- Details
- Category: Logistics
- Published: Thursday, 11 April 2019 14:12
- Hits: 2007
NOSTRA Logistics เผย 5 ความท้าทายของธุรกิจโลจิสติกส์ในสมรภูมิดีสรัปท์ชัน
NOSTRA Logistics ชี้ธุรกิจโลจิสติกส์กำลังเผชิญกับ 5 ความท้าทาย จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และรูปแบบธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น การระบุภูมิทัศน์ของการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เผยธุรกิจโลจิสติกส์เริ่มมีการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30% โดยติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ เผยธุรกิจ SME ที่รับผลกระทบจากการดิสรัปของเทคโนโลยี ได้แก่ ธุรกิจประเภท ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการใช้ระบบบริหารจัดการงานขนส่งและวางแผนเส้นทางด้วย Telematics, Internet of Thing (IoT), Big Data Analytics และ Cloud Computing บริหารจัดการธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นทั้งเวลา ความเร็ว ความถูกต้อง และมีต้นทุนที่ต่ำลง
นางสาวปิยวดี หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี เผยนอสตร้า โลจิสติกส์ เปิดเผยว่า ในยุคสมรภูมิดีสรัปท์ชันธุรกิจโลจิสติกส์กำลังเผชิญกับ 5 ความท้าทาย จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และรูปแบบธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่ง 5 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ ประกอบไปด้วย
1. ด้านการลดต้นทุนการขนส่ง 'เทคโนโลยีและข้อมูล'กำลังมีบทบาทครั้งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการบริหารจัดการงานขนส่งและกลุ่มรถในอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ ประโยชน์ที่เห็นชัดเจน คือ องค์กรที่สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่าจะได้เปรียบบนสนามแข่งขัน การใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนงานจัดส่งสินค้าและบริหารบุคลากร เพื่อลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองต่าง ๆ จึงมีความสำคัญ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านั้นต่างมีที่มาจากการวางแผนการวิ่งรถ เช่น การวางแผนการจัดสินค้าและการใช้รถ การเลือกเส้นทางขนส่งที่ใช้ระยะทางและเวลาน้อยที่สุด การขับรถในระดับความเร็วที่เหมาะสม เพื่อประหยัดน้ำมัน การขับรถถูกวิธีไม่เร่งกระชากหรือเร็วเกินกำหนด ก็ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลงได้มากและสามารถยืดเวลาและรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ให้มีคุณภาพที่ยาวนานขึ้น
2. การบริหารจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีและข้อมูลจะกลายเป็นฮีโร่ที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งได้เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ ประเทศไทยได้มีการออกกฎเรื่องการติดตั้งจีพีเอสในรถโดยสารและรถขนส่งเพื่อติดตามและเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนมาได้ 2-3 ปีแล้ว ดังนั้นเทคโนโลยีจีพีเอสอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่บริษัทฯ พบว่าหลังจากที่ได้เปิดตัวเทคโนโลยีโซลูชัน NOSTRA Telematics ซึ่งทำได้มากกว่าแค่การติดตามรถแบบจีพีเอสทั่วไป เมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมา บริษัทขนส่งหลายแห่งให้ความสนใจและเริ่มนำเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) เข้าไปทดลองใช้ในการจัดการงานขนส่ง
โดยเทเลเมติกส์เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สื่อสารระหว่างรถขนส่งสินค้าและผู้ควบคุมงานจัดส่ง สามารถรับและส่งข้อมูลต่างๆ เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ การหยุดนิ่ง-จอด การเบรก การแซง ปริมาณน้ำมันที่เหลือ อุณหภูมิห้องเก็บความเย็น ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมด้วย เช่น Internet of Thing, Cloud Service และ Big Data Analytics เพื่อการรับ-ส่งข้อมูล การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ โดยจะได้แหล่งข้อมูลมหาศาล (Big Data) ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ในทุกวันเพื่อการวางแผนการใช้รถและประเมินพฤติกรรมการขับรถเพื่อการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้จากการติดตามและวางแผนการใช้รถที่เหมาะสม
3. การให้บริการพิเศษเฉพาะเซ็กเม้นต์หรือบริการตามความต้องการเฉพาะ (Customized services) ธุรกิจแต่ละประเภทมีความต้องการหรือความมุ่งเน้นของลูกค้าแตกต่างกัน เทคโนโลยีจึงต้องสามารถพัฒนาและต่อยอดเพื่อให้ตรงตามความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของธุรกิจแต่ละประเภทได้ จีไอเอสได้มีการออกแบบโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจหรือการทำงานของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น โซลูชันสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs) โดยใช้เทคโนโลยีผสานกันระหว่างระบบติดตามรถด้วย GPS Tracking, Telematics, Internet of Thing(IoT) และ Big Data Analytics เพื่อให้ผู้บริหารจัดการรถรับส่งพนักงาน และพนักงานผู้ใช้รถสามารถติดตามข้อมูลรถได้แบบเรียลไทม์ผ่านระบบ NOSTRA Logistics ในส่วนฟังก์ชันการทำงานครอบคลุมตั้งแต่วางแผนเส้นทางเดินรถจนถึงการออกรายงาน โดยผู้บริหารรถรับส่งสามารถทำงานบนเว็บแอปพลิเคชันตั้งแต่การสร้างเส้นทางและจุดรับส่งของรถแต่ละคัน การติดตามและตรวจสอบตำแหน่งรถ ณ ปัจจุบัน ระบบการจองรถด้วยตัวเองสำหรับผู้ใช้รถ ตลอดจนรายงานสรุปต่างๆ สำหรับผู้ใช้รถก็สามารถดูข้อมูลตารางเดินรถพร้อมเส้นทางและจุดจอด ตำแหน่งรถปัจจุบันบนแผนที่ ตำแหน่งจุดจอดรถที่ใกล้ที่สุด และจองรถรับส่งผ่านระบบได้เองด้วยโมบายแอปพลิเคชันของ BOMs
4. การบริหารบุคลากร แรงงานหนุ่มสาวไม่นิยมทำงานในองค์กรที่ไม่เห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี ในธุรกิจด้านการขนส่ง เทคโนโลยีจะมาช่วยบริหารจัดการเวลาทำงานของบุคลากร เช่น พนักงานขับรถต้องขับต่อเนื่องไม่เกิน 4 ชั่วโมง หรืออย่างเช่นในตัวอย่างของโซลูชันสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs) ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการทำงานของรถรับส่งพนักงานคือ องค์กรมีเครื่องมือที่ใช้สื่อสารเพื่อการจัดบริการรถพนักงาน สามารถติดตามรถได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถวัดผลจากเกณฑ์ที่กำหนดหรือ KPI สำหรับพนักงานขับรถหรือผู้รับจ้างให้บริการรถด้วยข้อมูลที่ได้จากการบันทึกเวลาและพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถที่จัดเก็บไว้ในระบบได้อีกด้วย
5. การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังต่าง ๆ จากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ตั้งแต่ปี 2559 ที่ภาครัฐมีโครงการมั่นใจทั่วไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking โดยข้อมูลจากกรมขนส่งทางบกพบว่าเดือนมกราคม 2561 ปัจจุบันมีรถโดยสารและรถบรรทุกที่ติดตั้งระบบ GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์บริหารจัดการเดินรถระบบ GPS ของกรมการขนส่งทางบกจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 316,562 คัน นอกจากนี้กรมการขนส่งทางบกรณรงค์ให้ผู้บริโภคเลือกใช้บริการเดินรถของผู้ประกอบการที่มีความเป็นมืออาชีพ ประวัติการเดินรถดี มีการตรวจสภาพความพร้อมของรถและพนักงานขับรถเพื่อความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด มีการติดตั้ง GPS Tracking เพื่อการตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่และการใช้ความเร็วของรถได้แบบ Real-time ทำให้ผู้ประกอบการการขนส่งต้องตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการให้บริการของตนเองทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด
“จาก 5 ความท้าทายดังกล่าว ทำให้ธุรกิจโลจิสติกส์เริ่มมีการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30% โดยกรณีศึกษาของบริษัทขนส่งยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยพบว่าการติดตั้ง Connected GPS ทำให้บริษัทสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงได้เกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ด้วยปัจจัยดังกล่าวกรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกกฎข้อบังคับให้รถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบ Connected GPS ภายในปี 2562 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญในการเร่งใช้เทคโนโลยีดังกล่าว โดยภาพรวมธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศไทยเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา มีการติดตั้งระบบแล้วกว่า 30% ซึ่งยังคงเหลืออีกกว่า 70% ที่จะต้องเร่งดำเนินการติดตั้งระบบ Connected GPS” นางสาวปิยวดีกล่าว
นางสาวปิยวดี กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption ต่อธุรกิจขนส่งที่สำคัญเกิดในกลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่เรียกว่า Second Party Logistics (2PL) หรือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นกลุ่มที่เน้นบทบาทในการรับจ้างขนส่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยไม่มุ่งเน้นการจัดการด้านคลังสินค้าและจุดกระจายสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารต้นทุนค่าขนส่ง ขณะที่ผู้ประกอบการ Third Party Logistics (3PL) หรือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ได้มุ่งเน้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้การจัดการคลังสินค้าและจุดกระจายสินค้าเชื่อมต่อกับกิจกรรมการขนส่งอย่างเป็นระบบด้วยการใช้อินเทอร์เน็ต หรือ IoT ช่วยให้การจัดการงานโลจิสติกส์ทั้งระบบมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
รวมถึงการใช้ดิจิทัลช่วยจัดการธุรกิจในพื้นที่ที่ตนเองมีต้นทุนสูงผ่านการทำงานในเครือข่ายพันธมิตร เพื่อลดต้นทุนการขนส่งในส่วนที่จัดการเองได้ยาก ส่งผลให้มีศักยภาพทางธุรกิจมากกว่าผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีการขนส่งต่ำหรือเน้นการขนส่งแบบดั้งเดิม ดังนั้น ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียว จึงจำเป็นที่ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยจัดการงานขนส่ง เพื่อช่วยบริหารด้านต้นทุนขนส่งให้ต่ำลง และลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองให้มากที่สุด เพื่อรองรับตลาดโลจิสติกส์ที่กำลังเติบโตในยุคดิจิทัล เช่น ตลาดอีคอมเมิส ที่ส่งผลโดยตรงกับธุรกิจขนส่ง การปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้เทคโนโลยีเข้าสู่รูปแบบ E-Logistics จะนำมาซึ่งโอกาสแก่ผู้ประกอบการขนส่งที่สามารถปรับตัวได้ทัน
ในยุคสมรภูมิดีสรัปท์ชั่น เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะมีบทบาทช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจขนส่ง ได้แก่ ระบบจัดการงานขนส่งและคลังสินค้าด้วย Connected GPS, Telematics, Internet of Thing (IoT), Big Data Analytics และ Cloud Computing เหล่านี้ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งเวลา ความเร็ว ความถูกต้อง และมีต้นทุนที่ต่ำลง ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและพฤติกรรม เช่น ประสิทธิภาพในการใช้รถ และพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางสาวปิยวดีกล่าวทิ้งท้าย
เกี่ยวกับ NOSTRA Logistics (นอสตร้า โลจิสติกส์)
'NOSTRA Logistics'(นอสตร้า โลจิสติกส์) โดย Commercial Solutions Division (CSD) ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของบริษัท จีไอเอส จำกัด เป็นโซลูชันด้านการบริหารจัดการงานขนส่ง ได้แก่ การจัดการกลุ่มรถ (Fleet Management) การติดตามตำแหน่ง (GPS Tracking) บนแผนที่ความละเอียดสูงนอสตร้า เพิ่มความปลอดภัยในการขับรถด้วยเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) และเชื่อมโยงข้อมูลด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการนำเสนอโซลูชันที่ตอบโจทย์ลูกค้าอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.nostralogistics.com
#NOSTRALogistics #NOSTRAtelematics--
Click Donate Support Web