- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Sunday, 31 August 2014 20:50
- Hits: 4204
ดัชนี ผลผลิตอุตฯวูบต่อเนื่องเดือนที่ 16 ชี้สาเหตุกำลังซื้อหด
ไทยโพสต์ : พระราม 6 * สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. หดตัว 5.2% ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 แนวโน้ม ส.ค.นี้เริ่มฟื้นตัว ด้านส่งออกยังติดลบ ผลจากการบริโภคในประเทศฟื้น ตัวช้า กำลังซื้ออยู่ในระดับต่ำ
นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือน ก.ค.2557 อยู่ที่ 165.1 ติดลบ 5.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 โดยเป็นการติดลบต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 16 นับแต่เดือน เม.ย.2556 ที่ผ่านมา ส่วนแนวโน้มการผลิตเดือน ส.ค.มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 7 เดือนที่ผ่านมา แต่ในด้านการส่งออกยังติดลบ และการบริโภคในประเทศไม่ได้ฟื้นตัวเร็วอย่างที่คาด เพราะกำลังซื้อประชาชนอยู่ในระดับต่ำ ราคาสินค้าเกษตรไม่ได้ดีขึ้น ดังนั้น สศอ.เตรียมปรับลดประมาณการทั้งจีดีพีอุตสาหกรรมและเอ็มพีไอปีนี้ลงในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4 นี้ จากประมาณการเดิมที่ 1-2% และ 1.5-2% ตามลำดับ
สำหรับ รายละเอียดข้อ มูลผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.2557 นั้น มีการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 60.09% โดยพบว่าอุตสาหกรรมรถยนต์มีการผลิต ติดลบ 24.89% เมื่อเปรียบเทียบ จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อุปสงค์ถูกดึงไปใช้ในปีก่อนหน้านี้แล้วจำนวนมากจากนโยบายรถยนต์คันแรก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มไฟ ฟ้าที่มีการผลิตลดลง 4.75% โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวลด ลง คือ เครื่องปรับอากาศและคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากมีการ จำกัดการใช้สารทำความเย็น R22 ผู้ผลิตอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน กระบวนการผลิตเพื่อรองรับสารทำความเย็นใหม่ ทำให้การผลิตชะลอตัวลง แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มอื่นๆ ดีขึ้น เช่น ตู้เย็น พัดลม กระติกน้ำร้อน และหม้อหุงข้าว เนื่องจากตลาดในประเทศเริ่มกลับมาฟื้นตัวตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเพิ่มขึ้น 5.03% ซึ่งเป็นผลมาจากสิน ค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ Mo nolithic IC Other IC ส่วนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ได้เริ่มย้ายคำสั่งซื้อกลับมาผลิตในประเทศไทยมากขึ้น หลังการเมืองในประเทศดีขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่น
สำหรับ การประเมินเศรษฐกิจระยะถัดไปนั้น คาดว่าการที่การเมืองเข้าสู่ภาวะปกตินี้จะทำให้การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาดำเนินการได้เต็มที่ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศเริ่มฟื้นตัว ส่วนการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้น 3.4% เนื่องจากได้ รับผลดีจากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศผู้นำเข้า อาทิ สหรัฐ ยุโรป แต่ปัจจัยในยุโรปยังไม่มีความแน่นอน ต้องติดตามการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างยูเครน รัสเซียและประ เทศสมาชิกยุโรปเอง.