- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Saturday, 11 February 2017 11:56
- Hits: 3876
กลุ่มมิตรผล-สกว. ปั้นนักวิจัยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ กลุ่มมิตรผล จับมือ สกว. ปั้นบุคลากรวิจัยทั้งป.โท-เอก เพื่อสร้างนวัตกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลไทยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ โดยมุ่งเทคโนโลยีชีวภาพและการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หวังผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่แบบก้าวกระโดด สอดรับนโยบายประเทศไทย 4.0
กลุ่มมิตรผล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับนักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ณ สำนักงานใหญ่
กลุ่มมิตรผล เพื่อสร้างนวัตกรรมต่อยอดอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยสู่เศรษฐกิจชีวภาพ ผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) เพื่อสร้างวงจรการเติบโตแบบก้าวกระโดดครั้งใหม่
มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0
ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ สกว. ได้ร่วมมือกับกลุ่มมิตรผลในการยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วยงานวิจัย เพื่อตอบสนองนโยบายของประเทศที่จะก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยเริ่มตั้งแต่
การพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรสมัยใหม่ ที่ใช้การผสมผสานระหว่างความรู้ดั้งเดิมและเครื่องจักรกลอัจฉริยะเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ตลอดจนการสร้างฐานเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ให้อุตสาหกรรมไทยมีความเข้มแข็งและอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันในตลาดสากล ซึ่งการพัฒนานี้จะรวมถึงการพัฒนากำลังคนที่มีศักยภาพ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยทั้งสองหน่วยงานมีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนาบุคลากรวิจัยระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพให้แก่กลุ่มมิตรผล ซึ่งมีโจทย์วิจัยที่ชัดเจน เป็นการใช้ประสบการณ์เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการงานวิจัยของ สกว. ภายใต้ทุน พวอ. และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของทุกฝ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะร่วมกันจัดสรรงบประมาณฝ่ายละ 50% ไม่จำกัดจำนวนทุน ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 -30 กันยายน 2564 (ปีงบประมาณ 2560 - 2564)
ด้าน นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า วิสัยทัศน์ใหม่ของกลุ่มมิตรผลกำลังมุ่งสู่การขับเคลื่อนธุรกิจฐานชีวภาพ (Bio-Based) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด สอดรับนโยบายประเทศไทย 4.0 โดยกลุ่มมิตรผลให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงบุคลากรด้านการวิจัย ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการต่อยอดธุรกิจในกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ซึ่งจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือกับ สกว. ในครั้งนี้ เรามุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญ
ในการพัฒนาต่อยอดพืชเศรษฐกิจ รวมถึงเทคโนโลยีการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย
สำหรับรายละเอียดความร่วมมือนั้น กลุ่มมิตรผลจะดำเนินการคัดเลือกนักวิจัยขององค์กรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเข้ารับทุนศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ตามหลักสูตรการเรียน โดยมี สกว. เป็นผู้สนับสนุนทุนการศึกษาวิจัยครึ่งหนึ่ง ตามมาตรฐานของโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ซึ่งความร่วมมือในครั้งแรกนี้กลุ่มมิตรผลมีนักวิจัยเข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 10 คน แบ่งเป็นการศึกษาระดับปริญญาโท 8 คน และระดับปริญญาเอก 2 คน นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในเข้าถึงการศึกษาของบุคลากร กลุ่มมิตรผลยังได้ร่วมมือกับภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำหลักสูตรการเรียนแบบ Non-Coursework เป็นรายแรกในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยเอื้ออำนวยให้นักวิจัยสามารถทำงานวิจัยไปพร้อมกับมีการเรียน
การสอนในองค์กร เสมือนเป็นการยกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยมาอยู่ภายในสถานที่ทำงาน
ทั้งนี้ โครงการวิจัยของนักวิจัยจากกลุ่มมิตรผลในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ได้รับการสนับสนุนตามขอบเขตงานวิจัยของ พวอ. มี 4 หัวข้อหลัก ได้แก่
การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์อ้อย
การพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์อ้อยและน้ำตาล
การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งด้วยกระบวนการ Bio-Refinery
การสร้างเสริมระบบการจัดส่งและจัดเก็บวัตถุดิบ
ความร่วมมือของกลุ่มมิตรผล และ สกว.ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจคลื่นลูกใหม่อย่าง Bioeconomy เท่านั้น แต่ยังถือเป็นการสร้างกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งถือเป็นบุคลากรที่สำคัญในการช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งประเทศไทยยังคงต้องการบุคลากรด้านการวิจัยระดับปริญญาเอกอีกกว่า 4,000 คนต่อปี เพื่อขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
Mitr Phol Group joins force with TRF to empower innovation research Leveling up Thai sugar and sugarcane industry in moving towards bio economy and creating new S-Curve for Thailand 4.0
Mitr Phol Group and The Thailand Research Fund (TRF) under Research and Researchers for Industry (RRi) Program signed a memorandum of understanding for supporting postgraduate research project in biotechnology, aiming to encourage the creation of innovations that elevate Thai sugar and sugarcane production industry as a movement toward a competitive bio economy, driving new S-Curve, new cycle of leaping growth that aligns with the government’s innovation and technology-driven Thailand 4.0 policy.
Prof. Suthipun Jitpimolmard, Director, The Thailand Research Fund (TRF) said that “The collaboration with Mitr Phol Group is a great opportunity to elevate Thai industrial sector through research, in response to the country’s development towards knowledge-based economy. The development of agricultural sector requires modern innovation that combines traditional farming knowledge with intelligent machinery to maximize crop yield per unit area, as well as the movement towards bio economy and value creation for agricultural products, which can strengthen and level up the competitiveness of Thai industrial sector in international markets. The development comprises building competent workforce and creating new researches. Both Mitr Phol Group and TRF share the same vision to jointly support post-graduate research workforce in developing new researches for Mitr Phol Group. The project supports research topics with practical purposes, well-proven to optimize TRF’s research management expertise in Research and Researchers for Industries Program and limited resources of all parties. TRF and Mitr Phol Group will each provide half the funding for each scholarship, unlimited in number, for a period of five years starting October 1, 2016 until September 30, 2021 (fiscal year 2017 - 2021).”
According to Mr. Krisda Monthienvichienchai, CEO and President, Mitr Phol Group, “Our new vision is to drive our bio-based business as a new S-Curve, aiming at bringing a leaping economic growth towards Thailand 4.0. Mitr Phol Group is highly committed to research and development for new innovation and technology as well as fully supports our research workforce. R&D is crucial for expanding our business as a movement toward a bio economy, which bring value addition to Thai economy, as well as Thai agriculture sector and the environment. The partnership with TRF focuses on development of research workforce in the field of biotechnology, which is essential to bring added value to economic crops, and eco-friendly farm management innovation and technology for sugar and sugarcane production industry.”
Under the collaboration, Mitr Phol Group will select qualified in-house researchers who are master’s or doctoral degree students to grant scholarship, and TRF and Mitr Phol Group will each provide half the funding for each scholarship. In the first batch, there are 10 researchers from Mitr Phol, 8 master’s degree students and 2 doctoral degree students, entitled for the scholarship. Moreover, Mitr Phol Group joined hands with Department of Biotechnology, Faculty of Agro- Industry; Kasetsart University to launch the first-of-its-kind Non-Coursework curriculum, which allows researchers to work and learn concurrently in the company, with university classes conducted to the workplace.
Research topics entitled to gain support from the project include:
Sugarcane variety improvement
Processing technology for value creation of sugar and sugarcane products
Value creation of waste from bio-refinery processes
Improvement of raw material shipping and storing systems
The partnership between Mitr Phol Group and TRF not only brings about new research papers on biotechnology which leads to the mature development of bio economy in Thailand, but also build new competent research team, a major workforce that help drive the country’s economic sector towards Thailand 4.0. In moving toward an innovation-driven economy, Thailand requires 4,000 researchers with doctor’s degree annually.