WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SMEสาลน วงตาลสสว. ฟื้นฟู SMEs โครงการ Turnaround มีผู้สมัครเข้า 12,816 ราย สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 1 หมื่นราย ประสานให้ปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้ว 2 พันรายพร้อมยื่นขอกู้เงินทุนพลิกฟื้นเพื่อเสริมสภาพคล่อง

     นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้อนุมัติโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ (Turnaround) ภายใต้วงเงินงบประมาณ 200 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 และตั้งเป้าหมายจะช่วยเหลือผู้ประกอบการ จำนวน 10,000 ราย

    สสว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ดำเนินการร่วมกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) ได้รายงานความคืบหน้าว่า โครงการ Turnaround ได้เริ่มดำเนินการจริงในช่วงต้นปี 2559 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 13,600 ราย ผ่านคุณสมบัติได้รับการคัดเลือกเพื่อรับคำปรึกษาแนะนำแล้วทั้งสิ้น 12,816 ราย เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นนิติบุคคล 5,000 ราย ผู้เชี่ยวชาญจาก มทร. ธัญบุรี ได้เข้าวิเคราะห์ธุรกิจในเชิงลึกแล้วพบว่า มีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ 4,000 ราย สสว. ช่วยประสานให้ปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมได้ 2,000 ราย

     ประเด็นปัญหาของผู้ประกอบการกลุ่ม Turnaround ที่ประสบอยู่ จำแนกออกได้เป็น 3 เรื่องที่สำคัญ คือ 1. ยอดขายลดลงเพราะขาดช่องทางในการจำหน่ายสินค้า 2. ขาดการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และเทคนิคต่างๆ และ 3. ขาดสภาพคล่องถูกเร่งรัดหนี้สินจากธนาคาร ซึ่ง สสว.และมทร.ธัญบุรี ได้จัดกิจกรรมเสริมศักยภาพต่างๆ ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการดังต่อไปนี้

1. ประสานงานเพิ่มช่องทางในการขาย

- งาน Expo งานแสดงสินค้าต่างๆ กิจกรรมส่งเสริมการขายในห้างสรรพสินค้า โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

- เพิ่มช่องทาง ตลาดออนไลน์โดยประสานให้เข้าขายใน E Market Place ซึ่งเป็นที่นิยม

2. การหาแนวทางการลดต้นทุน

-ให้ความรู้ด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และการบริหารจัดการ

3. การปรับปรุงผลิตภัณฑ์และเทคนิคต่างๆ

-ที่ปรึกษาของทางมหาวิทยาลัย ห้องปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งเป็นภาคี จะช่วยพัฒนาตรวจสอบ และปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้านต่างๆ รวมถึงมีการจัดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน การให้ความรู้เกี่ยวกับการตลาด Digital Marketing และการสร้าง Brand

- การวินิจฉัยและให้คำปรึกษาเชิงลึก เพื่อปรับปรุงธุรกิจ ให้ความรู้ กรณีศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนากิจการ SME Turnaround

4. เพิ่มสภาพคล่องเพื่อปรับปรุงกิจการและเงินทุนหมุนเวียนในการผลิต

     ยื่นขอกู้จากเงินทุนพลิกฟื้นของ สสว. ซึ่งให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 7 ปี ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้ลงนามอนุมัติระเบียบหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินเรียบร้อยแล้ว สสว. จะจัดตั้งคณะทำงานกลั่นกรองสินเชื่อ โดยมอบให้ SME Development Bank เป็นหน่วยร่วมรับหน้าที่ดำเนินการทางด้านสินเชื่อและติดตามดูแลลูกหนี้

  ผู้เข้าร่วมโครงการ Turnaround ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วว่ามีศักยภาพสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และได้ปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมแล้วมีจำนวน 2,000 ราย ผู้ประกอบการเหล่านี้มีคุณสมบัติยื่นขอกู้จากเงินทุนพลิกฟื้นได้ ในส่วนของผู้ประกอบการ ที่เป็นบุคคลธรรมดา 5,000 ราย และผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลอีก 1,000 ราย ที่มีข้อกำจัดทางด้านศักยภาพ สสว. ได้จัดโปรแกรมกิจกรรมเสริมศักยภาพการอบรมสัมมนา เช่น การจัดทำ Website เพื่อจำหน่ายสินค้าออนไลน์ การใช้ Website สำเร็จรูป และการให้คำแนะนำทางด้านการตลาดและการบริหารจัดการ

   โดยสรุปแล้ว ผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 12,816 ราย ได้รับการส่งเสริมทางด้านการขาย การเพิ่มนวัตกรรม และการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถฟื้นฟูกิจการได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!