WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Award2016

กระทรวงอุตสาหกรรม ปั้นนักออกแบบรุ่นใหม่สู่เส้นทางผู้ประกอบการ นำคอลเลคชั่นจากเวทีประกวด Creative Textiles Award 2016 รุกตลาดฮ่องกง

    กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สานต่อ นโยบายอุตสาหกรรม 4.0 สร้างนักออกแบบรุ่นใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมแฟชั่นและพร้อมก้าวเข้าสู่เส้นทางผู้ประกอบการ (Young Design Entrepreneur) ดึง 5 ผลงานจากเวที Creative Textiles Award 2016 สู่การขายจริงในงานเซ็นเตอร์สเตจ (CENTRE STAGE) งานแสดงและจำหน่ายสินค้าแฟชั่นระดับสากล ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

     นายประสงค์ นิลบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและรักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบภาคการเกษตรด้วยการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ระยะที่ 3 สิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษและสิ่งทอเทคนิค) ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนำวัสดุเหลือทิ้งจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมสู่การสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอและแฟชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรม คือ

    1. กิจกรรมศึกษาแนวโน้มของนวัตกรรมการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

    2. กิจกรรมพัฒนาเส้นใยจากวัตถุดิบภาคการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Funtional Textiles) และสิ่งทอเทคนิค (Technical Textiles) โดยพัฒนาจาก ไผ่  มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน กัญชง สับปะรด เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษที่วิจัยจากธรรมชาติ และพัฒนาจากเทคโนโลยี

     3.กิจกรรมการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ (Creative Textiles Award หรือ CTA) ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 100,000 บาท พร้อมทั้งนำผลิตภัณฑ์ออกเปิดตลาดต่างประเทศ  โดยการประกวดในปี 2559 นี้ได้ใช้แนวคิดว่า’New Sustainability New Attitude’ หมายถึง ‘คน’คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง และสร้างจิตสำนึกในการช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม

      ผลจากกิจกรรมนี้ สถาบันฯ ได้คัดเลือกผลงานที่มีแนวคิด ลงตัว มีความสวยงามและมีความเป็นไปได้ในการขายจริงรวม 5 คอลเลคชั่น โดยเป็นผลงานการออกแบบจาก 1.นายกฤษดา รัตนางกูร 2.นายวรากร เพ็ญศรีนุกูร 3.นายศตพล แจ่มศรี 4.นางสาวบุรฉัตร ตั้งจิตอารี และ 5.นายพีรดนย์ ก้อนทอง เพื่อนำไปจัดแสดงในงาน CENTRE STAGE ซึ่งเป็นเวทีแสดงผลงานแฟชั่นจากนักออกแบบรุ่นใหม่และแบรนด์ดัง ที่มีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางเข้าชมเป็นจำนวนมาก โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 10 กันยายน 2559 ณ Hong Kong Convention and Exhibition Centre เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

     จากผลงานที่ผ่านเข้ารอบทั้งหมด สถาบันฯ ได้คัดเลือก นางสาวบุรฉัตร ตั้งจิตอารี นักศึกษาแฟชั่น สถาบันบุนกะแฟชั่นอคาเดมี่ โดยได้รับทุนเดินทางเข้าร่วมงาน เนื่องจากเป็นผลงานที่มีแนวคิดชัดเจนและความพร้อมด้านการตลาดสูงสุด พร้อมนำคอลเลคชั่น Darwin's Closet : The Struggle for Existence – "เมื่อเสื้อผ้าต้องวิวัฒนาการตัวเองเพื่อความอยู่รอด’ ร่วมจัดแสดง สำหรับผลงานดังกล่าว ได้รับแรงบันดาลใจจาก เสื้อผ้ามือสองที่เปรียบเสมือนเป็นขยะ โดยนำมาพัฒนาออกแบบตัดเย็บและสร้างเป็นชิ้นงานใหม่ที่สวยงามและมีความโดดเด่น พร้อมจำหน่ายในตลาดสากลครั้งแรกภายใต้แบรนด์ Trouble Maker โดยการจัดแสดงผลงานทั้ง 5 คอลเลคชั่นในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งของการสานต่อความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC)

     อย่างไรก็ตาม กิจกรรมประกวดงานออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ หรือ Creative Textiles Award  นับเป็นการสร้างโอกาสที่หลากหลาย และเป็นการเริ่มต้น (Start Up) ให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้มีโอกาสเรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการคิด กระบวนการสร้างสรรค์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ การคิดต้นทุน จนถึงกระบวนการขาย โดยตั้งเป้าผลักดันนักออกแบบรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมแฟชั่น  รวมทั้งเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์ (Young Design Entrepreneur) ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างเต็มตัว

    สำหรับ มูลค่าการค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยและฮ่องกง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2554-2558) นั้น มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 252.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ปี 2558 มีมูลค่า 250.64 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 0.21 โดยปัจจุบันฮ่องกงเป็นคู่ค้าอันดับ 10 ของไทย

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโครงการได้ที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โทร 0 2713 5492 – 9 ต่อ 224  หรือ ดูรายละเอียดได้ที่ https://www.thaitextile.org  หรือ https://www.facebook.com/CreativeTextilesAward

 

สรุปภาพรวมการค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2559

    การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเดือนกรกฎาคม 2559 มีมูลค่า 548.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง  ร้อยละ 13.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้า มีมูลค่า 362.85ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 3.01เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้เกินดุลการค้า 186.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

      ทำให้เจ็ดเดือนแรกมีมูลค่าการส่งออก 3,813.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 2,553.04ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.05เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้เกินดุลการค้า 1,260.80ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

    การส่งออกสิ่งทอ 7 เดือนมีมูลค่าเท่ากับ 2,354.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.87 โดยผ้าผืนส่งออกเป็นสินค้าอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 718.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.04 รองลงมาคือ เส้นด้าย ลดลงร้อยละ 14.35 คิดเป็นมูลค่า 511.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่สิ่งทอเทคนิค ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 คิดเป็นมูลค่า 673.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าส่งออก 1,459.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.44

การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

    การนำเข้าสิ่งทอมีมูลค่าเท่ากับ 528.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดร้อยละ 6.26 โดยนำเข้าผ้าผืนคิดเป็นมูลค่า 567.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.02 รองลงมาคือ เครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.54 คิดเป็นมูลค่า 528.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเส้นใย ลดลงร้อยละ 18.42 คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 381.26 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

     การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในตลาดหลัก ไทยยังคงส่งออกลดลงในทุกตลาดหลัก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ลดลงร้อยละ 6.68 1.93 และ 6.25 ตามลำดับ

สรุปภาพรวมการค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2559

   การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเดือนกรกฎาคม 2559 มีมูลค่า 548.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง  ร้อยละ 13.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้า มีมูลค่า 362.85ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 3.01เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้เกินดุลการค้า 186.03 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

     ทำให้เจ็ดเดือนแรกมีมูลค่าการส่งออก 3,813.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 2,553.04ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.05เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้เกินดุลการค้า 1,260.80ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

    การส่งออกสิ่งทอ 7 เดือนมีมูลค่าเท่ากับ 2,354.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.87 โดยผ้าผืนส่งออกเป็นสินค้าอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 718.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.04 รองลงมาคือ เส้นด้าย ลดลงร้อยละ 14.35 คิดเป็นมูลค่า 511.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่สิ่งทอเทคนิค ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 คิดเป็นมูลค่า 673.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องนุ่งห่มมีมูลค่าส่งออก 1,459.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.44

การนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

    การนำเข้าสิ่งทอมีมูลค่าเท่ากับ 528.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดร้อยละ 6.26 โดยนำเข้าผ้าผืนคิดเป็นมูลค่า 567.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.02 รองลงมาคือ เครื่องนุ่งห่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.54 คิดเป็นมูลค่า 528.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเส้นใย ลดลงร้อยละ 18.42 คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 381.26 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

    การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในตลาดหลัก ไทยยังคงส่งออกลดลงในทุกตลาดหลัก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน ลดลงร้อยละ 6.68 1.93 และ 6.25 ตามลำดับ

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!