WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INDUS อตตม สาวนายนก.อุตฯ ขนนักลงทุนญี่ปุ่น 560 รายพบนายกฯ 11 ก.ย.พร้อมจับจองลงทุน EEC 13 ก.ย.นี้ ดึงจับคู่นักธุรกิจไทยกว่า 300 ราย

     ก.อุตฯ จับมือก.เมติของญี่ปุ่น ขนนักลงทุนญี่ปุ่น 560 รายพบนายกฯ 11 ก.ย.นี้ พร้อมจัดสัมมนา Symposium on Thailand 4.0 towards Connected Industries ในวันที่ 12 ก.ย. ก่อนให้จับจองลงทุน EEC 13 ก.ย. ดึงจับคู่นักธุรกิจไทยกว่า 300 ราย

      นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 11 – 13 ก.ย. นี้ คณะนักลงทุนญี่ปุ่นรายใหญ่ 560 ราย ที่นำโดย Mr. Hiroshige Seko รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) พร้อมด้วยหน่วยงานเศรษฐกิจภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิ สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (KEIDANREN), องค์การส่งเสริมการค้าของญี่ปุ่นกรุงเทพ (JETRO),องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA), องค์การสนับสนุน SMEs แห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) จะเดินทางมาหารือแนวทางการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น

      โดยในวันที่ 11 ก.ย.นี้ มีกำหนดการเดินทางเข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล นับเป็นการรวมตัวนักลงทุนที่มีจำนวนมากที่สุด เพื่อกระชับความสัมพันธ์ และสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกับประเทศไทย รวมทั้งขยายการลงทุนพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ยกระดับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตลอดจนแผนในการลงทุนด้านนวัตกรรม ระบบดิจิทัลและเทคโนโลยี โดยมียุทธศาสตร์ Connected Industries และ Thailand 4.0ที่จะนำพาทั้ง 2 ประเทศไปสู่เป้าหมายแบบต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ พร้อมเชื่อมเศรษฐกิจไทยไปสู่ระดับโลกได้มากขึ้น

      นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะเป็นหนึ่งในเจ้าภาพหลักในการจัดสัมมนา Symposium on Thailand 4.0 towards Connected Industries ในวันที่ 12 ก.ย.2560 เพื่อให้ทั้งนักลงทุนทั้งไทยและญี่ปุ่นเข้าร่วมรับฟังยุทธศาสตร์และแนวทางในการขับเคลื่อนพร้อมกัน พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นในการจับคู่ธุรกิจ ก่อนนำคณะเดินทางทั้งหมดลงพื้นที่ชมความพร้อมของอีอีซีในวันที่ 13 ก.ย.2560

     “ในกิจกรรมนี้จะมีนักลงทุนญี่ปุ่นรายใหม่เข้าร่วมประมาณเกือบ 600 ราย นักลงทุนและผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่อยู่ในไทยอยู่แล้วอีกประมาณ 400 ราย รวมทั้งผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็กของไทยอีกกว่า 300 ราย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมในประเภทอาหารและเกษตรแปรรูป ยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบการจากนิคมอุตสาหกรรม อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่ม SCG กลุ่มไทยเบฟ กลุ่มเซ็นทรัล อายิโน๊ะโมโต๊ะ คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น มิตซุยซูมิโตโม่อินชัวรันส์”

      ทั้งนี้ การนำคณะลงพื้นที่อีอีซีมีกำหนดการเยี่ยมชมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของนิคมอุตสาหกรรมบนพื้นที่จริง ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมเหมราช สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี ในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง อีกทั้งร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาและกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการลงทุน หรือเป็นที่ตั้งของสถานประกอบกิจการแต่ละประเภทไว้ให้ชัดเจน เพื่อให้พร้อมสำหรับนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่จะตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยได้ตรงกับความต้องการของแต่ละสาขา

     นายอุตตม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมยังมีแผนที่จะเร่งให้นักลงทุนญี่ปุ่นมีการลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจท้องถิ่น พร้อมอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในไทยมาก่อนให้มากขึ้น โดยหลังจากนี้จะหยิบยกมาตรการการเพิ่มสิทธิประโยชน์ และการแก้ไขกฎหมายบางส่วนที่เอื้อต่อการลงทุนเพื่อชักจูงนักลงทุนญี่ปุ่นและชาติอื่นๆ

       นอกจากนี้ กระทรวงฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังหวังเป็นอย่างยิ่งอีกว่า ผลที่จะได้รับที่นอกเหนือจากการที่ญี่ปุ่นจะลงทุนและใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและเกิดการลงทุนต่อไปยังเพื่อนบ้านมากขึ้นแล้วนั้น ยังจะเกิดการร่วมลงทุนการซื้อขายวัตถุดิบและชิ้นส่วน การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ (Smart Product) อาทิ ด้านยานยนต์ อาหารแปรรูป ทั้งยังจะเป็นหนทางไปสู่การพัฒนานวัตกรรมในสาขาใหม่ๆ ตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมอากาศยาน อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!