WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

INDUSอตตม สาวนายนสมคิด'บี้ธนาคารเร่งช่วยเอสเอ็มอีสสว.ปั้นธุรกิจใหม่

      ไทยโพสต์ : พระราม 6 *'สมคิด' จี้สถาบันการเงินหั่นดอกเบี้ยอุ้มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพิ่มช่องทางเข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้น ด้าน บสย.เคาะปรับเกณฑ์โครงการ PGS 6 สสว.เร่งสร้างผู้ประกอบการใหม่ 10,000 รายใน 3 ปี

      นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ได้เข้าพบและหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และสมาคมธนาคารไทย ถึงแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินมากขึ้น โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือสถาบันการเงินของรัฐ และสถาบันการเงินเอกชน ให้ลดอัตราดอกเบี้ยเอสเอ็มอีลง จากปัจจุบันมีการบวกเพิ่มจากอัตราดอกเบี้ยธนาคารปกติถึง 3-5%

       ทั้งนี้ การลดอัตราดอก เบี้ยให้เอสเอ็มอีของสถาบันการเงิน เชื่อว่าจะต้องพิจารณา จากต้นทุนทางการเงินของแต่ละแห่ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยจะไม่เท่ากันทุกแห่ง แต่ก็จะ ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีภาระที่ลดน้อยลงมากกว่าเดิม ขณะที่ บสย.ได้เสนอการ ปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี ทวีทุน ระยะที่ 6 (PGS 6) ให้กระ ทรวงการคลังพิจารณาแล้ว คาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบได้ในสัปดาห์หน้า และในเดือน ส.ค.นี้ จะสามารถใช้หลักเกณฑ์ใหม่ได้ทันที ซึ่งจะเป็นการผ่อนปรนเงื่อนไขให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อและ บสย.ค้ำประกันได้มากขึ้น

       ด้านนางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการยกระดับการแข่งขันของประเทศ จึงมอบหมายให้ สสว.เป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้น จึงตั้งเป้าหมายสร้างเอสเอ็มอีรายใหม่ไม่ต่ำกว่า 10,000 รายภายใน 3 ปี (2559-61)

       นอกจากนี้ สสว. ยังมีกองทุนให้กู้ยืมรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่คิด อัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นทุน หมุนเวียนตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นของรัฐบาล และได้ร่วมมือกับหอ การค้าไทย เตรียมจัดงานแสดง สินค้าภายในประเทศ เพื่อนำเอสเอ็มอีใหม่จำนวน 1,500 ราย ในภาคธุรกิจอาหาร เครื่อง ดื่ม เสื้อผ้า เครื่องสำอาง และบริการ ร่วมกิจกรรมทดสอบตลาดในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พร้อมกันทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศในเดือน ก.ย.2560 นี้.

'สมคิด'จี้แบงก์ลดดอกเบี้ยช่วย SME เข้าถึงแหล่งเงินทุน

      แนวหน้า : นายนิธิศ มนุญพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ได้เข้าพบและหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และสมาคมธนาคารไทย ถึงแนวทางการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินมากขึ้น โดยรองนายกรัฐมนตรีได้ขอความ ร่วมมือสถาบันการเงินของรัฐ และสถาบัน การเงินเอกชน ให้ลดอัตราดอกเบี้ยเอสเอ็มอีลง จากปัจจุบันมีการบวกเพิ่ม จากอัตราดอกเบี้ยธนาคารปกติถึง 3-5%

      ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยให้เอสเอ็มอีของสถาบันการเงิน เชื่อว่าจะต้องพิจารณาจากต้นทุนทางการเงินของแต่ละแห่ง ทำให้อัตราดอกเบี้ยจะไม่เท่ากันทุกแห่ง แต่ก็จะทำให้ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี มีภาระที่ลดน้อยลงมากกว่าเดิม

      นายนิธิศ กล่าวว่า สำหรับการช่วยเหลือ เอสเอ็มอี ในส่วนของ บสย.ได้เสนอการปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี ทวีทุน ระยะที่ 6 หรือ พีจีเอส 6 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว คาดว่าจะเสนอเข้า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ได้ในสัปดาห์หน้า และในเดือนสิงหาคม 2560 สามารถใช้หลักเกณฑ์ใหม่ได้ทันที ซึ่งจะเป็นการผ่อนปรนเงื่อนไขให้ธนาคาร ปล่อยสินเชื่อและ บสย.ค้ำประกันได้มากขึ้น

      สำหรับ หลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงจะมีการลดค่าธรรมเนียม 4 ปีแรก เฉลี่ย 3% โดยจะขอรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย ฟรีค่าธรรมเนียมปีแรก ปีที่ 2 อัตรา 0.5% ปีที่ 3 อัตรา 1% และปีที่ 4 อัตรา 1.5% จากปัจจุบันผู้ประกอบการรับภาระ ดอกเบี้ยเองทั้งหมด 1.75% และปรับเงื่อนไขจ่ายประกันความเสี่ยงกรณี เอสเอ็มอีเป็นหนี้เสียจากเดิม 23.75% เป็น 30% เช่น เงินลงทุน 100 บาท เป็นหนี้เสีย 40 บาท  บสย.จะจ่าย 30 บาท ที่เหลือธนาคารจ่าย 10 บาท ซึ่งกระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างคำนวณงบประมาณที่จะขอ ครม. ว่าจะมีจำนวนเท่าไร

      ทั้งนี้ เชื่อว่าการปรับปรุงเงื่อนไข พีจีเอส 6 จะทำให้ลดภาระธนาคารด้านชดเชยความเสี่ยงกรณีเป็นหนี้เสีย ทำให้ธนาคารพิจารณาปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น และจะทำให้ บสย.ค้ำประกันพีจีเอส 6 ได้เพิ่ม 6-7 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันปล่อยไปเพียง 1.7 หมื่นล้านบาท ของวงเงิน 1 แสนล้านบาท ส่วนยอดจ่ายภาระค้ำประกันหนี้เสีย หรือ NPG ในครึ่งปีแรกอยู่ที่ 10% ของยอดค้ำประกัน ทั้งหมด 3.34 แสนล้านบาท

สสว.จับมือแบงก์รัฐ-หอการค้าพา SMEs ใช้ห้างเซ็นทรัลฯทั่วปท.ทดสอบตลาด ก.ย.หวังปั้นหน้าใหม่ 3 พันรายปีนี้

       นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวถึงผลการดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ตามนโยบายรัฐบาลว่า สสว.ประสานพลังประชารัฐ ดึงธนาคารรัฐหนุนเงินทุนเริ่มต้นและหมุนเวียน และจับมือหอการค้าไทยเตรียมพา SMEs ใหม่ 1,500 ราย ทดสอบตลาดในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าพร้อมกันทั่วประเทศเดือน ก.ย.นี้

       ทั้งนี้ สสว.ตั้งเป้าหมายปี 60 สร้างผู้ประกอบการใหม่ในภาคเกษตรและธุรกิจอื่น ๆ อีกไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย และภายใน 3 ปี (ปี 59-61) ตั้งเป้าหมายสร้าง SMEs รายใหม่ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย

       "ผลการบ่มเพาะ SME รายใหม่ปี 59 สมัครเข้าโครงการ 11,065 ราย ขั้นทำแผนธุรกิจ 5,527 ราย สานพลังประชารัฐดึงธนาคารรัฐหนุนเงินทุนเริ่มต้นและหมุนเวียน พร้อมจับมือหอการค้าไทย เตรียมพา SME ใหม่ 1,500 ราย ทดสอบตลาดในศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า พร้อมกันทั่วประเทศเดือนกันยายนนี้ ตั้งเป้าหมายปี 60 สร้างผู้ประกอบการใหม่ในภาคเกษตรและธุรกิจอื่น ๆ อีกไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย คาดภายใน 3 ปี ปั้นนักรบเศรษฐกิจใหม่ได้ 10,000 ราย"นางสาลินี กล่าว

       ในปี 59 สสว.ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 9 แห่งทั่วประเทศดำเนินโครงการบ่มเพาะ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 11,065 ราย เป็น 1.บุคคลทั่วไปและนักศึกษาที่ยังไม่เคยทำธุรกิจ 5,563 ราย 2.บุคคลทั่วไปที่ทำธุรกิจอยู่แล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียน 3,785 ราย 3.ธุรกิจที่จดทะเบียนไม่เกิน 3 ปี 1,095 ราย และ 4.วิสาหกิจชุมชน 622 ราย โดยขมีผู้เข้าร่วมโครงการผ่านเข้าสู่ขั้นทำแผนธุรกิจร่วมกับ มทร.และพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นนักธุรกิจในท้องถิ่นจำนวน 5,527 ราย พบว่าแผนธุรกิจมีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ 2,143 ราย เป็นภาคการผลิต 1,498 ราย และบริการ 645  ราย

      สำหรับ SMEs ใหม่มีความต้องการด้านเงินทุนและช่องทางการตลาด สสว.ได้ประสานกับธนาคารรัฐ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารออมสิน เพื่อให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาอนุมัติ นอกจากนี้ สสว.ยังมีกองทุนให้กู้ยืมรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นของรัฐบาล และได้ร่วมมือกับหอการค้าไทย เตรียมจัดงานแสดงสินค้าภายในประเทศ เพื่อนำ SMEs ใหม่จำนวน 1,500 ราย ในภาคธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า เครื่องสำอาง และบริการ ร่วมกิจกรรมทดสอบตลาดในศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า พร้อมกันทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศในเดือน ก.ย.นี้

       ทั้งนี้ จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ที่ผ่านเข้าสู่ขั้นทำแผนธุรกิจในปี 59 ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรถึง 1,470 ราย ในปี 60 สสว.จึงมีโครงการบ่มเพาะ SMEs เกษตร โดยขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) คัดเลือกเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ (Smart Farmer) เข้าร่วมโครงการฯ 5,489 ราย และผู้สนใจทำธุรกิจทางด้านอื่นอีก 5,190 ราย รวมเป็นจำนวนที่เข้ารับการบ่มเพาะในปี 60 ทั้งสิ้น 10,679 ราย ส่วนใหญ่อายุ 20-40 ปี สสว.ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัย 8 แห่งในทุกภูมิภาคของประเทศและสภาอุตสาหกรรมทำหน้าที่บ่มเพาะ โดยจะเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ

      ผู้อำนวยการ สสว.กล่าวว่า สสว.จะดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 61 ตั้งเป้าจะสามารถสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย โดยผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการแต่ไม่สามารถผ่านเข้าสู่ขั้นทำแผนธุรกิจที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการในปีต่อไปได้

รมว.อุตสาหกรรม เตรียมเสนอครม.พิจารณาขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ SME

       นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวถึงผลการหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (24 ก.ค.) ถึงแนวทางการช่วยเหลือและเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเบื้องต้นจะกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อมากขึ้นให้กับผู้ประกอบการ SME ทุกกลุ่มที่กำลังปรับตัวพัฒนายกระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนกู้ยืมได้ โดยจะใช้แนวทางดำเนินงานของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลัก โดยเฉพาะการพิจารณาขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีของ บสย. จากปัจจุบันอยู่ที่ 23% โดยเตรียมเสนอมาตรการขยายวงเงินค้ำประกันดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (25 ก.ค.)

      “การขยายแนวทางการขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีของบสย. จาก 23% เป็น 30% เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งนโยบายการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก" นายอุตตม กล่าว

       นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะใช้เวทีของงานไทยแลนด์ อินดัสทรี เอ็กซ์โป 2017 ระหว่างวันที่ 25-30 ก.ค.60 จัดสัมมนาให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ถึงแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 การผลิตผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี การปรับตัว 4.0 ซึ่งจะมีบุคลากรจากประเทศเยอรมนี ต้นแบบ 4.0 และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นหรือเจโทร มาร่วมถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้ด้วย

      รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ภาคการผลิตทั่วโลกกำลังมีการปรับเปลี่ยนการพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิตัลในกระบวนการผลิตทั้งระบบ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งจากเศรษฐกิจภายในประเทศให้มากขึ้น

      ทั้งนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจมาหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตั้งแต่ไทยแลนด์ 1.0 ที่เน้นภาคการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่ไทยแลนด์ 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา ไทยแลนด์ 3.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา จนถึงปัจจุบันที่แม้เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น แต่ประเทศไทยยังไม่หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ยังมีความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งและความไม่สมดุลในการพัฒนา จึงเป็นเหตุผลหลักในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เน้นสร้างความเข้มแข็งในทุกภาคส่วน ภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0

             อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!