WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INDUSมงคล พฤกษวฒนาลงทุนอีอีซี 1.4 แสนล้านกรอ.เปิดทางสะดวกดึงนักลงทุน

      แนวหน้า : นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(ร.ง.4)เปิดเผยว่า ผลจากนโยบายของรัฐบาลที่ชัดเจนในการส่งเสริมการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ทำให้ตัวเลขการ ขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เพิ่มขึ้นโดยในช่วง 11 เดือน (มกราคมพฤศจิกายน 2560) มีสูงถึง 529 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็น จ.ฉะเชิงเทรา มีการจดประกอบและ ขยายกิจการจำนวน 117 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 34,800 ล้านบาท จ.ชลบุรี จำนวน 271 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 19,717 ล้านบาท และจ.ระยอง จำนวน 141 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 89,433 ล้านบาท

      กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจดประกอบและขยายกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ กลุ่มผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก ซึ่งโค้งสุดท้ายภายในสิ้นเดือน ธันวาคม เชื่อว่าน่าจะเป็นไปตามเป้าหมาย มั่นใจว่าข้อเสนอและมาตรการ จูงใจใหม่ๆ จากรัฐบาลจะเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นให้เป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง

      นายมงคล กล่าวว่า ภาพรวมการขอใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงาน(ร.ง.4) และการขยายกิจการในเดือน พฤศจิกายน 2560 พบว่า มีจำนวนโรงงานที่ขอใบอนุญาต ทั้งสิ้น 390 โรงงาน แบ่งเป็นกลุ่มที่มีการขอจดประกอบ กิจการใหม่ 350 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 21,158 ล้านบาท กลุ่มขยายกิจการมีจำนวน 40 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 4,069 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม เมื่อรวมผลจากข้อมูลการขอ ร.ง.4 และการขยายกิจการในภาพรวม 11 เดือน มีจำนวนทั้งสิ้น 4,710 โรงงาน มีปริมาณใกล้เคียงกับเวลา เดียวกันของปีที่แล้ว คือ 4,732 โรงงาน แต่ในส่วนมูลค่าการลงทุนสูงถึง 4.74 แสนล้านบาท จากปีก่อนที่มีมูลค่า 4.16 แสนล้านบาท หรือเพิ่มกว่า 14.01%

      กลุ่มอุตสาหกรรมที่ขอจดประกอบกิจการใหม่มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ กลุ่มผลิตภัณฑ์อโลหะ ส่วนกลุ่ม ที่มีการขอขยายกิจการมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก ทั้งนี้ คาดว่าภายในเดือนธันวาคม 2560 การขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ร.ง.4 และการขยายกิจการน่าจะมีปริมาณมากกว่า 400 โรงงาน

       นายมงคล กล่าวว่า นโยบายหลังจากนี้ กรอ.ได้เร่ง เตรียมแผนมาตรการที่จะอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน และผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติเพื่อให้เกิดการเพิ่มยอดการประกอบกิจการ อาทิ มาตรการอำนวยความสะดวกในการยื่นขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรที่จะช่วยลดระยะเวลาการจดทะเบียนฯจากเดิม 30 วัน เป็นไม่เกิน 15 วัน การอำนวยความสะดวกในรูปแบบจุดบริการเบ็ดเสร็จ และการบริการผ่านระบบดิจิทัลเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนในการจดทะเบียนจดประกอบและขยายกิจการ

      พร้อมกันนี้ ยังได้จัดทำแผนเพื่อเตรียม รองรับการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในส่วนกลไกหรือ โครงสร้างพื้นฐานที่กรมโรงงานฯเกี่ยวข้อง ยกระดับมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหา มลพิษและการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนขยายความ ร่วมมือกับหน่วยงานด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการ พัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ที่อยู่ในโครงการให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างสูงสุด

      "คาดว่าปี 2561 จะมีการขอใบอนุญาต ประกอบกิจการและขยายโรงงานในปริมาณ ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยส่งเสริมทั้งจากสัญญาณการลงทุนที่พุ่งสูงต่อเนื่องการขยายตัวของความต้องการแรงงานที่มีมากถึง 1.85 แสนคน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว" นายมงคลกล่าว

ปลื้มตั้งรง.อีอีซีทะลุ 1.4 แสนล.

      ไทยโพสต์ * กรอ.ปลื้มยอดตั้งโรงงานในอีอีซีช่วง 11 เดือนทะลุ 500 โรง รวมมูลค่า 1.4 แสนล้านบาท แย้ม 3 อุตฯ ลงทุนสูง มั่นใจปีหน้ายังพุ่งสูงต่อเนื่อง

       นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ในช่วง 11 เดือน (ม.ค.-พ.ย.2560) ที่ผ่าน มา มียอดขอใบอนุญาตประ กอบกิจการและขยายโรงงาน (ร.ง.4) ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ถึง 529 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 140,000 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจดประกอบและขยายกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ กลุ่มผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก

     "มั่นใจว่า ภายในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้จะได้ตามเป้าหมาย มั่นใจว่าข้อเสนอและมาตรการจูงใจใหม่ๆ จากรัฐบาลจะเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นให้เป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง"นายมงคลกล่าว

         นายมงคลกล่าวว่า นโย บายหลังจากนี้ กรอ.ได้เร่งเตรียมแผนมาตรการที่จะอำนวยความ สะดวกแก่นักลงทุนและผู้ประ กอบการทั้งไทยและต่างชาติเพื่อให้เกิดการเพิ่มยอดการประกอบกิจการ อาทิ มาตรการอำนวยความสะดวกในการยื่นขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรที่จะช่วยลดระยะเวลาการจดทะเบียนฯ จากเดิม 30 วัน เป็นไม่เกิน 15 วัน การอำนวยความสะดวกในรูปแบบจุดบริการเบ็ด เสร็จ และการบริการผ่านระบบ ดิจิทัลเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนในการจดทะเบียนจดประ กอบและขยายกิจการ พร้อมทั้งได้จัดทำแผนเพื่อรองรับการลงทุนในพื้นที่อีอีซี

        "คาดว่าปี 2561 จะมีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยส่งเสริมทั้งจากสัญญาณการลงทุนที่พุ่งสูงต่อเนื่อง การขยายตัวของความต้องการแรงงานที่มีมากถึง 185,000 คน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว"นายมงคลกล่าว.

กรมโรงงานฯ เผย ม.ค.-พ.ย.ยอดขอใบ รง.4 อยู่ที่ 4,710 โรงงาน ลงทุนเพิ่ม 14.01%

    นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยยอดการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ (ร.ง.4) และขยายโรงงานในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) มีจำนวนทั้งสิ้น 4,710  โรงงาน มูลค่าการลงทุนกว่า 4.74 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายกิจการในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จำนวน 529 โรงงาน มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 1.43  แสนล้านบาท โดยยอดขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากตัวเลขการลงทุนที่สูงต่อเนื่อง การขยายตัวของความต้องการแรงงาน ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวฯลฯ คาดว่าสิ้นเดือนธันวาคมขยับเพิ่มอีกกว่า 400 โรงงาน

      ขณะที่ยอดขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ร.ง.4 และการขยายกิจการในเดือน พ.ย.60 มีจำนวนโรงงานที่ขอใบอนุญาตทั้งสิ้นรวมแล้ว 390 โรงงาน แบ่งเป็น กลุ่มที่มีการขอจดประกอบกิจการใหม่ 350 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 21,158 ล้านบาท ส่วนกลุ่มขยายกิจการมีจำนวน 40 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 4,069 ล้านบาท

        อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ยอดขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ร.ง.4 และการขยายกิจการในภาพรวม 11 เดือนแรกของปีนี้ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 4,710 โรงงาน มีปริมาณใกล้เคียงกับเวลาเดียวกันของปีที่แล้วที่ 4,732 โรงงาน แต่ในส่วนมูลค่าการลงทุนสูงถึง 4.74 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นขึ้น 14.01% จากปีก่อนที่ 4.16 แสนล้านบาท

     โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขอจดประกอบกิจการใหม่มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ กลุ่มผลิตภัณฑ์อโลหะ ส่วนกลุ่มที่มีการขอขยายกิจการมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก ทั้งนี้ คาดว่าภายในเดือนธันวาคม 2560 การขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ร.ง.4 และการขยายกิจการน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่า 400 โรงงาน

      อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ผลพวงจากนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมโครงการอีอีซีอย่างต่อเนื่องยังส่งผลให้ตัวเลขการขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานในโครงการดังกล่าวเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 11 เดือนแรกมีจำนวนสูงถึง 529 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 1.4 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็น จังหวัดฉะเชิงเทรามีการจดประกอบและขยายกิจการจำนวน 117 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 34,800 ล้านบาท จังหวัดชลบุรี จำนวน 271 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 19,717 ล้านบาท และจังหวัดระยอง จำนวน 141 โรงงาน มูลค่าการลงทุนรวม 89,433 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการจดประกอบและขยายกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ กลุ่มผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก ส่วนโค้งสุดท้ายภายในสิ้นเดือนธันวาคมนั้นเชื่อว่าน่าจะเป็นไปตามเป้าประมาณ 400 โรง และมั่นใจว่าข้อเสนอและมาตรการจูงใจใหม่ๆ จากรัฐบาลจะเป็นส่วนที่ช่วยกระตุ้นให้เป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง

      ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมยังได้เร่งเตรียมแผนมาตรการที่จะอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนและผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติเพื่อให้เกิดการเพิ่มยอดการประกอบกิจการ อาทิ มาตรการอำนวยความสะดวกในการยื่นขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรที่จะช่วยลดระยะเวลาการจดทะเบียนฯจากเดิม 30 วัน เป็นไม่เกิน 15 วัน การอำนวยความสะดวกในรูปแบบ One Stop Service และการบริการผ่านระบบดิจิทัลเพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนในการจดทะเบียนจดประกอบและขยายกิจการ พร้อมกันนี้ยังได้จัดทำแผนเพื่อเตรียมรองรับการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในส่วนกลไกหรือโครงสร้างพื้นฐานที่กรมโรงงานฯเกี่ยวข้อง การยกระดับมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและการอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนขยายความร่วมมือกับหน่วยงานด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ที่อยู่ในโครงการให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างสูงสุด อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีการขอใบอนุญาตประกอบกิจการและขยายโรงงานในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยส่งเสริมทั้งจากสัญญาณตัวเลขการลงทุนที่พุ่งสูงต่อเนื่อง การขยายตัวของความต้องการแรงงานที่มีมากถึง 1.85 แสนคน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและนโยบายจูงใจของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่กำลังคึกคัก และจะต่อเนื่องไปจนกระทั่งปี 2561

       อินโฟเควสท์

ก.อุตสาหกรรม เร่งหาข้อสรุปเลิกใช้พาราควอต-คลอไพริฟอส-ไกลโฟเซตในสารกำจัดศัตรูพืช

     นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยกรณีเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) และเครือข่ายภาคประชาชน ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อขอให้พิจารณายกเลิกและจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ได้แก่ สารพาราควอต, สารคลอไพริฟอส และสารไกลโฟเซต ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้เป็นสารกำจัดศัตรูพืชและยาฆ่าแมลง และขอให้แก้ไขบัญชีสารเคมีเหล่านี้ จากเดิมที่เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ให้เป็นประเภทที่ 4 ที่ห้ามมิให้มีการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง พร้อมทั้งควบคุมห้ามไม่ให้ประกอบกิจการใดๆ เพราะสารดังกล่าวอาจตกค้าง และก่อให้ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนนั้น

      กรมโรงงานฯ ได้นำไปหารือร่วมกับคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีนายสมบูรณ์ ยินดียั่งยืน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เป็นต้น

    โดยที่ประชุมฯ เห็นสมควรให้จัดตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อหาข้อเท็จจริงในการพิจารณาให้มีการยกเลิกสารหรือไม่อย่างเข้มงวดภายใน 3 เดือน รวมถึงแนวทางเพิกถอนใบอนุญาตหรือการชะลอสำหรับการต่ออายุขึ้นทะเบียน ซึ่งหลังจากนี้หากมีการยกเลิกจริงให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เป็นผู้พิจารณาตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย

       "คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้นำเรื่องกรณีดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา โดยจะนำเอาข้อมูลทั้งผลกระทบด้านสุขภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทุกฝ่ายมาพิจารณา และสรุปความเห็นว่าควรยกเลิกหรือไม่ในเร็วๆ นี้" นายมงคล กล่าว

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!