- Details
- Category: SME
- Published: Saturday, 02 December 2023 19:22
- Hits: 3415
บสย. มั่นใจเศรษฐกิจฟื้น บริโภคในประเทศคึกคัก อนุมัติค้ำฯ 107,179 ล้านบาท เตรียมขยายวงเงินค้ำฯ ลดเหลื่อมล้ำ หนี้นอกระบบ พร้อมต่ออายุ แก้หนี้ยั่งยืน
บสย. เผยผลดำเนินงาน ส่งท้ายปี 2566 บริโภคในประเทศคึกคัก อนุมัติค้ำฯ 107,179 ล้านบาท SMEs ได้สินเชื่อ 96,461 ราย มั่นใจเศรษฐกิจฟื้น ตั้งเป้าเชิงรุก 2567 เดินหน้า Digital Guarantee Platform เชื่อมโลกการเงิน ขานรับนโยบายรัฐ แก้หนี้นอกระบบ ลดเหลื่อมล้ำ พร้อมขยายวงเงินค้ำ PGS 10 แก้หนี้ยั่งยืน
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ภาพรวมผลดำเนินงาน บสย. 11 เดือน ณ 24 พ.ย. 2566 สำเร็จตามเป้า ทั้งด้านการค้ำประกันสินเชื่อ การแก้หนี้ ผ่าน “บสย. พร้อมช่วย” การให้คำปรึกษาทางการเงิน SMEs มีการขยายตัวต่อเนื่อง
ด้านผลดำเนินงานการค้ำประกันสินเชื่อ อนุมัติค้ำประกันวงเงิน 107,179 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ได้สินเชื่อ 96,461 ราย (80% ของจำนวนราย SMEs เป็นผู้ประกอบการกลุ่ม Micro) สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 442,649 ล้านบาท สร้างสินเชื่อในระบบ 117,597 ล้านบาท รักษาการจ้างงาน 811,239 ตำแหน่ง มีฐานลูกค้า SMEs สะสมรวมกว่า 815,312 ราย จำแนกสัดส่วนการค้ำประกันสินเชื่อรายภูมิภาค อันดับ 1 กรุงเทพฯและปริมณฑล 45% อันดับ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15% อันดับ 3 ภาคใต้ 13% อันดับ 4 ภาคเหนือ 11% อันดับ 5 ภาคตะวันออก 9% อันดับ 6 ภาคกลาง 4% และ อันดับ 7 ภาคตะวันตก 3%
กลุ่มอุตสาหกรรมค้ำประกันสูงสุด ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการ สัดส่วนการค้ำ 30% วงเงิน 32,113 ล้านบาท (รับเหมา ภัตตาคาร ร้านอาหาร ธุรกิจขนส่งโรงแรมและหอพัก บริการท่องเที่ยว) อัตราการเติบโต 3% 2.การผลิตสินค้าและการค้าอื่น ธุรกิจการค้า สัดส่วนการค้ำ 11% วงเงิน 11,378 ล้านบาท (การค้าวัสดุ ก่อสร้าง การค้าปลีกและแผงลอยและตลาดสด การค้าอื่นๆ 19% การผลิตอื่นๆ 14% ค้าของเก่าและโทรศัพท์มือถือ) 3.เกษตรกรรม สัดส่วนการค้ำ 10% วงเงิน 10,652 ล้านบาท (ค้าส่งผักและผลไม้ การค้าชากาแฟ การค้าสินค้าเกษตรอื่นๆ ปศุสัตว์ การค้าส่งข้าว ) 4.กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม 5.กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็นภาคธุรกิจการบริโภคในประเทศ ในภาคท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง ครองสัดส่วนการค้ำประกัน 68%
ด้านการช่วยลูกหนี้ แก้หนี้ยั่งยืน “บสย. พร้อมช่วย” ผ่านมาตรการ 3 สี มีลูกหนี้ บสย. ได้รับการประนอมหนี้ 12,580 ราย วงเงินรวม 4,652 ล้านบาท และมีผู้ประกอบการ SMEs ลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาและร่วมอบรม ผ่านศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs หรือ บสย. F.A.Center จำนวน 15,885 ราย คิดเป็นสัดส่วนความสำเร็จในการเข้าถึงสินเชื่อจากการให้คำปรึกษา 16%
สำหรับแผนงานปี 2567 บสย. พร้อมเดินหน้าตามกรอบแผนวิสาหกิจ ตามยุทธศาสตร์องค์กรและกลยุทธ์เชิงรุก TCG Fast First เดินหน้า เดินหน้าการขับเคลื่อนองค์กรด้วย Digital Technology ในเฟส 2 การพัฒนา Digital Guarantee Platform สู่ SMEs Gateway วางบทบาท กองหน้า กองกลาง และกองหลัง ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
กองหน้า มุ่งสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs ครบวงจรผ่านศูนย์ที่ปรึกษา SMEs (บสย.F.A.Center) การยกระดับปรับโฉม สำนักงานเขตสู่โมเดลใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับผู้ประกอบการ SMEs สอดรับยุทธศาสตร์ มุ่งสู่การเป็น Credit Mediator เพิ่มบทบาทการเป็นตัวกลางเชื่อมโยง SMEs ให้เข้าถึงแหล่งทุนและขยาบทบาทการค้ำประกันผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม นำร่องสาขาชลบุรี และอยุธยา พร้อมเปิดตัวภายในไตรมาสแรก ปี 2567
กองกลาง ประกอบด้วย 1.พัฒนาผลิตภัณฑ์ค้ำประกันสินเชื่อ ตอบโจทย์การเข้าถึงสินเชื่อ เทรนด์ธุรกิจ กลุ่ม Start up และผู้ประกอบการ SMEs รายเซ็กเมนท์ อาทิ กลุ่มรายย่อย กลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มผู้ประกอบการนิติบุคคล ผู้ประกอบการที่ปรับกลยุทธ์สู่ธุรกิจยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม 2.พัฒนา Digital Platform เดินหน้าเฟส 2 Digital Guarantee Platform เชื่อมโลกการเงิน เชื่อมโยงระบบการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. สู่ระบบนิเวศน์ทางการเงิน (Ecosystem) อาทิ การพัฒนาระบบร่วมกับโครงการ PromptBiz, TrustBiz Connext ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs รายย่อย ในการขอสินเชื่อผ่านช่องทางดิจิทัล ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย และ สถาบันการเงิน ผ่านแพลตฟอร์ม Digital Lending การค้ำประกันสินเชื่อ พร้อมยกระดับบริการ LINE OA @tcgfirst ให้ดียิ่งขึ้น
กองหลัง เพิ่มมาตรการความช่วยเหลือลูกหนี้ แก้หนี้อย่างยั่งยืน โดย บสย. ได้ขยายมาตรการ “บสย. พร้อมช่วย” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ต่อเนื่องอีก 1 ปี ตอกย้ำความสำเร็จโครงการ นอกจากนี้ บสย ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการนำเสนอมาตรการต่อยอดการช่วยลูกหนี้อย่างยั่งยืนในมาตรการ 3 สี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือลูกหนี้สามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้น ตามเป้าหมายแก้หนี้ยั่งยืน “ผ่อนน้อย เบาแรง ปิดหนี้เร็ว” ซึ่งขณะนี้ บสย. อยู่ในขั้นตอนการนำเสนอเพื่อพิจารณา
สำหรับการดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐบาล “หนี้นอกระบบ เป็นวาระแห่งชาติ” บสย. อยู่ในระหว่างดำเนินการเสนอขอขยายวงเงินโครงการ PGS 10 เตรียมพร้อมช่วยลูกหนี้ และ กลุ่มอาชีพอิสระ เพื่อช่วยกลุ่มลูกหนี้ SMEs ที่ใช้เงินทุนนอกระบบ โดยใช้กลไกค้ำประกันสินเชื่อร่วมกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการของรัฐบาล มั่นใจช่วยลดความเหลือมล้ำ ช่วยบรรเทาลูกหนี้จากการเป็นหนี้นอกระบบ
ทั้งนี้ บสย.ได้เตรียมพร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน : TCG Sustainability BCG-ESG (Environment /Social/Government) ภายใต้แกนหลัก “ค้ำประกันสินเชื่อ” มีผู้ประกอบการ SMEs เป็นศูนย์กลาง ได้แก่ 1.เพิ่มโอกาสและเติมเต็มศักยภาพทางการเงิน เข้าถึงแหล่งทุนเพิ่มมากขึ้น 2.เพิ่มความรู้ เติมความเข้าใจ ยกระดับการให้คำปรึกษาทางการเงินและธุรกิจ และการช่วยลูกหนี้ สร้างโอกาสทางธุรกิจ จากโครงการจับคู่ธุรกิจ เชื่อมโยงผู้ประกอบการในรูปแบบ Business Matching 3. เพิ่มบทบาทการช่วยลูกหนี้แก้หนี้ยั่งยืน ทั้งนี้ภายใต้ บทบาทด้านการค้ำประกัน SMEs บสย. มีสัดส่วนค้ำประกันสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 6 ปี ตั้งแต่ปี 2562 คาดว่าในปี 2566 สัดส่วนการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน เพิ่มเป็น 28% ของยอดค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 1,486,812 ล้านบาท
12075