WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CPFวฒชย สทธปรดานนทCP จับมือ 25 บริษัทชั้นนำระดับโลก มุ่งปฏิรูประบบการผลิตอาหารและบริโภคยั่งยืน

     เครือเจริญโภคภัณฑ์จับมือบริษัทชั้นนำระดับโลกเพื่อเดินหน้า โครงการปฏิรูประบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนเพื่อสุขภาพที่ดี ‘Food Reform for Sustainability and Health’ (FReSH หรือ เฟรช) เป็นการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งของกลุ่มธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งจะนำไปสู่สังคมการผลิตและการบริโภคอาหารอย่างมีความรับผิดชอบต่อโลกอย่างยั่งยืน  

      ในการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development : WBCSD) และมูลนิธิอีท (EAT Foundation) เป็นแกนนำร่วมกับ 25 บริษัทชั้นนำระดับโลกประกาศเปิดตัวโครงการเฟรชอย่างเป็นทางการ

        ทั้งนี้ ซีพี ในฐานะผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลกเป็นหนึ่งใน 25 บริษัทชั้นนำ ที่ขับเคลื่อนโครงการนี้ซึ่งประกอบด้วย เนสเล่ท์ ดาน่อน ยูนิลิเวอร์ เคลลอก เป๊ปซี่โค ไบเออร์ ดูปองท์ กูเกิล ควอนทิส เป็นต้น  ซึ่งโครงการดังกล่าวยังคงเปิดรับสมาชิกเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง

       'เฟรชมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านระบบการผลิตอาหารของโลก สู่การผลิตอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี  ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายที่ท้าทายของสังคมโลก โครงการนี้จึงเป็นรวมตัวกันระหว่างภาคธุรกิจชั้นนำและหน่วยงานด้านวิชาการ บนพื้นฐานของความรู้และความพยายามในการทำการศึกษาวิจัยจากสถาบันที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์และแนวทางในการจัดการทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

       นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในฐานะผู้ผลิตอาหารภายใต้แบรนด์ ซีพี บริษัทมีการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมสูความยั่งยืนภายใต้ 3 เสาหลักสู่ความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ โดยเล็งเห็นว่าบริษัทมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ เฟรช  จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในคณะทำงานขับเคลื่อน ตลอดจนการร่วมร่างข้อกำหนดด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนร่วมกับสมาชิกอื่นๆ

      ซีพีเอฟ ในฐานะผู้ผลิตและส่งมอบอาหร ตระหนักถึงบทบาทในการร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นวาระที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์อาหารโลกและระดับภูมิภาค โดยบริษัทมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของเฟรช โดยมุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีคุณภาพปลอดภัยและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและร่วมดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยนวัตกรรมการผลิตและกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล ตอบสนองต่อความต้องการในอนาคต สู่การจัดการการบริโภคอย่างยั่งยืนนายวุฒิชัย กล่าวย้ำ

                นายวุฒิชัย กล่าวต่อไปว่า ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้ คือ การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งร่วมกับกลุ่มธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารชั้นนำของโลก เพื่อร่วมสร้างสังคมการผลิตและการบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน  ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและยอมรับของคู่ค้า ลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจในประเทศต่างๆ   สามารถรับรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกทางธุรกิจและความคาดหวังของผู้บริโภค เพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้ทันต่อสถานการณ์ ทั้งยังสามารถนำข้อมูลและรายงานจากโครงการไปพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการขององค์กรอย่างยั่งยืน

       โครงการนี้ เป็นความคิดริเริ่มของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและมูลนิธิอีท โดยมีภาคเอกชนในกลุ่มผู้นำอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเป็นแกนนำในการขับเคลื่อน

     ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสและความท้าทายเราในการสรรสร้างกระบวนการผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนการแก่ ผู้บริโภค ทั้งนี้ ต้องอาศัยทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อน ซึ่งภาคธุรกิจถือเป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายในครั้งนี้นางกันไฮด์ สตอร์ดาเลน ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการมูลนิธิอีท กล่าว

       'เฟรช'คือเวทีของภาคเอกชนในการทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบายและภาคประชาสังคม เพื่อเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตอาหารของโลกและในแต่ละประเทศ โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน 5 ประการ  คือ 1. การพัฒนาข้อกำหนดแนวทางด้านโภชนาการอาหารเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ  2. การปรับการกระบวนการผลิตอาหาร ในเรื่องของสูตรอาหารและส่วนผสม ให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนที่วางไว้  3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สู่โภชนการที่ดี  4. การปรับปรุงกระบวนการจัดหาอาหารและการขนส่งอาหาร เพื่อลดการสูญเสียและของเสียในกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน และ 5. การวัดและประเมินผล การจัดทำรายงาน เพื่อสื่อสารถึงความคืบหน้า

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!