WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIEศรรจ จลกะรตนสศอ.จับมือกฟน.-กฟภ.เชื่อมโยงใช้ข้อมูลความต้องการใช้ไฟฟ้า พัฒนาดัชนี MPI ให้ครอบคลุมหมวดอื่นนอกเหนือภาคการผลิต

     นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง(MoU) ว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการใช้ไฟฟ้าร่วมกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เพื่อพัฒนาโครงการนำร่องจัดทำดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เพื่อขยายความคลอบคลุมให้มากกว่าภาคการผลิต พร้อมผลักดันใช้ระบบ Big Data เชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

      "พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ จะช่วยให้ สศอ.มีความเชื่อมโยงข้อมูลเป็นรายเดือนกับหน่วยงานการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งข้อมูลดังกล่าว จะเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมให้มีความครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น รวมถึงการคาดการณ์แนวโน้มที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ" ผู้อำนวยการ สศอ.กล่าว

       ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมมีแผนงานและเป้าหมายในการพัฒนาดัชนีอุตสาหกรรมให้ขยายความครอบคลุมไปสู่หมวดต่าง ๆ นอกเหนือจากภาคการผลิต (หมวด C) ตามมาตรฐานการจัดหมวดหมู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามคำแนะนำขององค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) ให้ความครอบคลุมในหมวดอื่น โดยจะริเริ่มที่หมวดไฟฟ้า, ก๊าช, ไอน้ำ (หมวด D) ซึ่งได้มีความเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และมีความพร้อมด้านข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม

      ข้อมูลด้านความต้องการใช้ไฟฟ้าเป็นข้อมูลที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ประกอบการจัดทำตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นพลังงานหลักของแต่ละสาขาอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ข้อมูลในการประกอบการคาดการณ์แนวโน้มสำคัญในภาคอุตสาหกรรม พร้อมไปกับการคาดการณ์การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมได้อีกด้วย นับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงของข้อมูลนอกเหนือจากวิธีการสำรวจแบบเดิม

       นายศิริรุจ กล่าวต่อว่า การดำเนินการในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ก้าวสำคัญในการปฏิวัติการจัดทำข้อมูล Manufacturing Production Index (MPI) ไปสู่ Industrial Production Index โดยสามารถดำเนินการพยากรณ์ข้อมูลภาคการผลิตและอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งภาคบริการที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันได้อย่างแม่นยำมากขึ้น นอกเหนือจากการพิจารณาเฉพาะหน่วยย่อยทางสถิติในรูปแบบเดิม คือการสำรวจข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม (Establishment) ทั้งนี้ ประเทศสำคัญ อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ได้มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้า และหมวดอื่น ๆ ควบคู่ในการเป็นเครื่องมือชี้ทางเศรษฐกิจที่สามารถพยากรณ์ข้อมูลภาคการผลิตในรายสาขาอุตสาหกรรมในภาพทัศน์ (Scenario) หรือทางเลือกนโยบายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

โดยประเด็นในการลงนามความร่วมมือมีรายละเอียด ดังนี้

     1.การสร้างความเชื่อมโยงข้อมูลของการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนและดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยก่อให้เกิดการใช้ข้อมูลในการถ่ายทอด แลกเปลี่ยน และสร้างองค์ความรู้ เพื่อนำมาสู่การใช้ประโยชน์ของข้อมูลภาคอุตสาหกรรมและบริการ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ

     2.การสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อยกระดับในการจัดทำดัชนีภาคอุตสาหกรรมไปสู่มาตรฐานสากล รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพข้อมูลภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ

      3.การใช้ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ดัชนีอุตสาหกรรม รวมทั้งการติดตาม/วิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการนำร่องในการเปลี่ยนแปลงจาก MPI (Manufacturing Production Index) ไปสู่ IPI (Industrial Production Index)

      4.เพื่อนำไปประกอบการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนโรงงานและผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์กรอบตัวอย่างในการสำรวจดัชนีอุตสาหกรรมที่เหมาะสม ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้ข้อมูลภาคอุตสาหกรรมที่มีความรวดเร็ว สามารถทวนสอบข้อมูลในลักษณะพลวัตร (Dynamic) มากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ การเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลจากหลายหน่วยงานในภาครัฐ จะเป็นการยกระดับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่แล้วเพื่อตอบสนองความต้องการผู้รับบริการ อาทิ ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป อย่างตรงความต้องการมากขึ้น สร้างความสามารถในการแข่งขันจากระดับองค์กรองค์กรขยายไปสู่ความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรด้วยกระบวนการดังกล่าวจะก่อให้เกิดกลไกในการขับเคลื่อนข้อมูล (Data Driven Enterprise) ซึ่ง สศอ.มีความพยายามที่จะผลักดันโดยใช้กลยุทธ์ เครื่องมือ เทคโนโลยี ที่จะช่วยขับเคลื่อน อาทิ Big Data ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

      "ในฐานะภาครัฐที่ต้องวิเคราะห์ถึงความต้องการเพื่อนำเสนอคุณค่าใหม่ ๆ ให้กับผู้รับบริการ กล่าวได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการนำไปสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่า (Value Driven Enterprise) ซึ่งนับเป็นการสอดคล้องนโยบายภาครัฐที่ต้องการปรับโฉมให้เดินหน้าไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)" นายศิริรุจกล่าว

           อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!