WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Aสมอผบรโภค

สมอ. จัดหนักย้ำชัดผู้บริโภคต้องมาก่อน ผนึกค่ายรถยนต์ ลงนามความร่วมมือยกระดับมาตรฐานเพื่อผู้บริโภค

ในพิธีลงนามข้อตกลง'การใช้ยางล้อที่ได้มาตรฐาน มอก'ระหว?าง กระทรวงอุตสาหกรรม และ ผู?ผลิตยานยนต?ในประเทศไทย

โดย สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ?อุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต?

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต?ไทย

       ปทุมธานี –กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จับมือสถาบันยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ทำ MOU ประกาศชัดผู้บริโภคมาอันดับหนึ่ง มาตรฐานและความปลอดภัยต้องอยู่ในขั้นสูงสุด และ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย วางแนวทางการตรวจสอบมาตรฐานยางล้อให้ผู้ประกอบการ มั่นใจมาตรฐานดีการันตีความเชื่อมั่น ใช้ยางล้อมาตรฐาน มอก. ทั้งในการประกอบรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และในศูนย์บริการ คาดปี ’61 เริ่มใช้ โดยมี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กรมการขนส่งทางบก บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน

แก้อุบัติเหตุบนท้องถนนที่ต้นเหตุ ยกระดับมาตรฐานขั้นสุด

      จากสถิติอุบัติเหตุที่รวบรวมโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการสำรวจสาเหตุของอุบัติเหตุที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ด้านผู้ขับขี่ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอุปกรณ์ที่ใช้ขับขี่ พบว่า ค่าเฉลี่ยในแต่ละปี มีอุบัติเหตุมากกว่า 43,000 ครั้ง โดยพบว่า 25% เป็นอุบัติเหตุที่การใช้ยางล้อที่ไม่มีมาตรฐาน หรือมีมาตรฐานด้านสมรรถนะ ความปลอดภัย หรือคุณภาพ แต่ไม่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การขับขี่ขณะฝนตก การลื่นไถล (ถนนลื่น) ถนนชำรุด การหยุดรถกระทันหัน หรือ การไม่สามารถหยุดรถได้ทันในระยะกระชั้นชิดจากการถูกตัดหน้า ซึ่งล้วนยังไม่มีการแยกสถิติชัดเจน  นอกจากนี้ ยังพบว่าอีกเป็น 6% เป็นอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากยางล้อแตกและเสื่อมสภาพ ดังนั้น หากล้อยางมีการตรวจสอบมาตรฐานที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในประเทศไทย แล้วย่อมส่งผลให้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นลดน้อยลง สามารถหลีกเลี่ยงการสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนได้

       กระทรวงอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความเสี่ยงดังกล่าว เพราะยางล้อเป็นเพียงส่วนเดียวที่สัมผัสกับพื้นถนน จึงเป็นส่วนสำคัญที่อยู่ระหว่างการเกิดอุบัติเหตุและความปลอดภัย ดังนั้นมาตรฐานในการทดสอบยางล้อจึงต้องมีความเหมาะสม โดยเฉพาะในสภาพประเทศไทยที่มีฝนตกมากและอุณหภูมิร้อนกว่าในหลายทวีป หากนำยางที่มาตรฐานเหมาะสำหรับการใช้งานในทวีปอื่นแต่ไม่เหมาะสมกับประเทศไทยมาติดตั้ง ยิ่งทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากยิ่งขึ้น ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย และผู้ใช้รถยนต์ เลือกใช้ยางล้อที่ได้มาตรฐาน มอก. เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้ใช้รถใช้ถนน

สมอ. ดันมาตรฐานมอก. ภารกิจคุ้มครองผู้บริโภค

      นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล เลขาธิการ สมอ. กล่าวว่า "สมอ. มีภารกิจสำคัญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทั้งการควบคุมและกำกับติดตามผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน “ยางล้อ” เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. ดำเนินการควบคุมด้านสมรรถนะความปลอดภัยโดยกำหนดให้เป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐานบังคับ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน ถ้าผลิตไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่เหมาะสมกับสภาพถนนและภูมิอากาศในประเทศ ขณะนี้มาตรฐานยางล้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่อยู่ในขั้นตอนของกฎหมายที่จะประกาศเป็นมาตรฐานบังคับมีจำนวน 4 มาตรฐาน ได้แก่ มอก.2718 – 2558 ยางล้อแบบสูบลมสำหรับรถยนต์และส่วนพ่วง มอก.2719 – 2558 ยางล้อแบบสูบลมสำหรับรถยนต์เชิงพาณิชย์และส่วนพ่วง มอก.2720 – 2558 ยางล้อแบบสูบลมสำหรับรถจักรยานยนต์และโมเปด มอก.2721-2559 การยึดเกาะถนนบนพื้นเปียก ความต้านทานการหมุน  และเสียงจากยางล้อที่สัมผัสผิวถนน ซึ่งทั้ง 4 มาตรฐานนี้ จะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2561 และเมื่อมาตรฐานมีผลบังคับใช้แล้ว ผู้ทำ ผู้นำเข้า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องขออนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับ สมอ." เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้

        นับเป็นความพยายามในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กับผู้ผลิตยานยนต์ในประเทศไทย ในการยกระดับมาตรฐานยางล้อให้อุบัติเหตุให้กลายเป็นศูนย์ ไม่ใช่แค่การใช้รถยนต์ที่มีมาตรฐานแล้วจะปลอดภัยเสมอ แต่ผู้ขับขี่เองก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งคัดเช่นกัน การบูรณาการความร่วมมือดังกล่าว เป็นการมองไปที่จุดเริ่มต้นของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับปัจจัยที่ 5 ของประชาชน อย่างรถยนต์รวมถึงยานยนต์ทุกประเภท ที่มีการซื้อขายอย่างต่อเนื่องโดยเห็นได้จากยอดขายรถยนต์ในแต่ละช่วงของปี อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้เราตระหนักถึงมาตรฐานความปลอดภัยที่ต้องให้ความสำคัญอย่างสูงสุด สมอ. คือ ผู้ดูแลด้านมาตรฐานและกฎระเบียบที่เหมาะสม ผู้ผลิตยานยนต์ คือ ผู้ผลิตสินค้าและบริการที่ดี มีคุณภาพ และจุดนี้คือสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายพยายามบูรณาการความร่วมมือ และยกระดับเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค

        ค่ายรถยนต์ขานรับ มาตรฐานความปลอดภัยสู่ความยั่งยืน เน้น “ผู้บริโภคมาอันดับหนึ่ง”

         นายองอาจ พงศ์กิจวรสิน ประธานกลุ?มอุตสาหกรรมยานยนต? สภาอุตสาหกรรมแห?งประเทศไทย พร้อมด้วย นายธนวัฒน? คุ?มสิน นายกสมาคม สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต?ไทย นำทัพลงนามข้อตกลงฯ ทุกค่ายขานรับเพราะได้ประโยชน์สูงสุดกับผู้บริโภค ลูกค้าผู้ใช้รถยนต์ ค่ายรถยนต์ต่างตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นอันดับหนึ่ง พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของ สมอ. และสถาบันยานยนต์ อย่างเต็มที่

      หลายบริษัทกำลังพยายามมุ่งสู่ความยั่งยืนซึ่งนับเป็นจุดสูงสุดของการดำเนินธุรกิจ โดยการดำเนินธุรกิจไปในแนวทาง 3 ด้าน คือ ด้านผลกำไร (profit) ด้านความรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ (planet) และด้านของคน (people) โดยในความร่วมมือดังกล่าวเรามีจุดร่วมเดียวกัน คือ คนหรือผู้บริโภค และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นสำคัญ

      พวกเราผลิตยานยนต์มาเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค หากใช้วัสดุที่ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เช่น การนำยางรถยนต์ที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น มาใช้ในประเทศไทยซึ่งมีอากาศร้อนชื้น ก็เท่ากับทำให้ผู้บริโภคเกิดความเสี่ยงโดยไม่สมควร ปัจจุบันการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากยางล้อยังไม่ถูกแยกออกจากการบันทึกสถิติอุบัติเหตุรวม จึงอาจเป็นจุดที่ทำให้ไม่ค่อยมีคนตระหนักถึงเมื่อเทียบกับความปลอดภัยของตัวรถยนต์ในด้านอื่น ๆ แต่พวกเราในฐานะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เพื่อตอบสนองผู้ใช้รถยนต์ในประเทศไทย ย่อมไม่สามารถมองข้ามการใช้ “ยางล้อ” ที่มีมาตรฐาน มอก. ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานประเทศไทย อันจะเป็นสิ่งที่จะพาผู้บริโภคไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัย ข้อตกลงฯ MoU นี้ ถือเป็นความร่วมมือเพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ ที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถยนต์รวมถึงประชาชนที่เดินทางบนท้องถนน ให้ก้าวไปสู่ความยั่งยืนด้วยกัน

       สมอ. เร่งโครงการศูนย์ทดสอบฯ สถาบันยานยนต์ขานรับเตรียมบริหารศูนย์ทดสอบฯ ต้นปี 2561 เพื่อมาตรฐานที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภค

       เพื่อให้ความร่วมมือดังกล่าวประสบผลสำเร็จ นอกเหนือจากบังคับใช?มาตรฐานด?านสมรรถนะ ความ ปลอดภัย และคุณภาพของยางล?อแล้วนั้น สมอ. มียังภาระกิจที่ต้องเร่งดำเนินโครงการศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติให้แล้วเสร็จตามกำหนดในช่วงต้นปี 2561 โดยเฟสแรกเป็นศูนย์ทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน มอก.2721-2559 การยึดเกาะถนนบนพื้นเปียกฯ  ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจต่อทั้งค่ายรถยนต์และผู้บริโภค นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ประธานกรรมการสถาบันยานยนต์ กล่าวถึงความพร้อมในด้านนี้ว่า “ทางสถาบันยานยนต์เองก็ได้เตรียมความพร้อม ในการ

      บริหารห?องทดสอบและสนามทดสอบยางล้อ ด้วยการเตรียมการและฝึกฝนบุคลากรให้มี

      ความชำนาญ เพื่อรองรับการทดสอบมาตรฐานที่กำลังจะเกิดขึ้น และสร้างความมั่นให้กับผู้บริโภคในการเลือกใช้ยางล้อที่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน มอก.”

      “หลังจากนี้ทุกฝ่ายจะมีการบูรณาการความร่วมมือในการประชาสัมพันธ? และรณรงค?ถึงความสําคัญของการใช?ยางล?อที่ได?มาตรฐาน มอก. ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศและการใช?งานในประเทศไทย รวมถึงการสร?างกิจกรรมเพื่อรณรงค?ความปลอดภัย ต่อสังคมและสิ่งแวดล?อมร?วมกัน ต่อไป” นายศิริรุจ กล่าวปิดท้าย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!