WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Industrial อนงค ไพจตรประภาภรณสำนักโลจิสติกส์ จัดงานIndustrial  Supply Chain Logistics 2014 หวังกระตุ้นให้ภาคอุตฯ เห็นถึงความสำคัญการพัฒนาระบบโลจิสติกส์

   สำนักโลจิสติกส์ จัดงาน Industrial Supply Chain Logistics 2014 วันที่ 2-3 ธ.ค. ที่ไบเทคบางนา หวังกระตุ้นผู้ประกอบการเห็นความสำคัญการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันคาดปี 58 จะลดต้นทุนผุ้ประกอบการได้กว่า 2,500 ล้านบาท

   นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำนักโลจิสติกส์ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและการยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการไทย โดยจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม (พ.ศ. 2555-2559)  มุ่งสร้างให้ภาคอุตสาหกรรมมีความเข้มแข็งและความพร้อมในการแข่งขันทั้งระดับองค์กรและโซ่อุปทานในภูมิภาค อีกทั้งเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเป็นมืออาชีพด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันระดับโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมไทย มีเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP ลงร้อยละ 15 ภายในปี 2559 โดยเฉพาะในส่วนของต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง และลดระยะเวลาของการดำเนินงาน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจนถึงการส่งมอบสินค้า รวมไปถึงการยกระดับคุณภาพการจัดการโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มความพึงพอใจและความเชื่อมั่น 

  Industrialทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในปี 2557 จากงบประมาณจำนวน 117.68 ล้านบาท โดยมีโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมจำนวน 31 โครงการ สามารถช่วยลดต้นทุนได้กว่า 3,500 ล้านบาท พัฒนาบุคลากรกว่า 7,500 คน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม เข้าร่วมโครงการเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ จำนวน 500 ราย ซึ่งในปี 2558 สำนักโลจิสติกส์ได้รับงบประมาณ 87.21 ล้านบาท มี 25โครงการ คาดว่าจะสามารถลดต้นทุนได้ 2,500 ล้านบาท มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 350 ราย  พัฒนาบุคลากรได้5,800 คน โดยมีโครงการหลักที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม รวมถึงโครงการใหม่ เช่น RFID, Zoningและ Packaging  เป็นต้น

    หากนับตั้งแต่ปี 2551- 2558 จะสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ ประมาณ 13,008 ล้านบาท จากงบประมาณทั้งสิ้น 460 ล้านบาท และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,993 ราย  รวมทั้งสามารถพัฒนาบุคลากรได้ 39,649 คน และในปี 2559 ทางสำนักโลจิสติกส์เตรียมของบประมาณในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์จำนวน 280 ล้านบาท

    สำหรับ ต้นทุนโลจิสติกส์ ประกอบด้วย ต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และต้นทุนการบริหารจัดการ ซึ่งสำนักจะสามารถช่วยผู้ประกอบการในด้านต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนงานด้าน  โลจิสติกส์ โครงการจัดทำเครื่องมือพัฒนาเรียนรู้ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นต้น

    การจัดงาน Industrial Supply Chain Logistics 2014 ขึ้นในวันที่ 2-3 ธันวาคม 2557 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เพื่อเป็นการเสนอผลงานโครงการของสำนักโลจิสติกส์ในปีงบประมาณ 2557 ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ตลอดจนเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ประกอบการ ภายในงาน จะได้พบกับวิทยากรที่มาให้ความรู้ในด้านซัพพลายเชนโลจิสติกส์แบบครบวงจร ทั้งในเรื่องการเชื่อมโยง SME เข้ากับ Global Supply Chain  การจัดระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้วยระบบไอที การยกระดับศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์สู่ตลาด AEC และการสร้างนักจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมืออาชีพระดับสากล  นอกจากนั้น ยังจะได้พบกับบูธที่มาแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงอุปกรณ์ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมากมาย โดยคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานประมาณ 800-1,000 ราย

   “ต้องยอมรับว่า ระบบโลจิสติกส์ของไทยยังเป็นรองสิงคโปร์และมาเลเซีย ที่อยู่ในอาเซียนด้วยกัน จากการใช้งานระบบไอทีที่เข้มข้นกว่าและมีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์กว่า แต่หากพิจารณาจากผลิตภาพ (Productivity) ของภาคอุตสาหกรรมแล้ว ประเทศไทยมีอัตราผลิตภาพที่สูง ดังนั้น หากมีการเร่งรัดพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เชื่อว่าในอนาคตไทยจะสามารถยกระดับมาตรฐานการผลิตและการประกอบธุรกิจขึ้นได้ตามแผนที่กำหนดไว้”นางอนงค์กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!