- Details
- Category: Logistics
- Published: Saturday, 02 November 2019 12:27
- Hits: 8591
ยุงค์ไฮน์ริช จัดแข่งรถฟอร์คลิฟท์ ครั้งแรกของประเทศไทย
บริษัท ยุงค์ไฮน์ริช ลิฟท์ ทรัค จำกัด ผู้ให้บริการด้านระบบอินทราโลจิสติกส์แบบครบวงจรชั้นนำจากเยอรมนี จัดการแข่งขันขับรถฟอร์คลิฟท์ยุงค์ไฮน์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย “Jungheinrich Driving Challenge” เป็นครั้งแรกของวงการรถยกอุตสาหกรรมในเมืองไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทักษะ การขับรถยกอย่างปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในคลังสินค้า โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่ห์รางวัลชนะเลิศ และประกาศนียบัตร นอกจากนี้ยังจัดสัมมนาในหัวข้อ “Disruptive Technology Impact towards Industry and Intralogistics : ผลกระทบจากเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกต่ออุตสาหกรรมและการจัดการอินทราโลจิสติกส์” บรรยายโดย อาจารย์สิริวัฒน์ ไวยนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม จากสถาบันไทย-เยอรมัน และปาฐกถาพิเศษโดย คุณเจน นำชัยศิริ วุฒิสมาชิกและประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
นายสเตฟาน เบรม รองประธานกรรมการภาคพื้นเอเชียแปซิก บริษัท ยุงค์ไฮน์ริช กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานแข่งขันและงานสัมมนาในครั้งนี้ว่า ทางบริษัทต้องการที่จะมีส่วนสนับสนุนลูกค้าให้ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานรถยก เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ในการเคลื่อนย้ายสินค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงาน นอกจากนี้เรายังมีงานสัมมนาในหัวข้อ “Disruptive Technology Impact towards Industry and Intralogistics” จากผู้เชี่ยวชาญที่เราเชิญมาในงานนี้ จะทำให้ลูกค้าของเรามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ “Disruptive technology” และผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และในอนาคต รวมถึงการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมเอง เพื่อที่จะรองรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้
“สำหรับตลาดประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ยุงค์ไฮน์ริช ในฐานะที่เป็นผู้นำระดับโลกในด้านอินทราโลจิสติกส์ บวกกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของเรา ที่มีมาอย่างยาวนาน ทางเราได้คิดค้นและพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงซอฟแวร์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยยุค 4.0 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเรายังคงมุ่งมั่นทำการพัฒนาสินค้าของเราอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ไม่ใช้คนขับ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในยุค ไทยแลนด์ 4.0 ได้เป็นอย่างดี ” นายสเตฟาน กล่าว
นายเจน นำชัยศิริ วุฒิสมาชิกและประธานกิตติมศักดิ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกระแส Disruptive Technology ที่จะเข้ามามีบทบาท และกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในอนาคตว่า การขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ภาคอุตสาหกรรมได้มีการนำเสนอประเด็นเรื่อง Industry 4.0 ซึ่งอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการผลิต ให้ปรับมาสู่แนวทาง Industry 4.0 ให้ได้มากที่สุด ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยเสริมในส่วนต่างๆ ของกระบวนการผลิต ให้ส่วนหนึ่งในภาคการผลิตสามารถคุย เชื่อมต่อ สื่อสาร และทำงานร่วมกับอีกส่วนหนึ่งได้ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เป็น Input ที่สำคัญ ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งหรือส่วนอื่นทำงานได้อย่างสอดคล้อง และได้ผลผลิตออกมาดีที่สุด ที่เรียกว่า Connected Technology ในตอนนี้ประเทศไทยจะต้องพัฒนาไปในทิศทางที่ประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ซึ่งงานวิจัยคือสิ่งสำคัญของประเทศ ในการพัฒนาผลิตภาพ การพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาทักษะ การทำให้เกิดความคิดใหม่ๆ ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ดีๆ เพื่อมาเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวต่อไปในอนาคต
ด้าน อาจารย์สิริวัฒน์ ไวยนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม จากสถาบันไทย – เยอรมัน กล่าวว่า กระแสของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ได้ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต และโลจิสติกส์ให้เป็นระบบอัตโนมัติ และการเชื่อมต่อต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายในรูปแบบ Internet Of Things ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่ตัววัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์หน่วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่าย เพื่อให้สามารถสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระ เพื่อจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมด
โดยในการสัมมนาครั้งนี้ ได้มีการบรรยาย และให้ความสำคัญถึง ขอบข่ายงานด้านโลจิสติกส์ ซัพพลายเชน และอินทราโลจิสติกส์ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางด้านการขนส่งภายในโรงงาน และการนำไปประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม เช่น การขนส่งโดยใช้รถยกลากพาเลท (hand pallet truck) ฟอร์คลิฟท์ ทั้งแบบระบบใช้คนขับ และแบบอัตโนมัติ AGV, mobile robot เป็นต้น อุปกรณ์และเทคโนโลยีวิธีการจัดเก็บในคลังสินค้า รูปแบบของชั้นวางสินค้าประเภทต่างๆ เช่น single deep rack, drive in rack เป็นต้น ระบบ AS/RS แบบต่างๆ ระบบลีนโลจิสติกส์ (Lean) โดยจะอธิบายถึงความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตและโลจิสติกส์การบริหารสินค้าคงคลัง ระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม การผลิตแบบดึง และหลักการใช้คัมบังเพื่อควบคุมการไหลของวัสดุและสินค้าคงคลัง แนวคิดของการพัฒนาแบบ ลีน อัตโนมัติ ซึ่งจะให้มองเห็นว่า การจะทำระบบอัตโนมัติควรจะปรับปรุงกระบวนการให้ ลีน โดยลดความสูญเปล่าก่อน แล้วจึงนำระบบอัตโนมัติเข้าไป ซึ่งจะได้ระบบอัตโนมัติที่เหมาะสมและคุ้มค่ากว่า รวมถึงประเด็นเรื่อง ทิศทางการพัฒนาสู่โลจิสติกส์ 4.0 การต่อยอด และการเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน Internet Of Things เพื่อการจัดการแบบเรียลไทม์และยืดหยุ่น
AO11025
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web