WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ'สมคิด`สั่งก.อุตฯ เดินหน้าประเทศไทย 4.0 บนฐานศก.ชีวภาพคู่เทคโนโลยี จัดโครงการลง EEC ให้ชัดเจนในปีนี้

   'สมคิด' สั่งก.อุตฯ เดินหน้าประเทศไทย 4.0 บนฐานเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bioeconomy หนุนภาคเกษตรเข้มแข็งควบคู่เทคโนโลยี สั่งหาโครงการจัดลงระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ให้ชัดเจนในปีนี้ ลั่นจะไม่ให้น้อยหน้าสิงคโปร์

    นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานในพิธีผนึกพลังประชารัฐ เดินหน้า เศรษฐกิจชีวภาพ ขับเคลื่อนการลงทุนและนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชาติว่า ในการสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bioeconomy ซึ่งเป็นการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรม New S-Curve เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและนวัตกรรม ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 พร้อมจัดการรูปแบบเกษตรสมัยใหม่ โดยจะมีเป้าหมาย 4 ข้อ ประกอบด้วย

     ข้อ 1.ตั้งเป้าหมายให้สูง โดยจะยกระดับพืชเกษตรทุกชนิด ไม่เฉพาะที่นำร่อง คือ มันสำปะหลัง และอ้อยเท่านั้น 

     ข้อ 2 คือ ต้องทำให้ดีตลอด คือ ตนได้สั่งการให้นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นในส่วนของหัวหน้าทีมภาครัฐ ในคณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ไปดูแนวทางว่าจะทำอย่างไรในการสร้างเมืองใหม่บนเศรษฐกิจชีวภาพและนวัตกรรมครบวงจร หรือ Biopolis ได้เหนือสิงคโปร์ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทยมีพร้อมทุกอย่างโดยเฉพาะการเป็นอุตสาหกรรมภาคเกษตร ดังนั้นจะต้องไปคิดไปทำว่าอะไรที่สิงคโปร์มี ไทยจะต้องมี หรือจะต้องมีให้เหนือกว่า ห้ามด้อยกว่าเด็ดขาด

     ตั้งเป้าไว้ว่าเราจะต้องไม่มีอะไรที่ด้อยกว่าสิงคโปร์ อย่าทำให้ใครขายหน้า เขามีอะไรเราต้องมี หรือไม่เราก็ต้องมีให้มากกว่า เราห้ามน้อยหน้าว่าประเทศที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมเกษตรเด็ดขาดนายสมคิด กล่าว

      ข้อที่ 3 คือ Inclusive growth หรือการเติบโตโดยรวมนั้น ที่ผ่านมาที่รัฐบาลดำเนินการนั้น ไม่ได้การทำเพื่อเอกชน แต่ทำเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ ภาคเกษตรได้ประโยชน์อะไรบ้าง และเมื่อดำเนินการแล้วไม่ไปทำลายระบบนิเวศน์ ทุกสิ่งต้องเกื้อกูลกัน 

      ที่ผ่านมา ผมอาจจะพูดผิดไป ในการเชื่อมโยงของประเทศไทย 4.0 ในใจของผมไม่ได้เน้นที่เทคโนโลยี แต่คือ ทำอย่างไรให้ไทยยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ภาคชนบท เกษตรมีความเข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขัน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นี่คือความตั้งใจนายสมคิด กล่าว  

      ข้อที่ 4 ได้สั่งการให้นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไปดูระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ที่จะต้องทำให้ชัดเจน จะลงที่ไหน ทำตรงไหนบ้าง นำอุตสาหกรรมอะไร ต้นแบบคือแบบไหน จะมีการลงทุนอย่างไร แบบไหน ซึ่งจะต้องมีความชัดเจนภายในปี 2560

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

รัฐ - เอกชนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ ประเดิมพื้นที่ EEC นำร่อง ฟากเอกชนวางงบพัฒนา 10 ปี 4 แสนลบ.

   รัฐ-เอกชนผลึกพลังประชารัฐ สร้างเศรษฐกิจชีวภาพ ประเดิมพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC นำร่อง  หนุนภาคเกษตร-  5 อุตสาหกรรม ฟากเอกชนพร้อมเดินหน้าวางงบลงทุนพัฒนา Bioeconomy ระดับ 400,000 ล้านบาท จนถึงปี 2569

    นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้าทีมภาครัฐ คณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เปิดเผยในงานผนึกพลังประชารัฐ เดินหน้า เศรษฐกิจชีวภาพ ขับเคลื่อนการลงทุนและนวัตกรรม สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชาติว่า ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา Bioeconomy เป็นกระแสโลกที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เนื่องจากภาวะโลกร้อน ความต้องการอาหารและพลังงานสะอาดที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกลดลงหลายประเทศจึงเร่งจัดทำ Bioeconomy Blueprint ของประเทศอย่างจริงจังและนำเทคโนโลยีในด้านเกษตรกรรม เทคโนโลยีชีวภาพและสหเวชศาสตร์ มาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงและหลากหลายเพื่อผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพให้กับประเทศ 

    สำหรับ การขับเคลื่อนนั้น จะเริ่มต้นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนการลงทุนขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ระบบการขนส่ง การพัฒนาการพื้นที่ในบูรณาการ โดยถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC ที่มีฐานอยู่เดดิม คือ อุตสาหกรรมปิโตรเครมี ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และยังรวมถึงอุตสาหกรรมใหม่ คือ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หุ่นยนต์ และอากาศยาน 

    อย่างไรก็ตาม การลงนามในครั้งนี้ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมและการสร้างผลประโยชน์ให้เกิดแก่ทุกภาคส่วน การสร้างความแข็งแกร่งจากภายในประเทศและจากความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว รวมความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่จะเกื้อหนุนประเทศไทยให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ความมั่นคง  มั่งคั่ง ยั่งยืน 

   พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยภาคเกษตรและ 5 อุตสาหกรรม คือ พลังงานชีวภาพ ชีวเคมีภัณฑ์ อาหารแห่งอนาคต อาหารสัตว์แห่งอนาคต และชีวเภสัชภัณฑ์ โดยกระทรวงพลังงานได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้ก่อน เนื่องจากได้มีการดำเนินการพัฒนามาได้ระยะหนึ่งแล้ว ภายใต้แผนพลังงานทดแทน 2558-2579 ที่มีเป้าหมายลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานทดแทน การกำหนดให้มีการใช้พลังงานทดแทนในอัตรา 30% ของการใช้พลังงานของประเทศ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 70 ล้านตัน 

    นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานด้านการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต กล่าวว่า แผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนา Bioeconomy ในระยะเวลา 10 ปี มีกรอบการลงทุนคิดเป็นมูลค่า 400,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ปี 2560-2561 เงินลงทุนประมาณ 51,000 ล้านบาท เพื่อต่อยอดการพัฒนาพลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ อาหาร และชีวเภสัชภัณฑ์ ผลักดันการสร้างอุปสงค์และตลาด

     ระยะที่ 2 ปี 2562-2564 เงินลงทุน 182,000 ล้านบาท เพื่อสร้าง Biorefinery Complexes ที่ครบวงจร และเมืองใหม่บนเศรษฐกิจชีวภาพและนวัตกรรมอย่างครบวงจร Biopolis และระยะที่ 3 ปี 2565-2569 เม็ดเงินลงทุนประมาณ 132,000 ล้านบาท เพื่อยกระดับสู่ Regional Hub เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!