- Details
- Category: SME
- Published: Monday, 21 December 2020 07:09
- Hits: 10128
แม่ทัพ กสอ. ฟันธงปี 64 เป็นปีแห่ง 'เอสเอมอี ดิสรับชั่น' เตรียมหนุน 3 นโยบายเร่งด่วน กระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ลบ.
แม่ทัพ กสอ. ฟันธงปี 64 เป็นปีแห่ง'เอสเอมอี ดิสรับชั่น' เตรียมหนุน 3 นโยบายเร่งด่วน กระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ลบ.
นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงข่าว SMEs Disruption 2021 เปิดจุดเปลี่ยน ปี 64 เอสเอ็มอี ดีพร้อมโดยมี นายภาสกร ชัยรัตน์ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และสื่อมวลชนเข้าร่วม ณ ชั้น 22 อาคารเกษรทาวเวอร์ ราชประสงค์ ปทุมวัน
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2564 กสอ. มุ่งเน้นส่งเสริมความเข้มแข็งอุตสาหกรรมไทย จึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานเร่งด่วน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเต็มศักยภาพ ผ่าน นโยบาย “สติ : STI” ประกอบด้วย 3 ปัจจัยเร่งด่วนสำคัญ ได้แก่ 1. ทักษะเร่งด่วน หรือ Skill เร่งส่งเสริมผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แบ่งออกเป็น 3 ทักษะที่จำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย ทักษะวิชาตัวเบา (Lean) ผ่านการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายได้ในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถดำเนินการกิจได้ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนา
ต่อยอดทักษะเดิม เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการปรับใช้ในกระบวนการต่าง ๆ และทักษะความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าให้กับภาคอุตสาหกรรม โดย กสอ. จะขยายผลศูนย์ Mini Thai-IDC ไปยังภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ในระดับท้องถิ่นไปสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เครื่องมือเร่งด่วน หรือ Tools ที่จะเป็นตัวช่วยเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบไปด้วย แพลตฟอร์มออนไลน์ (DIProm มาร์เก็ตเพลส) รวบรวมผลิตภัณฑ์คุณภาพจากผู้ประกอบการที่ได้รับ การส่งเสริมจาก กสอ. เพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า ทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค นิเวศอุตสาหกรรม โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายของผู้ประกอบการทั้งมิติเชิงอุตสาหกรรมและพื้นที่ เพื่อสร้างความร่วมมือ ต่อยอดองค์ความรู้ และการยกระดับอุตสาหกรรม เงินทุนเพื่อการประกอบการ
ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการประกอบกิจการ อาทิ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย การสนันสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงินทั้งในกำกับของรัฐ และเอกชน รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาพเอกชน เพื่อสร้างสภาพคล่องให้กับการดำเนินธุรกิจและก่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจได้ในอนาคต 3. อุตสาหกรรมเร่งด่วน หรือ Industry ที่มุ่งเน้นคือเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านการยกระดับศักยภาพในภาคการผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป การพัฒนานักธุรกิจเกษตร และการส่งเสริมให้เยาวชนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพและพัฒนาภาคการเกษตรให้มีศักยภาพรวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบธุรกิจสู่กระบวนการผลิตที่มีมูลค่าสูงต่อยอดขยายผลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการส่งเสริมวิสาหกิจให้มีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับความต้องการของผู้บริโภค
ทั้งนี้ การส่งเสริมดังกล่าว กสอ. เตรียมปรับบทบาทเป็นโค้ชชิ่ง โดยการให้คำแนะนำเชิงลึกกับผู้ประกอบการ ปรับเปลี่ยนบทบาทมุ่งเน้นการส่งเสริมในเชิงรุกเป็นผู้ปั้นปรุงเปลี่ยนเอสเอ็มอีให้ดีพร้อม หรือ เอสเอ็มอีดิสรับเตอร์ เพื่อให้เกิดการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างทันท่วงที และขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยตั้งเป้าส่งเสริมไม่ต่ำกว่า 3,356 กิจการ ด้วยงบประมาณดำเนินการกว่า 500 ล้านบาท และคาดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นหนึ่งในปัจจัยการขับเคลื่อนและกระตุ้น GDP ภาคอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ