- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Sunday, 08 January 2017 11:44
- Hits: 13430
กรอ.ชี้ยอดขอรง.4 วูบแย้มแผนช่วย'เอกชน'
ไทยโพสต์ * กรอ.เผยปี 59 ยอด รง.4 ตกวูบ เงินลงทุนลดลง 21.12% เผยอุตฯ ยานยนต์มาแรง ทำมูลค่าเฉียด 7 หมื่นล้านบาท แย้มยุทธศาสตร์ปี 60 เพิ่มความสะดวกแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน
นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2559 การประกอบและขยายกิจการโรงงาน (รง.4) มีจำนวนทั้งสิ้น 5,215 โรงงาน ลดลง 4.66% เงินลงทุน 478,000 ล้านบาท ลดลง 21.12% เมื่อเทียบกับปี 58 ที่มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 5,470 โรงงาน มูลค่าลงทุนรวม 606,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ แบ่งเป็นการประกอบกิจการ 4,363 โรงงาน ลดลง 2.89% เมื่อเทียบกับปี 2558 และมีมูลค่าการลงทุน 310,000 ล้านบาท ลดลง 23.45% เมื่อเทียบกับปี 58 ด้านการขยายกิจการมีจำนวน 852 โรงงาน ลดลง 12.79% เมื่อเทียบกับปี 58 และมีมูลค่าการลงทุน 168,000 ล้านบาท ลดลง 16% เมื่อเทียบกับปี 58
สำหรับ 5 อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าลงทุนมากที่สุดในช่วง 12 เดือนของปี 59 ได้แก่ ยานยนต์และอุปกรณ์ 70,481 ล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 66,182 ล้านบาท อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เคมี 29,531 ล้านบาท อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 25,159 ล้านบาท และอุตสาหกรรมผลิต ภัณฑ์อโลหะ 23,076 ตามลำดับ รวมเม็ดเงินการลงทุนกว่า 214,000 ล้านบาท
ขณะที่ภาพรวมด้านการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอส-เคิร์ฟ) ผู้ประ กอบการได้ให้การตอบรับอย่างดี โดยเห็นได้จากมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการขยายกิจการโรงงานอุตสาห กรรมยานยนต์ จำนวน 36 โรง งาน มูลค่าลงทุน 47,541 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 กรอ.ตั้งเป้ายกระดับภาคอุตสาห กรรมผ่านแนวคิด "WORK SMART" ในหลากหลายมิติ อาทิ การอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในทุกขั้นตอนของการอนุญาตตั้งธุรกิจ เพิ่มระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์อำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ ผู้ประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงยังมีหน่วยร่วมตรวจสอบโรง งานอุตสาหกรรม ที่อยู่ประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาสิ่งแวด ล้อมโรงงานทุกจังหวัดด้วย.
โรงงานอุตสาหกรรมแย่ปี'59 ยอดเงินลงทุนวูบ 21.12%
แนวหน้า : นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรม โรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ. ได้รวบรวมสถิติการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2559 โดยการประกอบและขยายกิจการโรงงาน (รง.4) แบ่งเป็นประกอบกิจการ 4,363 โรงงานลดลง 2.89% เมื่อเทียบกับปี 2558 มูลค่าการลงทุน 3.10 แสนล้านบาท ลดลง 23.45% เมื่อเทียบกับปี 2558 และขยายกิจการ 852 โรงงานลดลง 12.79% เมื่อเทียบกับปี 2558 มูลค่าการลงทุน 1.68 แสนล้านบาทลดลง 16% เมื่อเทียบกับปี 2558 หากรวมการประกอบและขยายกิจการโรงงาน (รง.4) มีทั้งสิ้น 5,215 โรงงาน ลดลง 4.66 % เงินลงทุน 4.78 แสนล้านบาทลดลง 21.12% เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่มีโรงงานทั้งสิ้น 5,470 โรงงานมูลค่าลงทุนรวม 6.06 แสนล้านบาท
สำหรับ 5 อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าลงทุนมากที่สุดได้แก่ 1. ยานยนต์และอุปกรณ์ 70,481 ล้านบาท 2. อุตสาหกรรมอาหาร 66,182 ล้านบาท 3. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 29,531 ล้านบาท 4.อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 25,159 ล้านบาท และ 5. อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์อโลหะ 23,076 ตามลำดับ รวมเม็ดเงินการลงทุนกว่า 2.14 แสนล้านบาท
ขณะที่การแจ้งประกอบและเริ่มส่วนขยายโรงงานพบว่า มี 4,226 โรงงาน ลดลง 16.33% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมี 5,056 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 4.26 แสนล้านบาท ลดลง 19.47% จากปีก่อนอยู่ที่ 5.46 แสนล้านบาท
อุตสาหกรรมที่มีการแจ้งประกอบและเริ่มส่วนขยายโรงงานที่มีมูลค่ามากที่สุดได้แก่ การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 4.74 หมื่นล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 3.95 หมื่นล้านบาท ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 3.66 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์อโลหะ 2.23 หมื่นล้านบาท เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 1.96 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
โดยภาพรวมด้านการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายถือว่ามีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องมีการขยายกิจการโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ 36 โรงงานมูลค่าลงทุน 47,541 ล้านบาท อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 235 โรงงาน เงินลงทุน 32,356 ล้านบาท อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 43 โรงงาน เงินลงทุน 13,314 ล้านบาท อุตสาหกรรมการแพทย์ 5 โรงงานเงินลงทุน 6,161 ล้านบาท อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ 5 โรงงาน เงินลงทุน 1,304 อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนชีวภาพ 8 โรงงาน เงินลงทุน 1,132 ล้านบาท อุตสาหกรรมดิจิตอล 1 โรงงาน เงินลงทุน 1,098 ล้านบาท อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และแขนกล 16 โรงงาน เงินลงทุน 562 ล้านบาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสุขภาพ 5 โรงงาน เงินลงทุน 198 ล้านบาท และอุตสาหกรรมอากาศและการบิน 1 โรงงาน 169 ล้านบาท รวมเงินลงทุนกว่า 103,835 ล้านบาท
กรมจะเร่งผลักดันในการประกอบกิจการและขยายกิจการโรงงานในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เพื่อดึงดูดนักลงทุน ทั่วโลกให้ มาลงทุน
สำหรับ ในปี 2560 กรมตั้งเป้ายกระดับภาคอุตสาหกรรมผ่านแนวคิด "WORK SMART" ในหลากหลายมิติ อาทิ การอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ ในทุกขั้นตอนของการอนุญาตตั้งธุรกิจ ทั้งการลดระยะเวลายื่นคำขอใบอนุญาตตั้งโรงงาน เพิ่มระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ อำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ ผู้ประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงยังมีหน่วยร่วมตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ ผ่านหน่วยบริการ DIW TEAM ที่อยู่ประจำศูนย์วิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมโรงงานทุกจังหวัดเพื่อคอยติดตามตรวจสอบมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าในช่วงไตรมาส 2 น่าจะเห็นภาพเม็ดเงินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในโครงการต่างๆ ของภาครัฐกระจายสู่ระบบเศรษฐกิจชัดเจน โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นในพื้นที่เชื่อมต่อเขตการค้าชายแดนสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคอุตสาหกรรมลงทุนตามมา ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค รวมถึงการประกอบหรือ ขยายกิจการโรงงานต่างๆ ที่เชื่อว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอน