WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INDUSพส โลหารชนปลัดอุตฯ ประเมินดัชนี MPI ปี 61 ขยายตัว 1.5-2.5% ตามภาพรวมศก.

     นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้คาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ในปี 2561 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.5 - 2.5% ซึ่งสอดคล้องกับที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่ได้คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2561 จะขยายตัวอยู่ที่ 3.4 - 4.6% เพราะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

      สำหรับ ภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโต ในปี 2561 ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี อยู่ที่ 3 – 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตกลุ่มปศุสัตว์ จากความต้องการสินค้าไก่แปรรูป และไก่สดแช่เย็น แช่แข็งเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ การผลิตกลุ่มผักผลไม้เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับผลผลิตของสินค้าเกษตร เช่น สับปะรดกระป๋อง และน้ำผลไม้ รวมทั้งการผลิตสินค้าน้ำตาลที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวสภาพอากาศเหมาะสม ทำให้ค่าเฉลี่ยความหวานสูงขึ้น และปริมาณอ้อย ในฤดูกาล ปี 2560/2561 เพิ่มขึ้นกว่าฤดูกาลปี 2559/2560 จากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอ และการขยายพื้นที่ปลูกตามระดับราคาน้ำตาลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

       อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.00% และ 7.00% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเครื่องซักผ้ามีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ IC ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของสินค้าประเภทเทคโนโลยีสูงขึ้น

      อุตสาหกรรมรถยนต์ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.56% โดยเป็นการจำหน่ายในประเทศประมาณ 880,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.52% และเป็นการส่งออกประมาณ 1,120,000 คัน เพิ่มขึ้น 1.82% และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จะขยายตัวตามทิศทางการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกเส้นใย และผ้าผืนไปยังตลาด CLMV ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญของโลก

ก.อุตสาหกรรม วางแผนพัฒนาแรงงานให้มีทักษะหลากหลาย รองรับความต้องการใน 10 อุตฯเป้าหมาย

      นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปีนี้ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยฐานแรงงานเข้มข้นในอุตสาหกรรมหนัก ไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งนี้ จากการสำรวจความต้องการแรงงานในกลุ่ม 10 สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ปี 2560 – 2564 พบว่า มีความต้องการแรงงานในภาพรวมเฉลี่ย 69,242 คนต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมดิจิทัล

     สำหรับ การดำเนินงานเพื่อเตรียมพัฒนาแรงงานสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในปีงบประมาณ 2560 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มผลิตภาพแรงงานใน 3 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ ในปี 2561 ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดไปยังสาขาอื่นๆด้วย รวมทั้งการพัฒนาแรงงานให้มีทักษะที่หลากหลาย เพื่อรองรับการเข้าสู่ Thailand 4.0 โดยวางแผนการพัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรม จำนวนทั้งสิ้น 100,000 คน ภายใต้โครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมและสถาบันในสังกัด นอกจากนี้ กระทรวงฯ พร้อมบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากร โดยเฉพาะใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

      อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!