาเยาวชนเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมอย่างยั่งยืน และจัดการปัญหาเยาวชนว่างงานทั่วทวีปเอเชีย โดยมีตัวแทนเข้าร่วมกว่า 200 คน ทั้งนี้โครงการยูธ โคแล็บมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแล้วจำนวนกว่า 1,700 คน และมีธุรกิจเพื่อสังคมเกิดขึ้น จำนวนกว่า 140 ธุรกิจ โดยกิจกรรมในโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) เน้นพัฒนา ให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้คำปรึกษาแก่เยาวชนในด้านต่างๆ ตลอดจนการนำเสนอผลงานของตนเองบนเวทีเสวนาระดับเอเชียแปซิฟิก “Youth Co:Lab Summit 2018” ทั้งนี้ทีมที่ได้รับการคัดเลือกจากทั่วทวีปเอเชียแปซิฟิก มีจำนวน 21 ทีมจาก 9 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ มัลดีฟ เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน วานูอาตู หมู่เกาะโซโลมอน และจีน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 26-28 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ อาคารสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

      องค์กรแรงงานระหว่างประเทศระบุว่าเยาวชนประมาณ 71 ล้านคน ที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 24 ปีทั่วโลก กำลังว่างงานและมีจำนวนเยาวชนว่างงานถึง 33 ล้านคนทั่วเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากประชากรวัยหนุ่มสาวหรือเยาวชนของโลกเป็นประชากรเกือบหนึ่งในสี่ของประชากรโลก ประเด็นดังกล่าวจึงถือเป็นปัญหาเร่งด่วน แม้แต่ในบรรดาเยาวชนที่มีงานทำก็ตาม เยาวชนส่วนใหญ่ยังเผชิญกับปัญหาความยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง

     โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้เปิดตัวโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab) ขึ้นในปี 2560 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิซิตี้ โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งแก้ปัญหาทางสังคมและปัญหาการว่างงาน ด้วยการปลูกฝังความเป็นผู้นำให้แก่เยาวชน ในด้านการประกอบธุรกิจและพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้ โครงการยูธ โคแล็บ เป็นส่วนหนึ่งของซิตี้และโครงการเส้นทางสู่ความก้าวหน้า หรือ Pathways to Progress ของมูลนิธิซิตี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนในเมืองให้เจริญเติบโตตามเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยในปีแรกมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 1,700 คนและช่วยกันจัดตั้งหรือพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม 140 ธุรกิจ ด้วยความสำเร็จดังกล่าว โครงการฯ ซึ่งนำโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และมูลนิธิซิตี้จึงตั้งเป้าขยายโครงการฯ ให้เข้าถึง 16 ประเทศ ในปีหน้า

     ทั้งนี้ พิธีเปิดงานยูธ โคแล็บ ซัมมิท 2018 ได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.โสภณ นภาธร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายเฮาเหลียง ซู ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ช่วยผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) นางแบรนดี้ แมคเฮล ประธานมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) และผู้บริหารสายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ซิตี้ เข้าร่วมในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าวเมื่อเช้านี้ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ

       นายเฮาเหลียง ซู ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ช่วยผู้บริหารและผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กล่าวว่า “โมเดลการเสริมสร้างระบบนิเวศของโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab ) เป็นตัวผสานเยาวชน รัฐบาล และกลุ่มธุรกิจ ตลอดถึงศักยภาพของเครือข่ายสหประชาชาติเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่การพัฒนาระบบจัดหาเงินทุนไปจนถึงการส่งเสริม การพัฒนาธุรกิจหรือแนวทางด้านกฎหมาย พวกเรามุ่งมั่นที่จะนำเสนอธุรกิจทางสังคมที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศ”

       ด้าน นางแบรนดี้ แมคเฮล ประธานมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) และผู้บริหารสายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ซิตี้ กล่าวว่า “จุดมุ่งหมายของการประชุมครั้งนี้ คือการกระตุ้นเยาวชนในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ โดยการช่วยให้เยาวชนตระหนักและร่วมกันหาทางออกที่จะช่วยแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม การทำงานร่วมกันในโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co:Lab) ระหว่างมูลนิธิซิตี้และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในช่วงปีที่ผ่านมาสะท้อนถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ หากต้องการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2573”

     สำหรับ งานยูธ โคแล็บ ซัมมิท ในวันแรก มีการบรรยายจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียง อาทิ ดร.มีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ โจนาธาน วอง หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีและนวัตกรรม ของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ฟลอเรนเซีย สแปนกาโร ผู้บริหารโครงการของมูลนิธิซิตี้ ออเดรย์ เป ผู้ก่อตั้ง WiTech Phillipines และ Faiz Shah, ผู้อำนวยการของศูนย์ Yunus Center ใน the Asian Institute of Technology

     ทั้งนี้ งานซัมมิทดังกล่าวจะเสร็จสิ้นในวันพุธที่ 28 มีนาคม โดยจะมีการแข่งขันนำเสนอผลงานนวัตกรรมทางสังคมระดับภูมิภาคของเยาวชนในโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab) จำนวน 21 ทีมจาก 9 ประเทศ โดยคณะกรรมการประกอบไปด้วย David Galipeau, Chief Impact Officer, UNDP SDG Impact Finance; นางแบรนดี้ แมคเฮล ประธานมูลนิธิซิตี้ (Citi Foundation) และผู้บริหารสายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ซิตี้ ดร. ชินาวุธ ชินะประยูร อำนวยการ ด้านธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ; Elsie Tsui, Project Director, Hong Kong Social Enterprise Challenge; Sujiva Dewaraja, Former Executive Vice President, John Keells Holdings Sri Lanka และ นายจิรทัศน์ นิวัฒน์ภูมินทร์ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายปฎิบัติการ บางกอกโพสต์ (Assistant Chief Operating Officer, Bangkok Post)

      ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการยูธ โคแล็บ ได้โดยการติดตาม #YouthCoLab และ youthcolab.org.

 

หมายเหตุถึงกองบรรณาธิการ

        *ยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab) เปิดตัวในปี พ. ศ. 2560 และเป็นโครงการที่ประกอบด้วยการเสวนาระดับประเทศ (National Dialogues) และการแข่งขันประกวดนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation Challenges) เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้นำของเยาวชนโดยการปลูกฝังการประกอบธุรกิจของเยาวชนและนวัตกรรมทางสังคม โดยการอภิปรายระดับประเทศเป็นการเชิญผู้แทนจากภาคเอกชนและภาครัฐมาพูดคุยถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขที่สามารถพัฒนาการส่งเสริมระบบนิเวศสำหรับผู้ประกอบการเยาวชนในภูมิภาค การประกวดนวัตกรรมทางสังคมซึ่งจัดขึ้นในลักษณะเดียวกับ start-up hackathons จะช่วยให้เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการได้แสดงความสามารถด้านธุรกิจเพื่อสังคมที่มุ่งหวังช่วยแก้ไขปัญหาสังคมหลักๆ ในโลก

       ในปีแรกของการร่วมมือระหว่าง มูลนิธิซิตี้และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้เปิดตัวโครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab) ในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และจีน และในปัจจุบัน มีการก่อตั้งหรือพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมจำนวนกว่า 72 ธุรกิจในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ยังริเริ่มโครงการดังกล่าวในอีก 8 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ มัลดีฟส์ เนปาล ศรีลังกา ภูฏาน วานูอาตู หมู่เกาะโซโลมอน ปากีสถานและเวียดนาม

         ในปีแรก โครงการยูธ โคแล็บ (Youth Co: Lab) มีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 1,700 คนและช่วยจัดตั้งหรือพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมกว่า 140 ธุรกิจ   นอกจากนี้ยังมีการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนอีก 15 ราย

      ** Pathways to Progress เป็นแนวคิดหลักด้านการพัฒนาเยาวชนของมูลนิธิซิตี้ ให้ความสำคัญกับปัญหาการว่างงานของเยาวชนทั่วโลก ด้วยความพยายามของมูลนิธิซิตี้และการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงการโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครซิตี้ที่อุทิศให้กับโครงการ Pathways to Progress ซึ่งโครงการนี้ได้สนับสนุนเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปี เพื่อเสริมสร้างความคิดริเริ่มในการเป็นผู้ประกอบการ และการมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการจากการเริ่มต้นทำงานของเยาวชนเหล่านี้

        ในเดือนกุมภาพันธ์ปีพ. ศ. 2560 มูลนิธิซิตี้ได้ประกาศเจตน์จำนงค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับเยาวชนในเมืองด้วยการจะมอบงบประมาณ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โครงการพัฒนาเยาวชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนจำนวนกว่า 500,000 คนทั่วโลกในปีพ. ศ. 2563 และเพื่อสนับสนุนความพยายามเหล่านี้ ซิตี้ได้ระดมกำลังอาสาสมัครซิตี้กว่า 10,000 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่เยาวชน ให้พร้อมเดินหน้าสู่เป้าหมายการทำงานของพวกเขา

เกี่ยวกับ “มูลนิธิซิตี้”

     มูลนิธิซิตี้ มีบทบาทในการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนทั่วโลกให้ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึง การสร้างอาชีพสำหรับเยาวชน รวมถึงสร้างสภาพเศรษฐกิจของชุมชนที่ดีขึ้น นอกจากการให้ความช่วยเหลือแล้ว มูลนิธิซิตี้ ยังได้ใช้ความเชี่ยวชาญในฐานะสถาบันการเงินชั้นนำและความพร้อมของพนักงาน ที่สนับสนุนให้พันธกิจของบริษัทประสบความสำเร็จและขับเคลื่อนแนวคิดความเป็นผู้นำและนวัตกรรม ดูข้อมูลเพิ่มเติมของมูลนิธิฯ ที่ www.citifoundation.com

เกี่ยวกับ “ซิตี้”

       ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citigroup.com | ทวิตเตอร์: @Citi | ยูทูป: www.youtube.com/citi | บล็อก: http://new.citi.com | เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/citi | ลิงก์อิน: www.linkedin.com/company/citi

เกี่ยวกับ UNDP

        UNDP ดำเนินงานในประมาณ 170 ประเทศ เพื่อช่วยในการขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำและการแบ่งแยก และช่วยประเทศต่าง ๆ พัฒนานโยบาย ทักษะความเป็นผู้นำ ความสามารถในการสร้างพันธมิตร ความสามารถของสถาบันและสร้างความยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดผลการพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับโลกของเรา ที่องค์กร UNDP เห็นว่าเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่จะก้าวไปสู่วาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับโลก ในเดือนกันยายนปี 2558 ผู้นำโลกได้จัดทำวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อยุติความยากจนภายในปี 2573 เพื่อขจัดความยากจน ปกป้องโลก และเพื่อประชาชนทุกคนจะมีสันติภาพและความมั่งคั่ง  

     พวกเราสนับสนุนความพยายามของประเทศต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนใหม่หรือเป้าหมายระดับโลกซึ่งจะเป็นตัวกำหนดความสำคัญในการพัฒนาระดับโลกจนถึงปี 2573   UNDP มุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ สร้างและแบ่งปันแนวทางแก้ปัญหาใน 3 ประเด็นหลัก คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน การปกครองแบบประชาธิปไตยและการสร้างสันติภาพและการฟื้นตัวจากภัยพิบัติ ในกิจกรรมทั้งหมดนี้ พวกเราสนับสนุนให้มีการปกป้องสิทธิมนุษยชนและการเสริมสร้างพลังอำนาจของสตรี ชนกลุ่มน้อย และคนที่ยากจนและอ่อนแอที่สุด โครงการ Youth Co: Lab ดำเนินการโดยทีมผู้บริหารในศูนย์ภูมิภาคของ UNDP ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: http://www.asia-pacific.undp.org/

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!