- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Monday, 04 December 2017 14:21
- Hits: 4997
นักธุรกิจสายพันธุ์ใหม่โครงการ GSB สุดยอด SMEs Startup ตัวจริงชี้ดูงานเทคโนโลยีทันสมัยแดนซามูไรประโยชน์เพียบ-วางแผนต่ อยอดขยายงาน
นักธุรกิจสายพันธุ์ใหม่จากโครงก ารประกวด GSB สุดยอด SMEs Startup ตัวจริง ขอบคุณออมสินพาดูงานเทคโนโลยีทั นสมัย-การจัดการสินค้าของชุมชนที่ เข้มแข็งของแดนซามูไร ชี้ได้ประโยชน์มาก เตรียมต่อยอดตั้งเป้าวางแผนพัฒนาขยายงาน
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ภายหลังการตัดสินโครงการประกวด GSB สุดยอด SMEs Startup ตัวจริง ภายใต้คอนเซ็ปต์ 'ทำได้เลย ทำได้เร็ว ทำได้จริง' ธนาคารออมสินได้พา 10 ทีมสุดท้ายร่วมโปรแกรม Outing Startup เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นต้นเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำห รับการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต โดยจัดตารางดูงานที่เป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านความทันสมัยทางเทคโนโ ลยี ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางจำหน่าย สินค้า นอกจากนั้นยังได้รับเกียรติจาก นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดสถานทูตให้การต้อนรับ พร้อมทั้งให้รายละเอียดนโยบายพั ฒนา SMEs StartUp ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ที่เรียกว่า Cool Japan ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ.2545 และนโยบาย Smart City อย่างมีประสิทธิภาพ
“นอกจากการดูงานด้านต่างๆ แล้วในปีนี้ยังมีความพิเศษมาก โดยน้องๆ ได้รับโอกาสเข้าคารวะ นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ ปุ่น ซึ่งท่านให้เกียรติมาบอกเล่าถึง นโยบายพัฒนา SMEs Start-Up ท้องถิ่นของญี่ปุ่น และนอกจากนี้ นายบวร สัตยาวุฒิพงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหก รรม ได้บรรยายเกี่ยวกับ Smart city ให้แก่คณะได้รับฟัง นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่าและเป็ นประโยชน์ต่อนักธุรกิจสายพันธุ์ ใหม่ของเราอย่างมาก" ผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าว
โปรแกรม Outing Startup การดูงานประเทศญี่ปุ่น โครงการประกวด GSB สุดยอด SMEs Startup ตัวจริง ประกอบด้วย การดูงาน“พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีอั นทันสมัย TEPIA” โดย Association for Technological Excellence Promoting Innovative Advances (สมาคมส่งเสริมความก้าวหน้าทางเ ทคโนโลยีอันทันสมัย) ดูงาน 'ชุมชน Biwa Club' ซึ่งเป็น Road Station โดดเด่นเรื่องแนวคิดการพัฒนาช่อ งทางจำหน่ายสินค้า ได้รับรางวัลกรังด์ปรีซ์ ปี 2543 ให้เป็นศูนย์บริการ ริมทางดีเด่นที่สุดในญี่ปุ่น ดูงาน Antenna Shop (OTOP) ร้านค้าซึ่งรวมผลิตภัณฑ์เด่นจาก ทุกตำบลหรือจังหวัดต่างๆ หรือเรียกว่าร้าน 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ และดูงาน SMRJ Incubation Centre หน่วยงานการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลของญี่ปุ่น SMRJ (The Organization for Small & Medium Enterprises and Regional Innovation, JAPAN) องค์กรอิสระภายใต้ METI เกิดจากการรวมตัวระหว่างภาครัฐแ ละเอกชน สถาบันการเงิน สถาบันวิจัยต่างๆ จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Incubation Centre) เพื่อเปิดกว้างให้ผู้ที่สนใจเข้ ามาทำวิจัยร่วมกันและพัฒนาผลิตภั ณฑ์ออกสู่ตลาด รวมถึงดูงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาห กรรม (Industrial Promotion Centre: IPC) หน่วยงานที่มีบทบาทส่งเสริมและส นับสนุนผู้ประกอบการในภาคอุตสาห กรรม (คล้าย SMRJ ต่างกันที่ IPC เป็นการสนับสนุนระดับจังหวัด ขณะที่ SMRJ สนับสนุนระดับประเทศ)