- Details
- Category: Logistics
- Published: Saturday, 30 May 2015 10:14
- Hits: 2104
สรท.ชี้ 58 ส่งออกขยายตัว 0% ห่วงค้าชายแดนติดลบธปท.ลุ้นศก.ครึ่งหลังฟื้น
ไทยโพสต์ : สุขุมวิท * สรท.ชี้ปี 58 ส่งออกจ่อขยายตัวติดลบ เผยห่วงการค้าชายแดนเริ่มหดตัว ระบุสัญญาณอันตราย ด้าน หม่อมอุ๋ย-ประสาร" ชี้บาทอ่อนอุ้มส่งออก มองค่าเงินยังมีโอกาสอ่อนค่าต่อ ลุ้นเศรษฐกิจครึ่งหลังฟื้นตัวดีขึ้น
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน เม.ย.58 ปรับตัวลดลง 1.7% คิดเป็นมูลค่าที่ 16,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลทำให้การส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ขยายตัวติดลบที่ 3.99% คิดเป็นมูลค่า 70,265 ล้านเหรียญสหรัฐ และแม้การส่งออกในเดือน เม.ย.จะขยายตัวติดลบค่อนข้างน้อย แต่ฐานในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำ จึงยังต้องมีการจับตาสถาน การณ์อย่างใกล้ชิดและเร่งปรับตัวให้แข่งขันได้
"สรท.ยังคงประเมินภาพรวมการส่งออกในขณะนี้ทรงตัว ทั้งปีขยายตัวอยู่ที่ 0% และในช่วง 8 เดือนที่เหลือ มูลค่าการส่งออกจะต้องสูงถึงเดือนละ 19,663 ล้านเหรียญสหรัฐ หากน้อยกว่านี้ จะทำให้การส่งออก ขยายตัวติดลบ และที่น่าเป็นห่วงคอการค้าชายแดนที่มีสัญญาณไม่ดีนัก ซึ่งในช่วงเดือนมี เม.ย.ที่ผ่านมามีการติดลบที่ 1.18% และ 4 เดือนแรกของปีขยายตัว ติดลบ 1.98% ดังนั้นรัฐบาลต้อง เร่งแก้ไขกฎระเบียบเพื่อไม่ให้กระทบกับการค้าชายแดนในภาพ รวม ที่ตั้งเป้าหมาย 1.5 ล้านปี 2558 ติดลบถึง 4% ซึ่งมองว่าการอ่อนค่าของเงินบาทไม่ได้รวดเร็วเกินไป และยังอ่อนค่าลงได้อีกเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
นายประสาร ไตรรัตน์วร กุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประ เทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ช่วยบรรเทาภาระลูกค้าบางส่วน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งต้องดูแลเผื่อไว้เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีสายป่านสั้นอาจกระทบสภาพคล่องได้ เพราะขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในตลาดโลกและไทยยังต้องใช้เวลาฟื้นตัว สิ่งใดที่ดำเนินการช่วยประคับประคองได้ก็จะช่วยทำ
ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจใน ไตรมากแรกของปี 2558 ที่สำนัก งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ระดับ 0.3% นั้น สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวแล้ว แต่ยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ โดยมองว่าในช่วงครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อย ซึ่งต้องให้กำลังใจคนทำงาน ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันในการประคับประคองเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมีส่วนช่วยให้ผู้ส่งออกมีรายได้ที่เป็นเงินบาทมากขึ้น แต่การที่ส่งออกจะขยายตัวได้มากหรือน้อยยังขึ้นอยู่กับกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าเป็นหลัก.