- Details
- Category: อุตสาหกรรม
- Published: Friday, 18 March 2016 10:21
- Hits: 1824
สกัดสินค้าคุณภาพต่ำเข้าทุ่มตลาดไทย-คลังขีดเส้น3เดือนแก้ปมเลี่ยงอากรรัฐปรับ24มาตรฐานเหล็ก
แนวหน้า : อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศได้เฮ สมองเตรียมปรับ 24 มาตรการสินค้าเหล็ก เช่น ท่อเหล็กกล้าไร้สนิม ออสเทนไนต์สำหรับงานทั่วไป เหล็กกล้ารีดเย็นแผ่นม้วนแผ่นแถบ และแผ่นตัด สำหรับงานรถยนต์สกัดเหล็กคุณภาพต่ำที่ทุ่มตลาดอยู่ขณะนี้ คาดภายในเดือนกันยายน จะเริ่มทยอยประกาศใช้ ด้านกระทรวงการคลัง เร่งแก้ปัญหาเลี่ยงอากร ตั้งเป้าภายใน 32 เดือนต้องมีความคืบหน้า
นายธวัช ผลความดี เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปี 2559 สมอ.มีนโยบายปรับมาตรฐานเหล็กใหม่ทั้งหมด 24 มาตรฐาน อาทิ ท่อเหล็กกล้าไร้สนิม ออสเทนไนต์สำหรับงานทั่วไป เหล็กกล้ารีดเย็นแผ่นม้วนแผ่นแถบ และแผ่นตัด สำหรับงานรถยนต์ โดนจะกำหนดทั้งมาตรฐานบังคับ และมาตรฐานทั่วไป เพี่อรองรับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลทั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ และการส่งเสริมการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เอสเคิร์ฟ และนิว เอสเคิร์ฟ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อ อุตสาหกรรม และรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ เพราะคาดว่าจะมีการใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบในการประกอบกิจการอีกจำนวนมาก
สำหรับ การออกมาตรฐานเหล็กครั้งนี้ ส่วนหนึ่งสืบเนื่องจาก 7 สมาคมผู้ประกอบการเหล็ก และ ผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ ทาทาสตีล กลุ่มสหวิริยาสตีล ได้เคยเข้าพบนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และต้องการให้ภาครัฐหามาตรการช่วยเหลือ อุตสาหกรรมเหล็กทั้งระยะสั้นและระยะกลาง หลังถูกทุ่มตลาดจากประเทศที่ผลิตเหล็กได้เป็น จำนวนมาก แต่ไม่ได้มาตรฐานตามที่ไทยกำหนดเป็นเหล็กก่อสร้าง
"มาตรฐานที่จะปรับแก้ทั้ง 24 รายการ ตั้งเป้าว่าภายในเดือนกันยายน 2559 จะต้องปรับปรุงแล้วเสร็จ 9 รายการ และส่งให้รัฐมนตรีอุตสาหกรรมลงนามเห็นชอบ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี โดยจะเป็นมาตรฐานบังคับ 17 รายการ ส่วนที่เหลือจะเป็นมาตรฐานทั่วไป เพื่อให้มีการปรับแก้มาตรฐานให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน" นายธวัชกล่าว
ทั้งนี้ มาตรฐานที่จะปรับแก้ 24 รายการนี้จะไม่รวมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม มอก.20-2553 และเหล็กข้ออ้อย มอก.24-2548 ที่เคยมีปัญหาถกเถียงกันระหว่างผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่และผู้ใช้ในประเทศ โดยรายละเอียดหลักของมาตรฐานจะกำหนดให้การผลิตเหล็กจากเตาหลอมทุกชนิดอยู่ในประกาศเล่มเดียวกัน แต่กระบวนการผลิตต้องเป็นไปตามที่ สมอ.กำหนด และให้ใช้การปั๊มอักษรย่อตัวนูนที่ผลิตภัณฑ์สำหรับกรรมวิธีการผลิต อิเล็กทริกอาร์กเฟอร์เนซ ใช้ตัวย่อ อีเอเอฟ และอินดักชั่นเฟอร์เนซ ใช้ตัวย่อ ไอเอฟ เพื่อป้องกันปัญหากีดกันผู้ประกอบการ และให้ประชาชนมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้ตามความพอใจว่าต้องการเหล็กที่ผลิตจากเตาชนิดใด สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้หากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งล่าสุดได้เสนอนางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมลงนามแล้ว จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ และส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากำหนด คาดว่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันเดียวกัน (15 มีนาคม) 7 สมาคม ผู้ผลิตเหล็กของไทย ได้เข้าหารือกับนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อหารือถึงปัญหาอุตสาหกรรมเหล็กไทย ที่กำลังถูกเหล็กจากจีนเข้าทุ่มตลาด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเหล็กทั้ง 7 สมาคมได้นำเสนอข้อมูลต่อปลัดกระทรวงการคลัง ว่าปัจจุบันประเทศจีนมีกำลังการผลิตเหล็กสูงถึง 50% ของกำลังการผลิตเหล็กโลก แต่เมื่อประเทศจีนเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้กำลังการผลิตล้นตลาด ทำให้เร่งผลักดันสินค้าออกนอกประเทศ ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะไทย คือเป้าหมาย สำคัญในการส่งออกเหล็กของจีน ส่วนประเทศอื่นที่มีการนำเขาเหล็ก เช่น อินเดีย สหรัฐ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ต่างออกมาตรการเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กจากจีน ขณะที่ประเทศไทยแม้ว่าจะมีเครื่องมือป้องกันการทุ่มตลาด แต่การบังคับใช้ยังไม่ทันต่อเหตุการณ์
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังได้นำเสนอถึงปัญหาการหลบเลี่ยงอากรของผู้นำเข้าเหล็กว่ามีหลายรูปแบบ เช่น การเลี่ยงพิกัดสินค้า การแจ้งหรือสำแดงการนำเขาที่เป็นเท็จ ทำให้รัฐเสียหายปีละหลายพันล้านบาท พร้อมกันนั้นได้เสนอแนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กระทรวงการคลังด้วย
ผู้สื่อข่าวรายอีกว่า ด้านปลัดกระทรวง การคลังได้กล่าวกับตัวแทนของทั้ง 7 สมาคม ว่า ได้รับรู้มานานแล้วปัญหาเหล่านี้ ทั้งเรื่องการ ทุ่มตลาด การหลบเลี่ยงอากร ดังนั้นจึงจะขอ รับข้อเสนอแนะทุกข้อที่ทางผู้ประกอบการ เสนอมา และจะเร่งดำเนินการแก้ไขมาให้เสร็จภายใน 2-3 เดือน