- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Monday, 18 August 2014 19:46
- Hits: 2927
กนอ.ลุ้นสิ้นปีขายที่ดิน 4,000 ไร่ เร่งตั้งบริษัทลูก-เป้ารายได้ 4 หมื่นล.
ไทยโพสต์ *กนอ.เผยไตรมาส 3 ปีงบฯ 2557 ยอดขายพื้นที่นิคมทะลุ 2.7 พันไร่ คาดทั้งปีได้แน่ 3.5-4 พันไร่ ตั้งเป้าปี 2558 จะมียอดขาย 4 พันไร่ ดูดเม็ดเงินลงทุนกว่า 4 หมื่นล้านบาท พร้อมลุยตั้งบริษัทลูกบุกประเทศเพื่อนบ้าน
นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงยอดขายพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมว่า จากสถิติยอดขายพื้นที่ในไตรมาส 1-3 ของปีงบประมาณ 2557 (ต.ค.2556-มิ.ย.2557) มีจำนวน 2.7 พันไร่ และคาดว่ายอดขายทั้งปีงบประมาณจะอยู่ในระดับ 3.5-4 พันไร่ ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เกิดเม็ดเงินลงทุนประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท แต่ก็ต่ำกว่ายอดขายพื้นที่ในปี 2556 ที่มียอดขาย 5.5 พันไร่ ส่วนในปีหน้าคาดว่าจะมียอดขายพื้นที่ในนิคมฯ ประมาณ 4 พันไร่ จะมีเงินลงทุนประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เนื่องจากมีการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ชัดเจน และได้รับแรงกระตุ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปลายปี 2558
"ในปีนี้จะมียอดการเปิดนิคมฯ แห่งใหม่ที่ดำเนินงานโดย กนอ.เอง และการลงทุนของภาคเอกชนรวม 7 แห่ง มีพื้นที่อุตสาหกรรมเพิ่มประมาณ 1.5 หมื่นไร่ ขณะที่ในปี 2558 คาดว่าจะมีนิคมฯ เกิดใหม่ประมาณ 5-7 แห่ง โดยจะเป็นนิคมฯ ที่ กนอ.ดำเนินงานประมาณ 1-2 แห่ง ส่วนนิคมของเอกชนคาดว่าจะมีตั้งขึ้นใหม่อีกประมาณ 4-5 แห่ง" นายวีรพงศ์กล่าว
สำหรับ นโยบายการออก ไปลงทุนตั้งนิคมฯ ในต่างประ เทศ จะเร่งเดินหน้าตั้งบริษัท กนอ.อินเตอร์ จำกัด เพื่อเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ โดย กนอ.มีแผนที่จะศึกษาการเข้าไปตั้งนิคมฯ ในประเทศเพื่อนบ้านเชื่อม โยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชาย แดน ตามนโยบายของคณะรัก ษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งในเบื้องต้นจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของไทย ได้แก่ แนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ ใต้ จะเข้าไปศึกษาการตั้งนิคมฯ ในเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เพื่อเชื่อมต่อกับเขต เศรษฐกิจพิเศษเชียงของ จ.เชียง ราย นิคมฯ ในพื้นที่ภาคกลางลงไปถึงนิคมฯ จ.สงขลา เชื่อมโยงไปจนถึงประเทศมาเลเซีย
นอกจากนี้ จะเป็นระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกไปยังตะวันออก โดยจะเข้าไปศึกษาการตั้ง นิคมฯในพื้นที่เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ เชื่อมต่อกับเขตเศรษฐ กิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก ไปจนถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.มุกดาหาร เชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว โดยจะ เข้าไปศึกษาการตั้งนิคมฯ ในแขวงสุวรรณเขต และแนวระ เบียงเศรษฐกิจเชื่อมโยงประเทศเมียนมาร์ไปยังกัมพูชา โดย กนอ. จะเข้าไปศึกษาการตั้งนิคมฯ ทวาย ประเทศเมียนมาร์ เชื่อมต่อกับ เขตเศรษฐกิจพิเศษพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี ไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนอรัญประเทศ จ.สระแก้ว เชื่อมโยงเศรษฐกิจไปยังกัมพูชา ซึ่งจะเข้าไปศึกษาการตั้งนิคมฯ ใน จ.ปอยเปต ประ เทศกัมพูชา
ส่วนความคืบหน้าในการตั้งบริษัท กนอ.อินเตอร์ จำกัด กนอ.ได้เตรียมที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ กนอ. จากนั้นก็จะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ชุดใหม่เพื่ออนุมัติต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 8 เดือน-1 ปี ในการก่อตั้งบริษัท โดย กนอ.จะถือหุ้นไม่เกิน 49% ส่วนที่เหลือจะเป็นการร่วมลงทุนกับบริษัทพันธมิตร.