- Details
- Category: SME
- Published: Monday, 05 September 2022 12:57
- Hits: 3175
บสย. – SMI สภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมต่อยอดช่วยเหลือกลุ่มสมาชิก ส.อ.ท.
บสย.-สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมหาแนวทาง จัดหาหลักสูตรและจัดคลินิคพิเศษ แบ่งตามเซกเม้นท์ เร่งช่วยเหลือสมาชิกกลุ่ม ระบุ ที่ผ่านมา บสย. F.A. Center มีการอบรมให้แล้วกว่า 400 ราย
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมหารือกับ นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ รองประธานสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยทีมคณะกรรมการสถาบัน SMI เพื่อสานต่อกิจกรรมหลังจากการลงนามความร่วมมือระหว่าง บสย. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะด้านคลินิคให้คำปรึกษาทางการเงิน ซึ่งในปี 2565 ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) ได้มีการจัดอบรมกลุ่มสมาชิก ส.อ.ท. ไปแล้วกว่า 400 ราย และได้มีการส่งสมาชิกลงทะเบียนขอเข้ารับคำปรึกษาเพื่อเตรียมตัวในการขอสินเชื่อกว่า 150 ราย
พร้อมจัดอบรมพิเศษเฉพาะผู้ประกอบการของสภาอุตฯในหลักสูตร'SMEs รวย...ด้วยบัญชีเดียว'โดย 1 คอร์สมีถึง 3 หลักสูตร พร้อมกันนี้ ยังมีการต่อยอดความช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น การจัดคลินิคพิเศษสำหรับสมาชิกหรือกลุ่มที่มีปัญหา ไม่สามารถขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ การให้ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) และการพัฒนา SMEs จาก บสย. ก่อนที่จะส่งให้กับสถาบันการเงิน แนวทางการจัดทำหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้ตรงกับสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
รวมทั้งการจัดแบ่งการให้บริการตาม segment โดยจะเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมและการผลิต ซึ่งการแบ่งตาม segment เพราะแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน ถ้ารู้ถึงความต้องการแล้วจะทำให้ ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs (บสย. F.A. Center) จัดหาหลักสูตรเฉพาะที่ตรงกับความต้องการของแต่ละกลุ่มสมาชิกได้อย่างเหมาะสม โดยปัจจุบัน ส.อ.ท.มีการจัดแบ่งเป็น 4 segment 1.กลุ่ม Smart SMEs คือกลุ่มที่มีความพร้อมและต้องการขยายตลาด 2.กลุ่ม SMEs Regular เป็นธุรกิจแบบเดิมๆ ทั่วไป ต้องการเงินทุนหมุนเวียน เสริมสภาพคล่อง 3.กลุ่ม SMEs for BCG กลุ่มที่ต้องการปรับธุรกิจรองรับ BCG เพิ่ม Productivity 4.กลุ่ม Small SMEs กลุ่มธุรกิจที่มีขนาดเล็ก ขาดทักษะความรู้ด้านการเงิน และเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน
นอกจากนี้ ในการร่วมหารือครั้งนี้ บสย. ยังได้นำเสนอโครงการค้ำประกันสินเชื่อ ภายใต้ พ.ร.ก.ฟื้นฟู ระยะที่ 2 อีกจำนวน 50,000 ล้านบาท ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ 3% ใน 2 ปีแรก วงเงินสูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงิน ซึ่งช่วยผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ถึง 3 ต่อ ต่อที่ 1 อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ 2% ใน 2 ปีแรก (รัฐชดเชยดอกเบี้ย 6 เดือนแรก) ต่อที่ 2 ค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ 1% ใน 2 ปีแรก และต่อที่ 3 บสย. พร้อมค้ำประกันสินเชื่อ แบบเต็มวงเงิน โดยระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 – วันที่ 9 เมษายน 2566 (ตามกรอบระยะเวลาของธนาคารแห่งประเทศไทย)