WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Indusอรรชกา สบญเรองก.อุตสาหกรรม เตรียมรุกยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ ตั้งเป้าดึง SMEs รับการส่งเสริมในปี 60 กว่า 6 พันราย

    นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมรุกยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ภายใต้กิจกรรม พลิกธุรกิจสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 และ SME 4.0” พร้อมเปิดพื้นที่มหกรรมวันนัดพบผู้ประกอบการกลุ่มภาคตะวันออกเป็นแห่งแรก ชี้เป็นแหล่งอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคที่สำคัญของประเทศ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากยางพาราและยางพาราดิบ กลุ่มผลไม้ กลุ่มสินค้าอาหารและการเกษตรแปรรูป กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์อัจฉริยะ และกลุ่มสมุนไพรและเครื่องสำอาง

     โดยได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดำเนินการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง 'พลิกธุรกิจสู่อุตสาหกรรม 4.0 และ SME 4.0' พร้อมจัดมหกรรมวันนัดพบผู้ประกอบการ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเป็นกิจกรรรมที่นำหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริม SMEs เข้าร่วมเผยแผนการจัดการธุรกิจ การเผยแพร่โครงการ และการให้บริการในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการทั้ง SMEs และ OTOP เพื่อเป็นการสร้างความรู้และพัฒนาขีดความสามารถให้ผู้ดำเนินธุรกิจมีความพร้อมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของบริบทประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรมและมุ่งไปสู่การพัฒนาในทุกระดับทั่วภูมิภาคอย่างยั่งยืน

      ทั้งนี้ กระทรวงฯ ตั้งเป้าให้ SMEs สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ จากภาครัฐ ในปี 2560 ไม่ต่ำกว่า 6,000 ราย พร้อมมุ่งหวังให้สามารถใช้ประโยชน์จากบริการเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปิดจุดอ่อนในการดำเนินธุรกิจได้ต่อไป

    อย่างไรก็ดี การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระดับภูมิภาคของอุตสาหกรรมไทยนั้น ต้องใช้จุดแข็งที่มีอยู่ คือ การมีวัตถุดิบที่หลากหลายและมีคุณภาพ การมีแรงงานฝีมือ การมีภาคเกษตรและภาคบริการที่เอื้อต่อการต่อยอดการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน การมีทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการ ทั้งนี้ จุดแข็งดังกล่าวสามารถนำมาสร้างความได้เปรียบต่างๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างหลากหลาย อาทิ การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การเข้าถึงตลาดใหม่ๆ ในภูมิภาคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ฯลฯ โดยจะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัย และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญ  ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน

    ด้านนายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาคตะวันออก ถือเป็นแหล่งอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคที่สำคัญของประเทศ โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกว่า 226,000 ราย (ข้อมูลจาก สสว.) และถือเป็นฐานอุตสาหกรรมที่สำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ เนื่องจากมีการลงทุนในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก รวมถึงยังถือเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาที่หลากหลาย ทั้งโครงการเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ การมีโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ มีสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวและมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง รวมถึงเป็นแหล่งผลิตอาหารและการเกษตรที่สำคัญ

    โดยเฉพาะการเพาะปลูกผลไม้และยางพาราที่สามารถรองรับการบริโภค แปรรูป และส่งออก นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นในด้านนวัตกรรมการผลิตที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยและแนวทางอันดีที่เอื้อประโยชน์ไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมระดับประเทศให้มีความเข้มแข็ง พร้อมเสริมสร้างให้มีการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลต่อการปรับโครงสร้างภาคการผลิตของอุตสาหกรรมได้ในระยะยาวต่อไป

    ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมสำคัญใน 5 กลุ่ม SMEs ภาคตะวันออก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์จากยางพาราและยางพาราดิบ กลุ่มผลไม้ กลุ่มสินค้าอาหารและเกษตรแปรรูป กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์อัจฉริยะ และกลุ่มสมุนไพรและเครื่องสำอาง ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้ถือเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ต้องเร่งผลักดันและพัฒนาด้วยการยกระดับในด้านประสิทธิภาพและการบริหารจัดการให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงในภูมิภาค โดยยังพบปัญหาที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไข อาทิ การขาดแคลนแรงงานฝีมือ ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม การเกิดภัยธรรมชาติ ปัญหามลพิษ และปัญหาด้านการพัฒนานวัตกรรม เป็นต้น

    ทั้งนี้ จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การให้ความสำคัญกับการผลิตตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ การเพิ่มผลิตภาพการผลิตตามกระแสการบริโภคที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานสากล อีกทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปผลไม้ รวมทั้งวัตถุดิบจากการประมงเพื่อการส่งออก การแปรรูปยางพาราเพื่อเป็นวัสดุทดแทน ฯลฯ ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่าหลังจาก SMEs ในภูมิภาคเกิดการปรับตัวและพัฒนาศักยภาพผ่านโครงการต่างๆ ของภาครัฐแล้ว จะช่วยสร้างและกระจายความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในระดับมหภาคได้ในอนาคต

        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!