WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DIWมงคล พฤกษวฒนาขอ'รง. 4'วูบลุ้นสิ้นปีเม็ดเงินแตะ 6 แสนล้าน

    ไทยโพสต์ : พระราม 6 * กรอ.เผยยอดขอ รง.4 ช่วง 10 เดือน วูบ 5.71% เมื่อเทียบปีก่อน ส่งผลการลงทุนร่วงตาม ลุ้นโครงการขนาดใหญ่ลงทุนท้ายปี ดันยอดเฉียด 6 แสนล้านเท่าปี 58

      นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า การขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) และขยายกิจการช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2559 มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 4,287 โรง งาน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.71% ที่มีอยู่ 4,547 โรง งาน ขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 380,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.15% ที่อยู่ที่ 501,000 ล้านบาท ส่วนการขยายกิจการลดลง 12.91% จากช่วงเดียวของปีก่อนอยู่ที่ 701 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุนลดลง 5.19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 460,000 ล้านบาท

      สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีจำนวนเปิดกิจการใหม่และขยายกิจการที่มีมูลค่ามากที่สุดในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2559  ได้แก่การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์มูลค่าการลงทุน 59,900 ล้านบาท อุตฯ อาหาร 47,400 ล้านบาท เคมีภัณฑ์และ ผลิตภัณฑ์เคมี 28,000 ล้านบาท เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 22,100 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์อโลหะ 17,200 ล้านบาท ตามลำดับ

     "จากตัวเลขดังกล่าวยอมรับว่า แนวโน้มการตั้งโรงงานใหม่และ ขยายโรงงานอุตสาหกรรมยอดสะสมช่วง 10 เดือนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 58 โดย กรอ.ยังอยู่ระหว่างติดตามปัจจัยที่ส่งผล กระทบอย่างใกล้ชิด คาดว่ายอดสะสม ตลอดปีน่าจะน้อยกว่าปี 58 ที่มีมูลค่า 600,000 ล้านบาท แต่เชื่อว่าจะน้อยกว่าไม่มากนัก เพราะยังมีโครงการขนาดใหญ่มูลค่าหลักพันล้านถึงหมื่นล้านบาทหลายโครงการอยู่ระหว่างตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะกิจการที่อยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย" นายมงคลกล่าว.

ยอดขอรง.4 ขยายกิจการ 10 เดือนวูบ 5.71%กรอ.ลุ้นโครงการใหญ่ลงทุนปลายปี

     แนวหน้า : นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การขอใบอนุญาตประกอบกิจการ รง.4 และขยายกิจการช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปี 2559 (มกราคม- ตุลาคม) มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 4,287 โรงงาน ลดลงจากช่วงเดียวกัน ของปี 2558 ที่มีอยู่ที่ 4,547 โรงงาน หรือลดลงประมาณ 5.71% ในขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 3.80 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 5.01 แสนล้านบาท หรือลดลง 24.15%

     โดยแบ่งเป็นการเปิดกิจการใหม่จำนวน 3,586 โรงงาน ลดลง 4.16% จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีอยู่ 3,742 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 2.33 แสนล้านบาท ลดลง 32.85% เมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 3.47 แสนล้านบาท ส่วนการขยายกิจการมีจำนวน 701 โรงงาน ลดลง 12.91% จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่ผ่านมาซึ่งมีอยู่ 805 โรงงาน ในขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 1.46 แสนล้านบาท ลดลง 5.19% เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่อยู่ที่ 1.54 แสนล้านบาท

     สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีจำนวนเปิดกิจการใหม่และขยายกิจการที่มีมูลค่ามากที่สุดในช่วง 10 เดือนของปี 2559 ได้แก่ การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการลงทุน 5.99 หมื่นล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 4.74 หมื่นล้านบาท เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 2.80 หมื่นล้านบาท เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 2.21 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์อโลหะ 1.72 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ

    ส่วนการแจ้งประกอบและเริ่มส่วนขยายโรงงานในช่วง 10 เดือนของปี 2559 พบว่ามีจำนวน 3,549 โรงงาน ลดลง 16.63% จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่ผ่านมามี 4,257 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 3.63 แสนล้านบาท ลดลง 9.70% จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 4.02 แสนล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่มีการแจ้งประกอบและเริ่มส่วนขยายโรงงานที่มีมูลค่ามากที่สุดในช่วง 10 เดือนของปี 2559 ได้แก่ การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการลงทุน 3.97 หมื่นล้านบาท ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 3.41 หมื่นล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 2.93 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์พลาสติก 1.99 หมื่นล้านบาท เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 1.83 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ

     "จากตัวเลขดังกล่าวยอมรับว่า แนวโน้มการตั้งโรงงานใหม่และขยายโรงงานอุตสาหกรรมยอดสะสมช่วง 10 เดือนของปี 2559 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยกรอ.ยังอยู่ระหว่างติดตามปัจจัยที่ส่งผลกระทบอย่างใกล้ชิด ซึ่งคาดว่ามาจากหลายปัจจัยที่มีนัยสำคัญแน่นอน และยอดสะสมตลอดปี 2559 น่าจะน้อยกว่า ปี 2558 ที่มีมูลค่า 6 แสนล้านบาท แต่เชื่อว่าจะน้อยกว่าไม่มากนัก เพราะยังมีโครงการขนาดใหญ่มูลค่าหลักพันล้านถึงหมื่นล้านบาท หลายโครงการอยู่ระหว่างตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะกิจการที่อยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย" นายมงคล กล่าว 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!